แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1

ผู้แต่ง

  • อนันต์ เถื่อนเนาว์ ครุศาสตร์มมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v12i2.242876

คำสำคัญ:

การบริหารงานวิชาการ, หลักสูตรสถานศึกษา, สพป.นนทบุรี เขต 1

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาฯ และเน้นที่การเสนอแนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 1 โดยใช้แบบสอบถามรวบรวมข้อมูลจากครู  ประชากรจำนวน 1,346 คน แล้วเปิดตารางของ  Krejcie & Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 302 คน ใช้แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นให้ครอบคลุมการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาทั้ง 5 ด้าน คือ 1) การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา 2) การวางแผนดำเนินการใช้หลักสูตร 3) การนิเทศ กำกับ ติดตาม 4) การสรุปผล การวัดและประเมินหลักสูตร และ 5) การวิจัย ปรับปรุง และติดตามผลการใช้หลักสูตร รวบรวมข้อมูลที่มีการทำวิจัยในเชิงคุณภาพโดยลักษณะการรวมภาพเดี่ยวแบบเจาะลึก และใช้ดัชนี Modified Priority Needs Index: PNI Modified  การหาค่าทางสถิติโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า 1) ความต้องการจำเป็นในการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนความต้องการ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI) ที่มีความต้องการสูงสุด คือ การวิจัย ปรับปรุง และติดตามผลการใช้หลักสูตร รองลงมาคือ การวางแผนดำเนินการใช้หลักสูตรสถานศึกษา ส่วนข้อมีดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI) น้อยที่สุดคือ การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา   2) แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาฯ  ได้แก่ (1) ด้านการวิจัย ปรับปรุง และติดตามผลการใช้หลักสูตร ข้อที่มีความต้องการสูงสุด คือ การนำผลการประเมินหลักสูตรสถานศึกษาไปปรับปรุง พัฒนาด้านการจัดการเรียนรู้ (2) ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ข้อที่มีความต้องการสูงสุด คือ การกำหนดสมรรถนะผู้เรียนชัดเจน (3) ด้านการวางแผนดำเนินการใช้หลักสูตรสถานศึกษา ข้อที่มีความต้องการสูงสุด คือ การดำเนินงานตามแผนงานที่กำหนด (4) ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม ข้อที่มีความต้องการสูงสุด คือ การประเมินผลการใช้ (5) ด้านการเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา
คือ การศึกษาความต้องการของบุคลากร นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน     

References

Ministry of Education. (2003). The dministrative Regulations Act, Ministryof Education 2003. Bangkok: The Organization for the Delivery of Goods and Parcels.

Ministry of Education. (2010). National Education

Act B.E. 1999 Amendment (Version 2)

B.E.2002 and (3rd edition) 2010. Bangkok:

The Printing Organization of the

Organization for the Transport of Goods

and Parcel (ETO).

Ministry of Education. (2009). Core curriculum, Basic Education, 2008. Bangkok: Printing House, Agricultural Cooperative Assembly of Thailand Limited.

Ministry of Education. (2010). National Education Act B.E. 1999 Amendment (Version 2) B.E. 2002 and (Version 3) B.E. 2553. Bangkok: Printing House, Organization for the Transport of Goods and Parcel (ETO).

Ministry of Education. (2014). Guidelines for the administration of learning reform schools. Bangkok: The Teachers Council of Thailand Press.

Chavalit Chu Kamphaeng. (2011). Curriculum development. 2nd edition, Maha Sarakham: TBP Company Limited.

Narin Sungraksa.(2015). Quality of education and learning skills in the 21st century: Mission to be reviewed. Nakhon Pathom: Silpakorn University.

Mariam Nilphan. (2012). Research synthesis in curriculum. 3rd edition, Nakhon Pathom: Silpakorn University Press.

Rattana Duangkaew. (2012). Administration and curriculum development. In the teaching materials for the organization and administration of educational organization. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University.

Wichai Wongyai. (2012). Curriculum and Learning Innovation To be a good citizen Bangkok: R and Print.

Office of the Basic Education Commission (2012). Curriculum management guidelines According to the Core Curriculum for Basic Education 2008. Bangkok: Printing House, Agricultural Cooperative of Thailand Limited.

Office of the Non-Formal and Informal Education (2012). Guidelines for school curriculum development. Bangkok: Office of the Permanent Secretary for Education.

Akkharat Poolkrachang. (2010). Development of training courses, practice planning for professional teachers.Of Bangkok vocational training school Faculty of Mechanical Education, Faculty of Industrial Education. Pathum Thani: Graduate School University of technology Rajamangala Thanyaburi

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2020

How to Cite

เถื่อนเนาว์ อ. (2020). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 12(2), 26–35. https://doi.org/10.53848/irdssru.v12i2.242876