สภาวการณ์ และการถอดบทเรียนสวัสดิการสังคมจากประเทศอิตาลี สู่แนวทางจากจัดสวัสดิการสังคมสำหรับครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • วฤษสพร ณัฐรุจิโรจน์
  • กัญญาวีร์ เทพประภักษ์ ศรีบุรี

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v7i1.214620

คำสำคัญ:

ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว, แม่เลี้ยงเดี่ยว,พ่อเลี้ยงเดี่ยว, สวัสดิการสังคม

บทคัดย่อ

ภาวการณ์ของครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวในประเทศไทยกับประเทศอิตาลี แนวทางการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวในประเทศอิตาลี เพื่อเปรียบเทียบความเหมือนและความต่าง และถอดบทเรียนมาสู่การจัดสวัสดิการสังคมครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวในประเทศไทยซึ่งปัจจุบันยังไม่มี โดยมีสาระที่เกี่ยวข้องในบทความนี้ ได้แก่ ความหมาย และแนวคิดเกี่ยวกับครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว, สาเหตุ และผลกระทบของการเกิดครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว รวมถึงรูปแบบการจัดสวัสดิการสำหรับครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวในประเทศอิตาลี จากการสำรวจสภาวการณ์การจัดสวัสดิการ พบว่า ประเทศอิตาลีมีความชัดเจนด้านกฎหมายและสวัสดิการเพื่อรองรับปัญหาครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวอย่างเป็นรูปธรรม ตรงกันข้ามกับประเทศไทย ที่แม้ว่าแนวโน้มจำนวนครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง สาเหตุ ผลกระทบและความต้องการความช่วยเหลือก็มีบริบทคล้ายคลึงกับประเทศอิตาลีแต่กลับขาดการจัดสวัสดิการโดยเฉพาะให้กับกลุ่มคนดังกล่าว
ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงควรถอดบทเรียนการจัดสวัสดิการสังคมจากประเทศอิตาลี เพื่อเยียวยาเบื้องต้นให้กับครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวที่ยากจนให้สามารถดูแลตัวเองได้ โดยปรับแนวทางการจัดสวัสดิการจากอิตาลีที่สามารถปฏิบัติได้ตามมาตรการ ดังต่อไปนี้ (1) ให้สิทธิในการลาคลอดได้ถึง 6 เดือนและได้รับเงินเดือนปกติ (2) เงินอุดหนุนระหว่างที่พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวเข้ารับการอบรมวิชาชีพ (3) เพิ่มจำนวนและขยายเวลาบริการศูนย์เลี้ยงดูเด็กถึง 18.00 น. (4) ส่งเสริมการจ้างงาน พ่อแม่เลี่ยงเดี่ยวด้วยการลดหย่อนภาษีให้กับภาคเอกชน (5) ออกกฎหมายเบี้ยเลี้ยงครอบครัวพื้นฐาน เป็นต้น และอาจเพิ่มมาตรการทางกฎหมาย เกี่ยวกับความรับผิดชอบของผู้เป็นบิดาในครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยว เพื่อให้ระบบกฎหมายของไทยมีส่วนต่อการสนับสนุนครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยว ตลอดจนรณรงค์เพื่อสะท้อนความสำคัญของครอบครัวที่ยั่งยืน ลดช่องว่างทางสวัสดิการสังคม สร้างความเป็นธรรมและสมานฉันท์ในสังคมอีกทางหนึ่ง

