ปัจจัยด้านการบริหารการศึกษาที่มีผลต่อพฤติกรรมของนักเรียน ในโรงเรียนขั้น พื้นฐานสังกัดกรุงเทพมหานคร
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v10i1.220587คำสำคัญ:
การบริหารวิชาการ, การบริหารงบประมาณ, การบริหารบุคลากร, การบริหารงานทั่วไป, พฤติกรรมของนักเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง ปัจจัยด้านการบริหารการศึกษาที่มีผลต่อพฤติกรรมของนักเรียนในโรงเรียนขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพของปัจจัยด้านการบริหารการศึกษาและพฤติกรรมของ นักเรียนในโรงเรียนขั้นพื้นฐานสังกัดกรุงเทพมหานคร และ 2) ศึกษาปัจจัยด้านการบริหารการศึกษาที่มีผลต่อพฤติกรรมของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ใช้การวิจัยแบบประสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง 209 คน คือผู้อำนวยการสถานศึกษา สุ่มแบบง่าย ใช้สถิติวิเคราะห์ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์เส้นทาง ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์กับกลุ่ม ตัวอย่าง 5 คน คือหัวหน้าฝ่ายการศึกษา ผู้อำนวยการและกรรมการสถานศึกษา เลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูล เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารวิชาการ การวิจัยในชั้นเรียนสำคัญที่สุด รองลงมาคือการสอน และการบริการวิชาการแก่สังคม ด้านการบริหารงานบุคคล ครผู้สอนสำคัญที่สุด รองลงมาคือ เจ้าหน้าที่ และภารโรง ด้านการบริหารงบประมาณ การอนุมัติงบประมาณ และการดำเนินงานงบประมาณสำคัญที่สุด รองลงมาคือ การจัดเตรียมงบประมาณ ด้านการบริหารงานทั่วไป การพัฒนาความร่วมมือสำคัญที่สุด รองลงมาคือ การประเมิน ส่วนพฤติกรรมของนักเรียน ความซื่อสัตย์สำคัญที่สุด รองลงมาคือการมีจิตสาธารณะ การมีวินัย การใฝ่เรียนรู้ และ การอยู่อย่างพอเพียง และ 2) การบริหารวิชาการและการบริหารงานทั่วไปมีผลทางตรง ส่วนการบริหารบุคลากร และการบริหารงบประมาณมีผลทางอ้อมต่อพฤติกรรมของนักเรียน จากการศึกษานี้พบว่า การวิจัยในชั้นเรียน ครู การอนุมัติและการดำเนินงานงบประมาณ การพัฒนาความร่วมมือ มีความสำคัญที่ต้องพัฒนาอย่างยั่งยืน ผู้บริหาร ควรนำไปกำหนดวิสัยทัศน์ แผนปฏิบัติการในการบริหารการศึกษา เพื่อยกระดับพฤติกรรมนักเรียนและ ประสิทธิภาพของการศึกษาที่สูงขึ้นไป
References
for Social Science and Behavioral
Research : Techniques to use
LISREL program. Bangkok:
Charoendee Man Khung.
Choochom, O., & others. (2006). Analysis of
psychosocial factors related to
intellectual and quality of life of
Thai youth: Journal of Behavioral
Science, 12(1), 33.
Kawmongkon, S. (2013). Factors influencing
academic affairs administration
effectiveness of primary school
under the Bangkok metropolitan
administration. Doctor of
Philosophy thesis Education
Administration Faculty of Education,
Kasetsart University.
Punyasim, R . (2017). Administration Involved
Affecting the Effectiveness of
Education under the Jurisdiction of
Secondary Educational Service Area
Office 9: Silpakorn Educational
Research Journal, 9(1), 299.
Rodjay, K. (2009). An analysis of factors
affecting the efficiency of small-sized
schools. Doctor of Philosophy,
Educational Administration Faculty
of Education, Chulalongkorn
University.
Rukumnuaykit, P., & Palakawong-na-ayudhya,
S. (2015). School Budget and
Students’ Performance: Empirical
Findings from Thailand. Journal of
Economics, Perimeter NIDA
Management Science, 9(2), 88.
Samapannha, T. (2016). Bangkok Education
Management Report. Bangkok:
Mahachulalongkornrajavidyalaya
University.
Sarobol, P. (2007). Administration Factors
Effecting the Educational Quality
of Chulachomkloa Royal Military
Academy. Doctor of Philosophy,
department of educational
administration, Silapakorn University.
Surasen, N. (2012). The Development of
School Administrative Strategy for
Royal Grant in Basic Education Level.
Doctor of Philosophy thesis The field
of educational administration
Rajamangala University of
Technology Phra Nakhon Si
Ayutthaya.
Tangchuang, P. (2013). Concept & Theory of
Personnel Development in
Education. retrieved April 8, 2017
from http://phasina1.blogspot.com/
2013/12/blog-post.html
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว