ปัญหาเกี่ยวกับสถานะและการคุ้มครองบุตรที่เกิดจากชายหญิง ที่อยู่กินฉันสามีภริยา

ผู้แต่ง

  • กมลวรรณ อยู่วัฒนะ
  • กัลยา ตัณศิริ
  • วารี นาสกุล
  • ไพโรจน์ กัมพูสิริ

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v10i1.220582

คำสำคัญ:

สถานะ, บุตร, อยู่กินฉันสามีภริยา

บทคัดย่อ

การศึกษาฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับสถานะและความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาที่อยู่ร่วมกันโดยไม่มีการสมรสและความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดากับบุตร เปรียบเทียบสถานะและความสัมพันธ์ของ ชายหญิงที่อยู่กินฉันสามีภริยาและความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดากับบุตรตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ เพื่อจัดทำร่างมาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมในการคุ้มครองสถานะและความสัมพันธ์ของชายหญิงที่อยู่กินฉันสามีภริยาและบุตร ด้วยวิธีการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งใช้เทคนิคผสมผสานระหว่างการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และการศึกษาภาคสนาม (Field Research) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) พบว่าประเทศโลก ตะวันตก หลายประเทศเปิดโอกาสให้พลเมืองสามารถตกลงอยู่กินฉันสามีภริยาในรูปแบบอื่นนอกเหนือจากการจด ทะเบียนสมรส เช่น การอยู่ร่วมกันภายใต้ข้อตกลงในการอยู่ร่วมกัน (Pacte civil de solidarité) การจดทะเบียนความสัมพันธ์ (Registered Partnership) การทำข้อตกลงในการอยู่ร่วมกัน (Cohabitation Agreement) และการอยู่ร่วมกันภายใต้ข้อตกลง (Domestic Contracts) เป็นต้น มีการกำหนดความเป็นบิดามารดาให้แก่บุตรนอกกฎหมายจากการรับรองตามคำสั่งศาลหรือการรับรองด้วยความสมัครใจเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจปกครองโดยบิดาสามารถระบุในหนังสือรับรองการเกิดหรือทำข้อตกลงกับมารดาเด็กหรือตามคำสั่งศาล บุตรนอกกฎหมายมีสิทธิที่ จะได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดาและได้รับเงินค่าเลี้ยงดูบุตรจากรัฐ ขณะที่ประเทศไทย ยังไม่มีกฎหมายรับรองสถานะและความสัมพันธ์ของชายหญิงที่อยู่กินฉันสามีภริยาโดยไม่จดทะเบียนสมรสและบุตรจึงได้เสนอแนะแนวทางเกี่ยวกับสถานะและความสัมพันธ์ของชายหญิงที่อยู่กินฉันสามีภริยาและบุตรของไทย ด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไขสำคัญแห่งการสมรสเมื่อสมรสตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น หรือสมรสตามหลักศาสนาแล้วแจ้งเป็นหนังสือไปยังนายทะเบียนเพื่อบันทึกการสมรส และกำหนดให้การเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายเกิดขึ้นเมื่อได้แจ้งเกิดตามความยินยอมของบิดามารดา

References

Human Rights Commission. (2007). The
Universal Declaration of Human
Rights. Bangkok: National Human
Rights Commission of Thailand,
Article 25 (2).
Poopruksanan, N. (2013). Research
Methodology, Principles, and
Concepts of Research Reports
Writing Techniques. Bangkok: Active
Print Co., Ltd. (The 11th edition).
Kasemsab, P. (2010) Philosophy of Law (The
11th edition). Bangkok: Publishers of
Textbooks and Tutorials Documents,
Faculty of Law, Thammasat University.
Phraya Winai Sunthorn. (1929). Description of
Law of the Spouses. Bangkok:
Sophonpipatanakorn Publishing House.
Prasitrinsiru, S. (2012). Social Research
Methodology. (The 15th edition).
Bangkok: Samlada Partnership.
International Covenant on Economic, Social
and Cultural Rights. Searched on 20th
March, 2015 from
http://www.mfa.go.th/humanrights/im
agcs/storics/icescrt.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-10-2019

How to Cite

อยู่วัฒนะ ก., ตัณศิริ ก., นาสกุล ว., & กัมพูสิริ ไ. (2019). ปัญหาเกี่ยวกับสถานะและการคุ้มครองบุตรที่เกิดจากชายหญิง ที่อยู่กินฉันสามีภริยา. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 10(1), 110. https://doi.org/10.53848/irdssru.v10i1.220582