การจัดการระบบสารสนเทศในการบริหารงานบุคลากรในโรงเรียนขนาดใหญ่ สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพเหนือ

ผู้แต่ง

  • ณิญาพัณณ์ สิริเบญจศักดิ์
  • สจีวรรณ ทรรพวสุ

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v7i1.214586

คำสำคัญ:

การจัดการระบบสารสนเทศ, การบริหารงานบุคคล

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการระบบสารสนเทศในการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนขนาดใหญ่ สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพเหนือและเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการระบบสารสนเทศในการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน ประชากรกลุ่มที่ 1 ที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาและรองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายบุคคล จำนวน 46 คน ครูที่ปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายบุคคล จำนวน 159 คน ครูคอมพิวเตอร์ จำนวน 68 คน และเจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน 23 คน รวมทั้งสิ้น 296 คน ประชากรกลุ่มที่ 2 เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาจัดการระบบสารสนเทศในการบริหารบุคคลในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพเหนือ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย
1. การจัดการระบบสารสนเทศในการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนขนาดใหญ่สังกัด กรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพเหนือ โดยภาพรวม ทุกด้านมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก คือ มีค่าเฉลี่ย 4.04 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง ด้านวินัยและการรักษาวินัย การวางแผนอัตรากำลังและการกำหนดตำแหน่ง และด้านการลาและการออกจากราชการ ส่วนหากพิจารณาเป็นรายข้อของแต่ละด้านพบว่า ทุกข้อของแต่ละด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกข้อ
2. แนวทางการพัฒนาการจัดการระบบสารสนเทศในการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนขนาดใหญ่ พบว่า
1) ด้านการวางแผนอัตรากำลังและการกำหนดตำแหน่ง ต้องประชุมกำหนดรายการข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและสารสนเทศ กำหนดบุคลากรรับผิดชอบตามความสามารถ แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับ ติดตามการจัดเก็บข้อมูล มีการปรับปรุงแบบฟอร์มที่ง่าย สะดวก การจัดเก็บข้อมูลต้องทันตามกำหนดระยะเวลา มีการพัฒนาระบบการจัดเก็บและการสืบค้นทันสมัยเป็นปัจจุบัน มีระบบสำรองข้อมูลเพื่อป้องกันการสูญหายและจัดทำคู่มือประกอบการใช้ระบบสารสนเทศบุคคล
2) ด้านการสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง ต้องมีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบ มีการตรวจสอบและกำหนดระยะเวลา กำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดขอบเขตการตรวจสอบข้อมูล ต้องตรวจสอบแหล่งที่มา ตรวจสอบ

ความสมบูรณ์ ความถูกต้องของข้อมูลและปรับปรุงแก้ไขข้อมูลเป็นปัจจุบัน ต้องจัดสรรงบประมาณ และต้องฝึกอบรมให้ความรู้บุคลากรในรูปแบบต่างๆ เพื่อนำไปพัฒนาการตรวจสอบข้อมูล
3) ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ต้องมีการวางแผน กำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดขอบเขต กำหนดระยะเวลา ต้องตรวจสอบแหล่งที่มา ตรวจสอบความสมบูรณ์ ความถูกต้องของข้อมูลและปรับปรุงแก้ไขข้อมูลเป็นปัจจุบัน ต้องจัดสรรงบประมาณ แต่งตั้งผู้รับผิดชอบ มีการลดภาระงานของบุคลากร มีการตรวจเช็คและปรับข้อมูลให้ตรงกับความเป็นจริงทุกไตรมาส
4) ด้านวินัยและการรักษา ต้องมีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบ ควรวางแผน กำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดขอบเขต จัดสรรงบประมาณกำหนดระยะเวลาในการตรวจสอบข้อมูล ส่วนการจัดเก็บข้อมูลควรมีการวางแผน มีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบ จัดสรรงบประมาณ การจัดเก็บโดยใช้ตู้เก็บเอกสาร หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือใช้อุปกรณ์บันทึก จัดทำระบบสืบค้นหาข้อมูลและสารสนเทศให้เป็นหมวดหมู่ และต้องตรวจสอบความถูกต้องในการจัดหน่วยหรือคลังข้อมูล
5) การลาและการออกจากราชการ ต้องปรับปรุงระบบการนำเสนอข้อมูลที่สมบรูณ์ ครบถ้วนถูกต้อง ให้เป็นปัจจุบัน ทันต่อการใช้งานและตรงต่อความต้องการ มีระบบเผยแพร่ข้อมูลให้บุคลากรได้ทราบในรูปแบบที่นำเสนอได้ทันที ด้านการประมวลผลข้อมูลต้องแจ้งให้ทราบถึงระบบประมวลผลสำเร็จหรือล้มเหลว การเก็บรวบรวมข้อมูลต้องทันสมัย และถูกต้องสมบูรณ์สืบค้นง่ายและรวดเร็ว

