การปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานการจัดซื้อจัดจ้าง

ผู้แต่ง

  • ไสว ศิริทองถาวร
  • กอบกูล ขำสุวรรณ

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v8i1.214795

คำสำคัญ:

การปรับปรุง, กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง, การออกแบบกระบวนการใหม่, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

บทคัดย่อ

          การศึกษาเรื่องการปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานการจัดซื้อจัดจ้าง ใหม่ สำนักงานคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยการออกแบบกระบวนการ มี
วัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานการจัดซื้อจัดจ้าง สำนักงานคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยการออกแบบกระบวนการใหม่ 2)
เพื่อตรวจสอบคุณภาพของกระบวนการปฏิบัติงานจัดซื้อจัดจ้าง ภายหลักการออกแบบใหม่ และ 3) เพื่อจัดทำคู่มือกระบวนการปฏิบัติงานการจัดซื้อจัดจ้าง

          งานวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ใช้แนวคิดการปรับปรุงกระบวนการของ จุฑา เทียนไทย วีระพจน์ ลือประสิทธิ์สกุล และแนวคิดปรับปรุงกระบวนการโดยการออกแบบกระบวนการใหม่ของเรนเมกเกอร์ (ค.ศ. 2002)
กลุ่มประชากรการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ อาจารย์ประจ าสาขาวิชา 13 สาขาวิชา โดยใช้อาจารย์ประจำสาขาวิชาละ 2 คน รวมจำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำแนกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทแรก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประเภทที่สอง เครื่องมือที่ใช้ในการปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานจัดซื้อจัดจ้าง ได้แก่ การระดมสมอง (Brainstorming) ผังกระบวนการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพ(Quality Work Procedure: QWP) ตารางกระจายดัชนีวัดคุณภาพ (Key Quality Indicators Deployment Matrix: QDM) แบบฟอร์มท างานที่มีคุณภาพ (Quality Working Form: QWF) ดัชนีวัดคุณภาพของกระบวนการปฏิบัติการ (KQI) ดัชนีคุณภาพของกิจกรรม (kqi) แบบสอบถามความต้องการที่ใช้ในการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการเดิน และมติเอกฉันท์ (Consensus) 

          ผลการปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานการจัดซื้อจัดจ้าง สำนักงานคณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 รับคำขออนุมัติ
การจัดซื้อจัดจ้าง ขั้นตอนที่ 2 ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ขั้นตอนที่ 3 ดำเนินการตรวจรับ ขั้นตอนที่ 4 ดำเนินการเบิกจ่าย ผู้วิจัยได้น ากระบวนการใหม่ไปทดลองใช้ และให้ผู้ตรวจสอบกระบวนการคุณภาพ
ประเมินกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง พบว่า ผลการดำเนินการกระบวนปฏิบัติงานจัดซื้อจัดจ้างบรรลุวัตถุประสงค์ และมีดัชนีวัดคุณภาพกระบวนการปฏิบัติการทั้งหมด 8 ตัว ดังนี้ 1) ระยะเวลาที่ผู้ขอรับ
บริการยื่นเอกสารให้ดำเนินการจัดทำใบรายงานขอซื้อขอจ้างจนถึงการอนุมัติให้จัดซื้อจัดจ้าง ภายในเวลาที่กำหนด 5 วันทำการ 6) การพิมพ์รายงานตรงตามคำขอรับบริการ คิดเป็นร้อยละ 100 7) ร้อยละการรวมรวมเอกสารเบิกจ่ายสำเร็จทันเวลา คิดเป็นร้อยละ 100 8) ร้อยละของการรวบรวมเอกสารเบิกจ่ายสำเร็จทันตามเวลาที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ 100 

References

Anakmateephuksa, P. (2009). Improvement
of Laboratory Operations Process: A
Case Study of Andaman Seafood
Co.,Ltd. Thesis in Master of Science
(Quality Management). Suan
Sunandha Rajabhat University.
Anuchart, A. (2012). Process Improvement of
Procurement Process for Investment
Budget by Process Redesign : a Case
of a Goverment Hospital. Thesis in
Master of Education (Quality
Management). Suan Sunandha
Rajabhat University
Lueprasitsakul, V. (2001). TQM LIVING
HANDBOOK Division 5th Quality
Process Management Episode 1st
Establishing systems. Bangkok : BPR &
TQM Consultment
Rainmakers. (2002). Business Process
Redesign. Retrieved November 20,
2008 From
http://www.rainmkrs.com/featured_
cumberland_redesign.htm.
Rajkulchai, S. (1999). Office management.
Bangkok : Jamjuree.
Suwandej, N. (2010). Improvement of
inventory processes of Procurement
Department, College of Music,
Mahidol University. Bangkok : Suan
Sunandha Rajabhat University
Tianthai, J. (2004) Management :
perspectives for managers. Bangkok.
McGrawHill's/Top

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2018

How to Cite

ศิริทองถาวร ไ., & ขำสุวรรณ ก. (2018). การปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานการจัดซื้อจัดจ้าง. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 8(1). https://doi.org/10.53848/irdssru.v8i1.214795