การบริหารจัดการท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยที่ตอบสนอง ความต้องการของนักท่องเที่ยวและชุมชน

ผู้แต่ง

  • พรรณทิมา วรรณสุทธิ์
  • วลัยลักษณ์ พันธุรี

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v8i1.214768

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, ตอบสนองความต้องการ, นักท่องเที่ยว, ชุมชน

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษารูปแบบในการบริหารจัดการกิจกรรมด้านนันทนาการในเขตแหล่งท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 2. เพื่อศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดในการให้บริการ
ของกิจการในเขตแหล่งท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 3. เพื่อศึกษาปัญหา และความต้องการผู้ที่เกี่ยวข้องในการบริการจัดการท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และ 4. เพื่อสำรวจพฤติกรรม
และความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวในการมาใช้บริการแหล่งท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ที่เกี่ยวข้องในการบริการจัดการท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์
สุโขทัย จำนวน 138 คน และกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยจำนวน 341 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชุด คือ
แบบสอบถามสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องในการบริการจัดการท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และแบบสอบถามสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย วิเคราะห์
ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า

         1. ผู้ที่เกี่ยวข้องในการบริการจัดการท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 40-49 ปีอาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมืองสุโขทัย และมีอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ซึ่ง
ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบกิจการร้านขายของฝาก เนื่องจากเห็นว่าน่าจะสามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองโดยจะมีระยะเวลาในการตรวจสอบความปลอดภัยและคุณภาพของสินค้าหรือบริการไม่แน่นอน และคิด
ว่าคุณภาพการให้บริการในกิจการเท่ากับคู่แข่งและร้านอื่นๆ และสร้างความประทับใจแก่ลูกค้าในการให้บริการที่มีระบบและเป็นมารฐานเดียวกัน
         2. กลยุทธ์ทางการตลาดที่ใช้ดึงดูดลูกค้าให้เข้ามารับบริการมีอยู่ในระดับมาก อันดับแรก คือ ราคามีหลายระดับให้เลือก เหมาะสม/มีการแจ้งราคาไว้อย่างชัดเจน รองลงมา คือ ผู้ให้บริการมีทักษะ
ในการสื่อภาษาอยู่ในระดับดี/มีอัธยาศัยดี และจัดสถานที่ให้เหมาะสม/มีความสวยงาม/สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย
         3. ปัญหา และความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้องในการบริการจัดการท่องเที่ยวมีระดับปัญหาอยู่ในระดับน้อย อันดับแรกคือ ที่จอดรถของนักท่องเที่ยวมีความปลอดภัยไม่เพียงพอ รองลงมา คือการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยไม่สม่ำเสมอ และขาดการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยทางสื่อต่างๆเช่นวิทยุ โทรทัศน์ เว็บไซต์ นิตยสาร ฯลฯ
เป็นต้น ตามลำดับ
         4. นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21-30 ปี สถานภาพโสด มีการศึกษาระดับ ปวช./ปวส. ส่วนใหญ่มาจากต่างจังหวัด ซึ่งการมาจังหวัดสุโขทัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์มาท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว ส่วนใหญ่มาโดยใช้รถยนต์ส่วนตัวเป็นการเดินทางมากับกลุ่มเพื่อน และมาเที่ยวครั้งแรก โดยแหล่งท่องเที่ยวที่ต้องการชมคือโบราณสถาน/โบราณวัตถุ ใช้เวลาในการท่องเที่ยว 4 ชั่วโมงขึ้นไป สิ่งที่ทำให้นักท่องเที่ยวสนใจเข้ามาท่องเที่ยวคือ บรรยากาศและธรรมชาติที่ดึงดูดใจ ซึ่งได้รู้จักแหล่งท่องเที่ยวจากเพื่อน/ญาติ/คนรู้จัก
การท่องเที่ยวในครั้งนี้นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เลือกใช้บริการร้านอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งจะชำระค่าบริการด้วยเงินสด โดยไม่มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายแต่อย่างใด และความประทับใจ/ปัจจัยที่มี
ผลต่อการตัดสินใจเข้ามาท่องเที่ยวคือมีธรรมชาติที่สวยงาม ส่วนความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวในการมาใช้บริการแหล่งท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก อันดับแรก คือ
การวางโครงสร้างระบบการบริหารจัดการของเหมาะสม/สะดวกในการใช้บริการ รองลงมา คือสถานที่สะอาดเป็นระเบียบ เรียบร้อย สวยงาม เหมาะสมกับเป็นแหล่งท่องเที่ยว และการให้บริการ/กิจกรรม
นันทนาการที่หลากหลายตรงตามความต้องการตามลำดับ

 

References

Parker, A. L. (1999). Tourism Behavior of
Youth in Younger. Dissertation
Abstracts International. 85(12):
1224-1226A
Translated Thai References
Intayou, Jongrak. (2002). People
Participation in Tourism
Management : A Case Study of
Pongron Village, Mai Pattana Subdistrict, Ko Kha District, Lampang
Province. Thesis in Master of Art
(Tourism Industry Management)
Graduate School Chiangmai
University.
Inthanapasart, P. (2003). Community
Participation Based on
Management with Home Stay
Tourism : A case study at Khok
Kong Village, Ku Chi Narai District,
Kalasin Province. Master of Arts
Thesis. Khonkaen University.
Srisa-ard, B. (1995). Statistical Methods
for Research. 2
nd Edition. Bangkok:
Suweeriyasarn.
Tammason, C. (2005). Tourism
Development in Arts and Culture
of Chiang Thong Community,
Muang Tak District, Tak Province.
Arts and Culture Center,
Kamphaengphet Rajabhat
University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2018

How to Cite

วรรณสุทธิ์ พ., & พันธุรี ว. (2018). การบริหารจัดการท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยที่ตอบสนอง ความต้องการของนักท่องเที่ยวและชุมชน. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 8(1). https://doi.org/10.53848/irdssru.v8i1.214768