ศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • อมรรัตน์ แสงอุไร

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v7i1.214579

คำสำคัญ:

กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง, ประสิทธิภาพการดำเนินงาน, สภาพการดำเนินงาน

บทคัดย่อ

การการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 3) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อสภาพการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ระหว่างคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง กับสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 4) เปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ระหว่างคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง กับสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จำนวน 126 คน และ สมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จำนวน 375 คน รวมกลุ่มตัวอย่างจำนวน 501 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t - test
ผลการวิจัย พบว่า
1) ความคิดเห็นที่มีต่อสภาพการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยเรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านการส่งเสริม สนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รองลงมาคือ ด้านภาวะผู้นำของคณะกรรมการ และอันดับที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการมีส่วนร่วมของสมาชิก
2) ความคิดเห็นที่มีต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านการติดตามผล การดำเนินงาน รองลงมาคือ ด้านการบริหารจัดการ และอันดับที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการประชาสัมพันธ์
3) ผลการเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ระหว่างคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง กับสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
4) ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ระหว่างคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง กับสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กมลลักษณ์ ดิษยนันท์, ( 2545). ศักยภาพและปัญหาในการจัดการกองทุนหมู่บ้านในจังหวัดเชียงใหม่
พรศักดิ์ อุบลสถิต. (2545). ปัญหาและอุปสรรคในการ ดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ศึกษากรณีบ้านเขาดิน หมู่ที่ 2 ตำบลหนองรี อำเภอชลบุรี จังหวัดชลบุรี
ยงยุทธ เจริญรัตน์. (2545). การประเมินกองทุนหมู่บ้านและ ชุมชนเมือง: ศึกษาเฉพาะกรณีกองทุนชุมชนเมืองของกรุงเทพมหานคร.
ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
รัชนก กลางแม. (2545). ประเมินผลการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านหนองแปน หมู่ 9 ตำบลหนองแปน อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต(การจัดการ). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักบริการกองทุนพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนา
ชุมชน. (2544).คู่มือการบริหารกองทุนหมู่บ้าน.
กรุงเทพฯ:กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ.
เอมอร เชื้อทอง. (2546). การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคมในครอบครัวผู้ได้รับเงินกู้จากเงินทุนหมุนเวียนประชาเศรษฐกิจสงเคราะห์ไปประกอบชีพอิสระจังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เอกฉัตร จารุเมธีชนและคณะ. (2545). การประเมิน
ประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จังหวัดเลย สำนักงานบัณฑิตศึกษา สถาบันราชภัฏเลย.
Stufflebeam. (1985). Daniel L. and Anthony
J.Shinkfield Systematic evaluation. Boston: Kluwep - Nijhoff Publishing
Likert, R. (1961). New patterns of management. New York:McGraw-Hall Book Company

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-09-2019

How to Cite

แสงอุไร อ. (2019). ศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 7(1), 107. https://doi.org/10.53848/irdssru.v7i1.214579