การใช้พื้นที่เพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ กรณีศึกษาพระราชวังพญาไท

ผู้แต่ง

  • ก่อเกียรติ นิมมล

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v7i1.214518

คำสำคัญ:

พื้นที่การใช้สอยอาคาร, ฐานข้อมูล, แบบดั้งเดิม, มรดกเอกสารทางวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

พระราชวังพญาไท เป็นโบราณสถานที่สำคัญ มีความเกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี ถึง 3 พะองค์ในบริเวณพระราชวังฯ ประกอบด้วยหมู่อาคารพระที่นั่ง พระตำหนัก ตำหนักและสิ่งปลูกสร้างแวดล้อมมากมาย ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้วบางส่วน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สำรวจ สืบค้น แบบดั้งเดิม ที่แสดงถึงพื้นที่ใช้สอยส่วนต่าง ๆ ในครั้งที่เป็นพระราชฐาน ซึ่งยังไม่พบว่ามีผู้ใดเคยทำมาก่อน เพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่การใช้สอยอาคารไว้เป็นฐานข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ในการดำเนินการอนุรักษ์พระราชวังพญาไท และเพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน ของนักศึกษาในสาขาวิชาสถาปัตยกรรมและบุคคลทั่วไป
การวิจัยครั้งนี้ได้ทำการศึกษาข้อมูลจากวรรณกรรมหลายแห่ง ที่มีผู้บันทึกเอาไวและหลักฐานอื่นที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ เช่น ภาพถ่าย แบบแปลน แผนผัง รวมทั้งการสัมภาษณ์บุคลากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำฐานข้อมูล และได้ทำการเรียบเรียงข้อมูลไว้เป็นลำดับตามช่วงสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้สอยพื้นที่อาคารของพระราชวังพญาไท เมื่อนำข้อมูลจากแหล่งข้อมูลบางแห่งมาเปรียบเทียบกัน พบว่ามีความคลาดเคลื่อนในแบบที่แสดงไว้แตกต่างกัน ในบางครั้งแผนผังเดิมที่มิได้ระบุช่วงเวลากำกับไว้ มีส่วนทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนไปจากข้อมูลที่บรรยายไว้ในวรรณกรรม
ผลการวิจัยนี้พบว่า ข้อมูลแบบดั้งเดิม รายการประกอบแบบและรายงานการดำเนินงานก่อสร้าง ตั้งแต่จัดซื้อที่นา ออกแบบอาคาร ดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ กระทั่งได้รับพระราชทานนามเป็น “พระราชวังพญาไท” ดังแปลงเป็น “โฮเตลวังพญาไท” “สถานีวิทยากรุงเทพที่พญาไท” และ “สถานพยาบาลทหารบก” ขาดหายไปเป็นส่วนมาก ที่ค้นพบเพียงบางส่วนเป็นแบบดั้งเดิมที่มีอายุเกือบ 100 ปี มีเก็บรวบรวมไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากกับงานวิจัยครั้งนี้ และยังไม่พบว่ามีหน่วยงานใดรวบรวมไว้อย่างต่อเนื่องและถูกต้องตามหลักวิชาการ ตลอดจนแบบอนุรักษ์ซ่อมแซมอาคารและสถานที่ ซึ่งยังดำเนินการอยู่โดยมูลนิธิอนุรักษ์พระราชวังพญาไท แบบซ่อมแซมหมู่พระที่นั่งและสิ่งก่อสร้างแวดล้อม ดำเนินการโดยกรมศิลปากร และบางส่วนของพระราชวัง ยังคงอยู่ในความดูแล และซ่อมบำรุงโดย กรมแพทย์ทหารบก จึงสมควรเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีหน่วยงานกลาง ประสานและเก็บรวบรวมเอกสารการก่อสร้างอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ไว้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการศึกษา สืบค้น และดำเนินการอนุรักษ์ พระราชวังนี้อย่างสมบูรณ์ ถูกต้องต่อไป

References

ชมรมคนรักวัง (2553 ) .พระราชวังพญาไทวันวาน
และวันนี้ กรุงเทพมหานคร : จี .เทรดดิ้ง.เอม็ .เอส.
ราชกิจจานุเบกษา 6 .ลว 15ตอนที่ 96เล่มที่ (2522 )
กุมภาพันธ์
วรชาติ มีชูบท ”พระราชวังพญาไท “ (2545 ) สมเด็จ
พระมหาธีรราชเจ้า กรุงเทพฯ .: สไตล์ครีเอทีฟ
เฮ้าส์ จำกัด .
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ 5 .ร .นเรื่อง “ .45 /4 42 .
”จัดซื้อที่ดินคลองตำบลพญาไท
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ 5 .ร .ยธ เรื่อง “ .32 /1 .8
ก่อสร้างและเพาะปลูกต่างๆในบริเวณพญาไท
9) เมษายน ”(129 เมษายน 29 – 128
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ . (2436) ผ กสก 1.6/1 แผนที่
วังพญาไท สองฟากถนนราชวิถี จำนวนแผ่น5
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ 23 /1.6 ผ กสก (1922 ) .แบบ
แปลนสวนโรมัน และเพดานโดม จำนวนแผ่น3
Barker, E.(1999) Contemporary Cultures of
Display. Italy : Yale University Press in
Association with The Open University.
Buranasomphob, Nudanai.,Major. (2003)
Phyathai

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-09-2019

How to Cite

นิมมล ก. (2019). การใช้พื้นที่เพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ กรณีศึกษาพระราชวังพญาไท. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 7(1), 49. https://doi.org/10.53848/irdssru.v7i1.214518