References

กมลพร พันพึ่งและคณะ.(2550). การจัดการของรัฐต่อความต้องการของครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว.ค้นเมื่อ[20 เมษายน 2557]จาก http//: www.ipsr.mahidol.ac.th
กรมสุขภาพจิต. (2552). สารพันความรู้ประชากร.กรุงเทพฯ: วิทยาลัยประชาการศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.(2554). โครงสร้างของครัวเรือนอัตราการจดทะเบียนสมรสและการจด ทะเบียนหย่า.ค้นเมื่อ [20 เมษายน 2557] จาก http//: www.m-society.go.th/
กิติพัฒน์ นนทปัทมดุล. (ธันวาคม 2550). รัฐสวัสดิการ : เครื่องมือสร้างความเป็นธรรมทางสังคม: เอกสารนำเสนอในที่ประชุมวิชาการ ประจำปี 2550 กรุงเทพฯ: คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์.
วิจารณ์ พานิช. (ม.ป.ป). “ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว” อนาคตสังคมไทย.ค้นเมื่อ [20 เมษายน 2557] จากhttp//:www.Tham_ manamai.blogspot.com/2009/071/blog-post-bll,mtml.7/7/2552
ชลลดา จารุศิริชัยกุล. (2555). เป็นพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวอย่างมีคุณภาพ. ค้นเมื่อ [30 เมษายน 2557] จากhttp//: www.th_th.facebook.com/.../ posts/164090590429195.
ณัฏฐ์ษา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา. (ม.ป.ป.)ปัจจัยเกื้อหนุนการฝ่าวิกฤตของพ่อ/แม่เลี้ยงเดี่ยว.ค้นเมื่อ [2 พฤษภาคม 2557]
จาก http//: www.swhcu.net km/ mk. Articles/sw-km/100_s_m.html.
มนทชา ภิญโญชานนท์. (ม.ป.ป.) สภาพการดำเนินชีวิตกับการบริการสังคมของครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว.ค้นเมื่อ[2 พฤษภาคม 2557] จาก http//: www.thaifamilystudy.com/report/ห้องที่ 4 สภาพการดำเนินชีวิตกับการบริการสังคมของครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว.doc.pdf
มยุรฉัตร ทองดอนสนธ์. (2555).ประเด็นปัญหาครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยว การเป็นคนชายขอบและความไม่เป็นธรรมของสังคมไทย. พิษณุโลก : คณะสังคมศาสตร์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาสาขาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยนเรศวร.
มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว. (2551). สถานการณ์ครอบครัวพ่อ/แม่เลี้ยงเดี่ยวในประเทศไทย.ค้นเมื่อ[ 2 พฤษภาคม 2557] จาก http//www.familynetwork.or.th
สถาบันครอบครัว.(ม.ป.ป). สถานการณ์เกี่ยวกับครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวในประเทศไทย.ค้นเมื่อ[30 เมษายน 2557] จาก http//: www. Familynetwork.or.th./family/?q=node/ 120
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. (กรกฎาคม 2552).ครอบครัวไทยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านทางสังคมและประชากร.: เอกสารนำเสนอในที่ประชุมวิชาการ ประจำปี 2552. มหาวิทยาลัยมหิดล.
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคม. (2550).สวัสดิการพื้นฐาน (Social Safety Net) :รากฐานความเป็นธรรมทางรายได้.กรุงเทพฯ : คณะทำงานการกระจายรายได้ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคม.
สมชาย ปรีชาศิลปะกุล. (2551). ระบบกฎหมายไทยกับสภาวะแม่เลี้ยงเดี่ยว. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมศักดิ์ อมรสิริพงศ์. (2553). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาสวัสดิการสังคม. นครปฐม: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.
สุชาดา ตั้งทางธรรม. (2546). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์สาธารณะในสาระวิชาเศรษฐศาสตร์สาธารณะ. นนทบุรี:
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สุภางค์ จันทวานิช. (2555). ทฤษฎีสังคมวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรีย์พร พันพึ่งและกมลพร พันพึ่ง. (2552).การจัดการของรัฐต่อความต้องการของครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว.ค้นเมื่อ [20เมษายน 2557] จาก http//: www.ipsr.mahidol.ac.th
เอื้อมพร พิชัยสนิธ. (2552). นโยบายเศรษฐกิจว่าด้วยสวัสดิการสังคม : บทวิเคราะห์ประสบการณ์ในประเทศตะวันตก.กรุงเทพฯ : คณะเศรษฐศาตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Education and Culture Lifelong Learning Programme .(2010). Research Report the Situation of Lone parents in Supermom (Kingdom Ireland) EU: Lifelong Program Leonardo da Vinci Transfer of Innovation.
Maija Aloha. (2007). Who cares aboutmothers in Italy?. International Master of Science in Social Work University of Göteborg.
Thomas Meyer& Nicole Breyer.(2550).อนาคตของสังคมประชาธิปไตย. แปลโดย สมบัติเบจศิริมงคล.(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ :บริษัท เอส บี คอน ซัลตัล จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-09-2019

How to Cite

ณัฐรุจิโรจน์ ว., & ศรีบุรี ก. เ. (2019). สภาวการณ์ และการถอดบทเรียนสวัสดิการสังคมจากประเทศอิตาลี สู่แนวทางจากจัดสวัสดิการสังคมสำหรับครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวในประเทศไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 7(1), 187. https://doi.org/10.53848/irdssru.v7i1.214620