References

กิตติศักดิ์ เจริญศรี. (2550). การดำเนินงานเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เกรียงศักดิ์ พราวศรี. (2544). การจัดระบบสารสนเทศในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.
คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. สำนักงาน. (2541). ผลการประเมินมาตรฐานโรงเรียนประถมศึกษา ปีการศึกษา 2541. เอกสารอัดสำเนา.
จันทิรา จันทเลิศ. (2548). การจัดการระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 4. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จันทร์พร เสงี่ยมพักตร์. (2549). การจัดการระบบข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาในอำเภอเมืองเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เฉลิม ศรีผดุง. (2543). บทนำ. ในการปฏิรูประบบราชการ : การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อการปฏิรูประบบราชการ.
ณรงค์ บุญมี. (2529). สภาพปัจจุบันและปัญหาของระบบสารสนเทศทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ: รวมบทความเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางการศึกษา (หน้า 37-51). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (12-18). กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์.
เทพฤทธิ์ วรรณมะกอก. (2550). การดำเนินงานระบบสารสนเทศของโรงเรียนในเครือข่ายสามัคคี อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นันทนา บริรักษ์. (2550). การดำเนินงานระบบสารสนเทศของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาอมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นาท นวมขำ. (2547). การพัฒนาระบบสารสนเทศงานบุคคล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 3.การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นพรัตน์ ผือโย. (2546). การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดระบบข้อมูลและสารสนเทศ โรงเรียนบ้านป่าหนองอ้อ อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปกรณ์ศักดิ์ ถินอภัย. (2547). การพัฒนาครูเกี่ยวกับสารสนเทศด้านบุคลากรโรงเรียนหามแหโพนทองวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปฏิรูปการศึกษา. สำนักงาน. (2544). ปฏิรูปการศึกษาไทยในมุมประชาชน. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
ประวัติ เต็มบุญ. (2546). ปัญหาและความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันราชภัฏมหาสารคาม.
ประเสริฐ พิศสมัย. (2547). การพัฒนาระบบสารสนเทศบุคลากรโรงเรียนศรีไผทสมันต์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เรืองวิทย์ นนทะภา, และคณะ. (2547). เอกสารการสอนวิชาสื่อและเทคโนโลยีการสอน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิศิษฎ์ ดวงหัสดี. (2547). การพัฒนาระบบสารสนเทศงานบุคลากรวิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วรพงษ์ สันติวงศ์. (2539). การจัดการสารสนเทศเพื่อการบริหารของสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ เขตการศึกษา 8. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สามัญศึกษา. กรม. (2538). การจัดระบบสารสนเทศของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา. กรุงเทพฯ
สิทธิชัย โขนงนุช. (2540). ระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 8. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). แนวทางการดำเนินงานเรียนฟรีเรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ปีงบประมาณ 2554. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
อัมพร นวลสุวรรณ. (2547). การพัฒนาระบบสารสนเทศกลุ่มบริหารงานบุคคล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต3 อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
องอาจ ดีประดวง. (2547). การพัฒนาระบบสารสนเทศงานบุคลากร โรงเรียนสุรวิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อรอุมา แก้วสว่าง. (2548). การจัดการระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-09-2019

How to Cite

สิริเบญจศักดิ์ ณ., & ทรรพวสุ ส. (2019). การจัดการระบบสารสนเทศในการบริหารงานบุคลากรในโรงเรียนขนาดใหญ่ สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพเหนือ. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 7(1), 136. https://doi.org/10.53848/irdssru.v7i1.214586