การจัดระบบบริการแท็กซี่โดยสารสาธารณะของกรมการขนส่งทางบก

ผู้แต่ง

  • เกรียงศักดิ์ แสงสว่าง
  • กฤษณา ไวสำรวจ

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v10i1.220525

คำสำคัญ:

การจัดระบบแท็กซี่, กรมการขนส่งทางบก

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษา 1) การจัดระบบแท็กซี่สาธารณะของกรมการขนส่งทางบก 2) องค์ประกอบที่เป็น ปัญหาในการจัดระบบแท็กซี่สาธารณะของกรมการขนส่งทางบก และ 3) แนวทางการจัดระบบแท็กซี่สาธารณะต่อ การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีของกรมการขนส่งทางบก เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยใช้วิธีการวิจัยเชิง คุณภาพเป็นหลักในการศึกษาข้อ มูลจากปรากฏการณ์ที่เกิดขนึ้ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้มี ประสบการณ์ในกิจการของระบบการให้บริการแท็กซี่สาธารณะและการสนทนากลุ่ม จากการศึกษาพบว่า (1) การจัดระบบแท็กซี่สาธารณะของกรมการขนส่งทางบก ดำเนินการโดยการจดทะเบียนรถยนต์รับจ้าง (แท็กซี่) และ ใบขับขี่ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ (2) องค์ประกอบที่เป็นปัญหาในการจัดระบบแท็กซี่สาธารณะของกรมการ ขนส่งทางบกคือ การร้องเรียนต่อรถแท็กซี่สาธารณะกับปัญหาของกรมการขนส่งทางบกและกระทรวงดิจิทัลเพื่อ เศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการให้บริการแท็กซี่สาธารณะรูปแบบใหม่อูเบอร์ และ (3) แนวทางควบคุมระบบ แท็กซี่โดยสารสาธารณะ ปัจจุบันยังไม่มีองค์กรเฉพาะด้านที่เข้าลามาควบคุมดูแลอย่างจริงจัง กฎหมายที่เกี่ยวข้อง หรือระบบที่เหมาะสมต่อการดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันอาชญากรรมในรถแท็กซี่ยังไม่เหมาะสม การ ประสานงานของกรมการขนส่งทางบกยังไม่สามารถที่จะบังคับให้รถแท็กซี่ที่มีอยู่ในปัจจุบันติดเครื่อง GPS ได้ เนื่องจากความไม่พร้อมในหลายๆ ด้านของระบบการจัดการของกรมการขนส่งทางบก และการร้องเรียนของ ประชาชนที่ใช้บริการแท็กซี่สาธารณะและการใช้สื่อเพื่อการแก้ไขปัญหา ช่องทางร้องเรียนมีหลากหลายช่องทาง แต่ไม่สามารถตอบโจทย์ให้กับผู้ใช้รถแท็กซี่โดยสารสาธารณะที่ถูกกฎหมายได้อย่างทันท่วงที ผู้ใช้บริการรถแท็กซี่ สาธารณะส่วนใหญ่จึงเลือกใช้บริการร้องเรียนสื่อโซเชียลซึ่งทำให้ได้รับการแก้ไขปัญหาและได้รับการชี้แจงเร็วกว่า ช่องทางการร้องเรียนกับกรมการขนส่งโดยตรง ข้อเสนอแนะสำหรับการจัดระบบแท็กซี่สาธารณะคือ (1) การกำหนดนโยบายบริหารจัดการ ติดตาม ควบคุมเพื่อแก้ไขปัญหาผู้ขับขี่รถแท็กซี่โดยสารสาธารณะให้เป็นไปตามกฎหมาย (2) การวางนโยบายและแผนการ บริหารจัดการระบบแท็กซี่โดยสารสาธารณะในการจัดการข้อร้องเรียนให้มีประสิทธิภาพ และ (3) การจัด กระบวนการบริหารความร่วมมือระหว่างภาครัฐและผู้ประกอบการเอกชนในการพัฒนาระบบเทคโนโลยี สารสนเทศให้ทันสมัย ท่ามกลางบริบทการแข่งขันในหลากหลายมิติ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้บริการแท็กซี่ สาธารณะที่ดีที่สุด

References

Department of Land Transport. (2016).
Department of Land Transport
discloses the number of
Complaints against Public Taxi
Service through DLT Call Center
1584. Retrieved June 3, 2017,
fromhttp://www.dlt.go.th/th/public
- news/view.php?_did=1078
Transport Statistic Sub-Division, Planning
Division (2016). Statistics on
Complaints receiving through
DTL Call 1548, classified
according to types of car and
topics of complaints. Retrieved
June 3, 2017, from
http://apps.dlt.go.th/statistics_web
/1584.html
Thairath Online, (2017, 27 April). Arrested
of condemned Taxi driver for
raping of a Brazilian beauty
queen. Retrieved April 27, 2017,
from
http://www.thairath.co.th/content/
924147
Prachachat Business. (2016, 27 May).
Innovation VS Regulation: in 2
years Thai UBER increase in
“users and driver service”.
Retrieved June 10, 2017, from
https://www.prachachat.net/news_
detail.php?newsid=1464241761
Blognone. (2014). Getting to know UBER:
Platform Challenge and Future.
Retrieved June 3, 2017, from
https://www.blognone.com/node/
55707
TheEleader.com. (2017). UBER celebrates 1
year operation with more than
1.5 million of the customers.
Retrieved August 15, 2017,from
http://www.theeleader.com/ubersuccess/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-10-2019

How to Cite

แสงสว่าง เ., & ไวสำรวจ ก. (2019). การจัดระบบบริการแท็กซี่โดยสารสาธารณะของกรมการขนส่งทางบก. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 10(1), 46. https://doi.org/10.53848/irdssru.v10i1.220525