ผลกระทบจากนโยบายยางพาราของรัฐบาลต่อการปลูกยางพาราในไทย
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v11i2.233392คำสำคัญ:
นโยบายยางพารา, การปลูกยางพารา, ความเสี่ยงด้านราคาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 2 ประการ คือ (1) วิเคราะห์ผลกระทบจากนโยบายยางพาราของรัฐบาลต่อการปลูกยางพาราในไทย (2) ศึกษาแนวทางที่สามารถนำไปใช้ประกอบทิศทางการพัฒนานโยบายยางพาราในไทย โดยอาศัยข้อมูลในเชิงคุณภาพซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารชั้นต้น การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เจาะลึกจากเจ้าหน้าที่รัฐ กลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มเกษตรกรรายย่อยและผู้ประกอบการยางพารา ผลการวิจัยพบว่า นโยบายยางพาราของรัฐบาลที่ส่งผลให้พื้นที่ปลูกยางพาราขยายตัวเพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากนโยบายการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายางพาราและการพัฒนาตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้า แต่นโยบายแทรกแซงราคายางกลับไม่มีผลกระทบต่อราคายางภายในประเทศ ดังนั้นข้อเสนอแนะจากการศึกษานี้ รัฐบาลจึงควรต้องสร้างบทบาทการร่วมรับผิดชอบในความเสี่ยงด้านราคาแก่เกษตรกรรายย่อย โดยจัดตั้งกองทุนเพื่อเป็นมาตรการรักษาเสถียรภาพราคายางในประเทศ นอกจากนี้ในระยะยาว รัฐบาลจำเป็นต้องส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมอุตสาหกรรมยางพาราประกอบกับมาตรการอื่น ๆ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในภาคยางพาราด้วย
References
Kasettranan,N. (2001). Study of Thai Policy on Natural Rubber.(Master’s thesis). Bangkok: Kasetsart University.
Poorpongsakorn,N. (2014).Economic Reform and Social Equity.(Research report).Bangkok: The Thailand Research Fund.
Rubber Authority of Thailand. (2017). The Project of Strengthening Para-Rubber Farmers Operation Retrieved: http://www.rubber.co.th/ewt_news.php?nid=3838&filename=close
Rubber Research Institute. (2016). Thailand Rubber Statistics.Retrieved:http://www.rubberthai.com/statistic/stat.index.htm
Secretariat of the Prime Minister. (2019). Information. Retrieved:http://www.oic.go.th/ginfo/newslist.asp
Somboonsuke ,B.& Wettayaprasit, P. (2013) .Agricultural System of Natural Para Rubber Smallholding Sector in Thailand: System, Technology, Organization, Economy, and Policy implication. Bangkok: Kasetsart University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว