ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมหญ้าแฝก กลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ กรณีศึกษาอัตลักษณ์วัฒนธรรมของจังหวัดพะเยา
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v7i1.214516คำสำคัญ:
อัตลักษณ์วัฒนธรรม,กลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ,ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมหญ้าแฝกบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อที่ปรากฏในผลิตภัณฑ์หัตถกรรมหญ้าแฝกจังหวัดพะเยา
วิธีการดำเนินการวิจัยผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงพรรณาวิเคราะห์ ทำการศึกษาอัตลักษณ์วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อที่ปรากฏในผลิตภัณฑ์หัตถกรรมหญ้าแฝก ผู้วิจัยทำการรวบรวมข้อมูลภาคเอกสารและภาคสนามสนามจากพื้นที่ศึกษา 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลทุ่งกล้วย ตำบลป่าสัก ตำบลเชียงแรง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ด้วยวิธีการดังนี้ 1) การสัมภาษณ์โดยใช้สัมภาษณ์แบบเจาะลึกและสนทนากลุ่มย่อยกับผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ใบหญ้าแฝกจากชุมชน ทั้ง 3 กลุ่ม 2) การสังเกตการณ์โดยใช้ทั้งการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม 3) ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้านอัตลักษณ์วัฒนธรรมในผลิตภัณฑ์โดยใช้แนวคิด ทฤษฎีด้านคติชนวิทยาที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า อัตลักษณ์วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อที่ปรากฏในผลิตภัณฑ์หัตถกรรมหญ้าแฝกจังหวัดพะเยามีดังนี้ คือ 1.พัฒนาการทางประวัติศาสตร์และลักษณะชาติพันธุ์ของชาวไทลื้อ 2.วิถีชีวิตของชาวไทลื้อวัฒนธรรมการกินอาหารพื้นบ้าน การแต่งกาย การละเล่น และงานสถาปัตยกรรม 3. ความเชื่อ พิธีกรรมและประเพณีของชาวไทลื้อ 4.ภูมิปัญญาด้านผลิตภัณฑ์ของชาวไทลื้อ
References
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่112555-2559 (2555: 39-137)
รุจยา อาภากร และคณะ. (ม.ป.ป.). ไทลื้อ. ม.ป.ท.
วิรุณ ตั้งเจริญ.(2552).วิสัยทัศน์ศิลปวัฒนธรรม หนังสือชุด สุจิปุลิ.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
สุวรรณฤทธิ์ วงศ์ชอุ่ม.(2553).ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยื่นของชุมชนท่าคา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม.วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา,2 (1),47-59.
แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย.(2548).วัฒนธรรมในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาภรณ์ จันทร์สมวงศ์. (2544). พลวัตชุมชนไทยในสมัยโลกา-ภิวัตน์. กรุงเทพฯ: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว