ศักยภาพของชุมชนกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของอำเภอแม่ แจ่มจังหวัดเชียงใหม่
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v8i1.214760คำสำคัญ:
ศักยภาพชุมชน, แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, แม่แจ่ม, เชียงใหมบทคัดย่อ
ศักยภาพชุมชนกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัย เรื่อง การศึกษาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตอำเภอแม่แจ่ม จังหวัด
เชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาศักยภาพชุมชนเพื่อเป็นแนวทางการในการส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ดำเนินการวิจัยด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และการสนทนากลุ่ม การเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้นำชุมชนปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ประกอบการ ประชาชน และนักท่องเที่ยวในเขตชุมชนอำเภอแม่แจ่ม ตรวจสอบ
ความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยเทคนิคแบบสามเส้า และนำเสนอผลการวิจัยโดยการพรรณาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่าศักยภาพชุมชนของอำเภอแม่แจ่มมีลักษณะโดดเด่น ๓ ด้าน ได้แก่ ๑) ด้านภูมิลักษณ์คือการมีสภาพทางภูมิศาสตร์ และภูมิประเทศ ที่อยู่ในแอ่งหุบเขาจึงทำให้เกิดความแข้มแข็งทางวัฒนธรรม แม้เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงจากบุคคลภายนอก แต่ภูมิลักษณ์เช่นนี้จัดเป็นเกราะป้องกันชั้นเลิศทางที่ส่งผลต่อรูปลักษณ์ทางวัฒนธรรม ๒) ด้านรูปลักษณ์ คือระบบความเชื่อ ภูมิปัญญา ประเพณีพิธีกรรม รวมถึงวิถีชีวิตทั่วไปเป็นศักยภาพชุมชนที่ยังปรากฏและรักษาไว้ถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังค้นพบศักยภาพด้านฐานอำนาจของชุมชน ได้แก่ ความเข้มแข็งของอำนาจภายในชุมชนคือการเคารพผู้อาวุโสซึ่งเป็นผู้นำแบบไม่เป็นทางการ อำนาจของคนรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในถิ่นฐานเกิด รวมทั้งฐานอำนาจของผู้นำอย่างเป็นทางการภาครัฐที่ประสานและร่วมกันผลักดันโดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ๓) ด้านอัตลักษณ์ คือสิ่งที่สะท้อนมาจากรูปลักษณ์ซึ่งเป็นศักยภาพชุมชนที่สำคัญ ได้แก่ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น การทอผ้าซิ่นตีนจก การทำปิ่นปักผม การทำนำแบบขั้นบันได รูปแบบสถาปัตยกรรมสิ่งปลูกสร้างตามความเชื่อ เช่น หอพ่อเจ้าหลวง หอเสื้อ วัด บ้านประเพณีและพิธีกรรม ๑๒ เดือน เช่น พิธีล่องสังขาร พิธีตาลข้าวใหม่-เผาหลัวพระเจ้า เป็นต้น ศักยภาพของชุมชนทั้ง ๓ ด้านจะนำพาแม่แจ่มไปสู่การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอันเป็นการท่องเที่ยวเฉพาะทางซึ่งเป็นที่นิยมในกระแสโลกปัจจุบันและตามแนวโน้มในอนาคตต่อไป
References
Maps of Mae Chaem District,
Chiangmai Province. NAJUA :
History of Architecture : Thai
Architecture - Vol.29
Pitakam, W. (2558) The Knowledge Box
for Eat : Teen-jok fabric weaving
at Mae Chaem.
Bangkok:Knowledge Management
and Development.
Silk Information Systems Centre. (2558)
Thai Trail fabric breath of
Mother Earth. (6thed). Bangkok:
The Queen Sirikit Department of
Sericulture, the Ministry of
Agriculture and
Cooperatives.[http://www.thaiwom
en.or.th/]
Sombut, F. (2553) Recalled of Mae
Chaem. Bangkok : Srinakharinwirot
University.
Wongcha-um, S. Cultural Capital for
Sustainable Tourism at Taka
Community, Amphawa District,
Samut Songkhram Province.
Research and Development
Journal. Vol. 2 2010.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว