การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของผู้ต้องขังเรือนจำอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • พิชิต ธรรมฤทธิ์
  • วิศาล ศรีมหาวโร
  • สมคิด รัตนพันธุ์

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v7i1.214572

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, ผู้ต้องขัง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ ศึกษาปัญหาการพัฒนาคุณภาพชีวิต และเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของผู้ต้องขังเรือนจำอำเภอไชยา จังหวัด สุราษฎร์ธานี จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ผลการวิจัยพบว่า เรือนนอน เครื่องนอน สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ มีความไม่เหมาะสม บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขขั้นพื้นฐานแก่ผู้ต้องขังยังไม่เหมาะสม ยารักษาโรคขาดคุณภาพ ช่วงเวลาให้การรักษาจำกัดเวลา และร้านสงเคราะห์ผู้ต้องขังมีสินค้าไม่เพียงพอ และมีราคาสูงเกินไป การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของผู้ต้องขัง ได้แผนปฏิบัติการ ที่ต้องแยกกิจกรรมออกเป็น 2 ประเภท คือ กิจกรรมประเภทที่นำเสนอเรือนจำพิจารณาอนุมัติ ได้แก่ โครงการน้ำอุปโภค - บริโภค โครงการอาหารถูกปาก ถูกสุขลักษณะ โครงการตู้ยาสามัญประจำห้อง โครงการสงเคราะห์เปิดขายทุกวัน โครงการสวัสดิการเดือนละครั้ง โครงการบันเทิงเดือนละครั้ง จัดซื้ออุปกรณ์ในการจัดเก็บน้ำอุปโภค - บริโภค จัดซื้อตู้ยาสามัญ จัดซื้ออุปกรณ์เครื่องดนตรี กิจกรรมประเภทที่จะเสนอ ขอสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นคือ จัดทำโครงการในการ ของบประมาณมาปรับปรุงน้ำอุปโภค - บริโภค ทำโครงการขอสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานจัดหาเครื่องดนตรี ทำโครงการขอสนับสนุนอุปกรณ์ในการจัดเก็บยาสามัญประจำห้อง ทำโครงการขอสนับสนุนสินค้าสวัสดิการเรือนจำ ขั้นควบคุมไปสู่การกระทำ (Control : C) เป็นขั้นตอนของ C1 ดำเนินการโดยให้ผู้ต้องขัง ลงชื่อตามความสมัครใจของแต่ละกิจกรรมหนึ่ง ๆ และแบ่งความรับผิดชอบแต่ละกิจกรรมด้วย การจัดแผนของแต่ละกิจกรรม C2 ดำเนินการโดยแยกประเภทพร้อมมอบหมายผู้รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรมไปคิดรายละเอียดและไปเขียนโครงการ เพื่อมารวมกันเป็นแผนปฏิบัติการของเรือนจำ

References

ขวัญ สงวนเสริมศรี. (2552). แนวทางการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุสำหรับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในจังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ดวงตา ไกรภัสสรพงษ์และคณะ. (2546). สภาวะสุขภาพจิตของนักโทษคดีความผิดต่อชีวิตและร่างกาย. สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.
เพ็ญพรรษา ปกาสิทธิ. (2554). บริบทเรือนจำและการยอมรับโทษประหารชีวิต. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนาสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
สุกฤตา เพชรหนองชุม. (2552). ปัญหาด้านสวัสดิการผู้ต้องขังสูงอายุในเรือนจำกลางคลองเปรม. สารนิพนธ์ศิลปะศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สุวภัทร พิรณฤทิ์. (2555). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาเรือนจำกลางและทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-09-2019

How to Cite

ธรรมฤทธิ์ พ., ศรีมหาวโร ว., & รัตนพันธุ์ ส. (2019). การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของผู้ต้องขังเรือนจำอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 7(1), 74. https://doi.org/10.53848/irdssru.v7i1.214572