แนวทางสร้างสรรค์การออกแบบอุปกรณ์ประกอบการแสดง จากผลงานนาฏยศิลป์สร้างสรรค์ของนราพงษ์ จรัสศรี

ผู้แต่ง

  • ภัคคพร พิมสาร
  • นราพงษ์ จรัสศรี

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v11i2.233361

คำสำคัญ:

อุปกรณ์ประกอบการแสดง, นาฏยศิลป์สร้างสรรค์, นราพงษ์ จรัสศรี

บทคัดย่อ

           บทความวิจัยเรื่อง “แนวทางสร้างสรรค์การออกแบบอุปกรณ์ประกอบการแสดงจากผลงานนาฏยศิลป์สร้างสรรค์ของนราพงษ์ จรัสศรี” เป็นงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางในการสร้างสรรค์การออกแบบอุปกรณ์ประกอบการแสดง สำหรับการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากนิทรรศการจากผลงานทางนาฏยศิลป์ของนราพงษ์ จรัสศรี เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ การรวบรวมข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ สื่อสารสนเทศ การสังเกตการณ์ การสัมมนา และประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลด้านการวิเคราะห์เนื้อหา ผลงานสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ ร่วมกับการวิเคราะห์จากทฤษฎีสัญญะวิทยา (Semiology) ศิลปะการจัดวาง (Installation Art) และผลงานสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จำนวน 4 ชุดการแสดงของนราพงษ์ จรัสศรี ที่มีความโดดเด่นด้านอุปกรณ์ประกอบการแสดง เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานต่อไป

            ผลการวิจัยพบว่า “รองเท้าบัลเลต์” ถูกนำมาเป็นสื่อสัญญะ (Semiology) เป็นการใช้ภาพแทนความหมาย (Signification) เพื่อสื่อถึงการเดินทาง ความอดทน ต่อสู้ แนวคิดศิลปะการจัดวาง (Installation Art) เมื่อนำมาบูรณาการกับอุปกรณ์ประกอบการแสดงพบว่าตำแหน่งการวางภายนอกพื้นที่การแสดง ทำให้ชิ้นผลงานสร้างสรรค์เกิดความมีชีวิตชีวามากขึ้น เสมือนเป็นส่วนหนึ่งของสถานที่สอดคล้องกับการแสดงในลักษณะ Site-specific  ด้วยเช่นกัน

            การนำ “รองเท้าบัลเล่ต์” ที่สร้างจาก “ไม้ไผ่” ด้วยการสานสื่อถึงวัฒธรรมและวิถีชีวิตของคนไทย สะท้อนอัตลักษณ์ของนราพงษ์ จรัสศรี ได้เป็นอย่างดี แต่ด้วยลักษณะของอุปกรณ์ประกอบการแสดงที่มีความสมบูรณ์ของรูปทรงมากเกินไป อาจจะไม่มีพื้นที่ทางจินตนาการให้ผู้ชม อีกทั้งงานสร้างสรรค์ในลักษณะศิลปะการจัดวาง (Installation Art) กับงานนาฏยศิลป์นั้น ควรมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในด้านของประโยชน์ใช้สอย (Function) เพื่อให้การสร้างสรรค์นี้มีความน่าสนใจมากขึ้น

References

References
Warisaraphuricha, K. (2008). Theatrical work Volume 1. (5thed). Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Soonpongsri, K. (2015). Modern Art (2nded). Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Soonpongsri, K. (2016). Aesthetics (3rded). Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Kosonhemmanee, C. (2013). The Forms and Concept in Creating Thai Comtemporary Dance of Naraphong Charassri. Institute of Culture and Arts Journal, Vol 15, No 1(29), 153-159.
Aranyanak, C. (2014). Thai Identity in Contemporary Thai Dacne “Narai Avatara 2003” by Naraphong Charrassri. Institute of Culture and Arts Journal, Vol 15, No 2(30), 141-151.
Cumanee, N. (2016). Erotic Scenes: A Thai Contemporary Dance Base on Ancient in That Litereture. (dfa thesis). Faculty of Fine and Applied Arts, Chulalongkorn University, Bangkok.
Chamyen, N. Faculty of Fine and Applied Arts, Thammasat University. (Interview). 1 December 2018.
Chandnasaro, D. (2014). The Dance from Concept of Trilaksana in Buddhism. (dfa thesis). Faculty of Fine and Applied Arts, Chulalongkorn University, Bangkok.
Bunmee, T. (2015). Revolution of the Sosur symbol The path to the post-modernist. (2nded). Bangkok: Language.
Charrassri, N. (2016). History of Western Dance. (2nded). Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Doungrat, P. (2014). Semiotics and The Changes of Meanings. Suthiparithat Journal, Vol 28, No 88. 1-14.
Pholphikun, P. and Wuthathit W. (2016). The Study of Leadership in Contemporary Thai Dance of Professor Dr. Naraphong Charassri. Journal of Fine Arts, Chulalongkorn University. Vol 2, No 2. 109-117.
Chamiwisut, W. (2017). Signs and identity communication in the Olympic Games logo. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts). Vol 10 No 1. 2077-2092.
Delerd, S. (2013). Identity of the creation of art works in the perspective of art group teachers Faculty of Information and Communication Technology Silpakorn University, Phetchaburi. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts). Vol 6 No 3. 337-345.
Charassri, N. (2007). Narai Avatara Performing The Thai Ramayana In The Modern World. Amarin Printing and Publishing Public Company Limited. Bangkok.
Cooper, S. (2016) Staging Dance. A&C Black (Publishers) Limited.
Carolyn Gage. (2018, November 28). Errand Into the Maze" and PTSD. Retrieved from https://carolyngage.weebly.com/blog/errand-into-the-maze-and-ptsd#comments.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2019

How to Cite

พิมสาร ภ., & จรัสศรี น. (2019). แนวทางสร้างสรรค์การออกแบบอุปกรณ์ประกอบการแสดง จากผลงานนาฏยศิลป์สร้างสรรค์ของนราพงษ์ จรัสศรี. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 11(2). https://doi.org/10.53848/irdssru.v11i2.233361