ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับประสิทธิผลของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดปราจีนบุรี เขต 1
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v12i2.242816คำสำคัญ:
การบริหารสถานศึกษา, ประสิทธิผลสถานศึกษา, ปราจีนบุรี เขต 1บทคัดย่อ
ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดปราจีนบุรี เขต 1 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารสถานศึกษาและวิเคราะห์ประสิทธิผลของสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับประสิทธิผลของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 302 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) พบว่า การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คือ การบริหารงานทั่วไป การบริหารงานบุคคล การบริหารวิชาการ และการบริหารงบประมาณตามลำดับ ขณะที่ประสิทธิผลของสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านความใฝ่รู้ รักการอ่าน แสวงหาความรู้ด้วยตนเองของนักเรียน ด้านความสามารถผลิตนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ด้านความสามารถในการปรับเปลี่ยนต่อสภาวะแวดล้อมที่มากระทบทั้งภายในและภายนอก ด้านความสามารถในการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และด้านความสามารถในการใช้สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีของครู ตามลำดับ โดยความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสถานศึกษา มีความสัมพันธ์เชิงบวกทั้งในภาพรวมและรายด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
Ministry of Education. (2007). Economic driving Sufficiency in education. Bangkok: Central Coordination Center for Project Implementation Due to the royal initiative
Kitja Banchuen. (2017). Human relations and philosophy of Sufficiency economy. Bangkok: SE-EDUCATION.
Sornprapha Phonghatthawasilpa (2014). School administration According to the philosophy of sufficiency economy in schools Under the Office of Samut Sakhon Primary Educational Service Area. Master of Education Thesis, Srinakharinwirot University.
Hoy, W.K. & Ferguson, J. (1985). A theoretical frame work and exploration of organizational effectiveness in school. Education administration quarterly.
Likert, Rensis. (1981). Management styles and the human component. In Leadership on the Job: Guides to good Supervision. New York: AMACOM.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว