การก่อหนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v7i1.214619คำสำคัญ:
การก่อหนี้, การกู้ยืมเงิน, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
การกู้ยืมเงินถือได้ว่าเป็นวิธีการเพิ่มรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายๆ แห่งมีแนวโน้มที่จะกู้ยืมเงินมาใช้ในการพัฒนาท้องถิ่นกันมากขึ้น แม้ว่าการกู้ยืมเงินจะนำมาซึ่งรายได้แต่ก็นำมาซึ่งภาระค่าใช้จ่ายและหนี้สินตามมาด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะการกู้ยืมเงินมาใช้ที่ผิดระเบียบวัตถุประสงค์ อันนำมาซึ่งภาระการก่อหนี้ที่เกินตัวจนสุ่มเสี่ยงต่อการขาดวินัยทางการคลังได้ จากการใช้จ่ายเงินกู้อย่างฟุ่มเฟือย การนำไปลงทุนในโครงการที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ หรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์แอบแฝงทางการเมือง ทำให้โครงการล้มเหลวและไม่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งโครงการเหล่านี้นอกจากจะไม่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อประชาชนแล้ว ยังเป็นการสร้างภาระหนี้ให้แก่ อปท. เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย แม้ว่าระดับการก่อหนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ขณะนี้ยังไม่ถือว่าอยู่ในขั้นที่ก่อให้เกิดปัญหาที่รุนแรงและส่งผลกระทบต่อระดับหนี้สาธารณะโดยรวมของประเทศมากนักแต่ถ้าหากปล่อยให้มีการก่อหนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่มีระบบ ติดตาม ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินและการชำระหนี้ของอปท. อย่างจริงจัง สถานการณ์ดังกล่าวอาจนำมาซึ่งการสร้างความเสี่ยงทางภาระการคลังให้แก่ประเทศได้ในที่สุด เพราะปัจจุบันการดำเนินงานของ อปท. นั้นยังคงจำเป็นต้องพึ่งพาเงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นหลัก ซึ่งถือเป็นภาระหนี้แอบแฝงของภาครัฐที่ยังมิได้ถูกคำนวณรวมอยู่ในหนี้สาธารณะของประเทศ ดังนั้นการก่อหนี้ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจึงย่อมส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อสถานการณ์ทางการคลังของประเทศในอนาคตได้
References
ดวงมณี เลาวกุล. (2555). การปฏิรูปการกระจายอำนาจการคลังสู่ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: เป็นไท.
ดวงมณี เลาวกุลและคณะ. (2555). โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานและสนับสนุนการดำเนินงานสำหรับการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระยะที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง.
ไทยโพสต์. (2555). สตง.จี้'ปู'หนี้เงินกู้อปท.3.4 หมื่น ล.สืบค้นค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม,2557,จากwww.ryt9.com:http://www.ryt9.com/general/tag/%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B9%8C/2012-11-16-00:00:00/.
ปริญดา สุลีสถิร.(2556).ความท้าทายของการบริหารอปท: มิติด้านการคลัง. สืบค้นค้นเมื่อ9พฤษภาคม,2557, จากwww.bangkokbiznews.com:http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/jangsibia.
พิสิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส. (2555).เผย อปท.ทั่วประเทศถังแตก-ใช้เงินผิด ก่อหนี้หาเสียงส่วนตัว ระบบตรวจสอบล้มเหลว แนะทางแก้ชาวบ้านร่วมสอดส่อง. สืบค้นค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม,2557, จาก www.matichon.co.th :http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1345809594&grpid=03&catid=&subcatid=.
พิชิตชัย กิ่งพวง.(2555). ระบบการกู้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษาอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์.
พิชิตชัย กิ่งพวงและอัชกรณ์ วงศ์ปรีดี. (2557). สถานภาพปัจจุบันของการกู้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์. คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์.11(2).
วีระศักดิ์ เครือเทพ.(2554). การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คู่มือสำหรับนักบริหารท้องถิ่นยุคใหม่. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า
วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2555). เจาะลึกปัญหา กรณี อบต. น้ำกล่ำ หนี้ท่วม ขาดวินัยทางการคลัง. สืบค้นค้นเมื่อ 9พฤษภาคม,2557, จาก www.siamintelligence.com:http://www.siamintelligence.com/municipality-financial-discipline.
สุนทรชัย ชอบยศ. (2555). ปัญหาในการกู้ยืมเงินขององค์การบริหารส่วนตำบลในประเทศไทย. รัฐสภาสาร, (60), 56-85.
สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน.(2555). หนังสือสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ด่วนมาก ที่ ตผ0015 /4923.สืบค้นค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม, 2557, จากwww.nmt.or.th/DocLib11/Annual%20Conference55/.../31052555_1.pdf.
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ. (2557). การเก็บรวบรวมข้อมูลหนี้คงค้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้นค้นเมื่อ 15 กันยายน, 2558, จาก www.pdmo.go.th/upload/debtoflocal_pdf/pdf_11092014144307.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว