การมีส่วนร่วมของประชาชนในการัดการขยะมูลฝอยอย่างบูรณาการด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v12i2.243079คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, ขยะมูลฝอย, หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, ศาลายา, นครปฐมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการกับปัญหาขยะมูลฝอย และเพื่อศึกษาแนวทางในการส่งเสริมให้ชุมชนมีการจัดการขยะมูลฝอย โดยบูรณาการด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชากรในชุมชนตลาดเก่าศาลายา จำนวน 324 คน ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยจะใช้แบบสอบถาม โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิจัยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ One Way ANOVA นอกจากนี้ผู้วิจัยยังใช้การสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth interview) เพื่อค้นหาการจัดการขยะมูลฝอยโดยการบูรณาการด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผลการวิจัยพบว่า
- การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการกับปัญหาขยะมูลฝอยทั้งในด้านการวางแผน ด้านการดำเนิน
กิจกรรม ด้านการใช้ประโยชน์ และด้านการประเมินผล อยู่ในระดับปานกลาง
- แนงทางในการส่งเสริมให้ชุมชนมีการจัดการขยะมูลฝอยอย่างบูรณาการด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน
กับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการขยะได้ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านการวางแผน การดำเนินกิจกรรม การใช้ประโยชน์ และการประเมินผล มีความสัมพันธ์ที่สามารถบูรณาการด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในด้านพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกัน การมีความรู้และคุณธรรมในระดับปานกลาง ยกเว้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านการวางแผน เมื่อบูรณาการด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในด้านความมีเหตุผลของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน ยังอยู่ในระดับต่ำ
References
Meadows, M., Franklin, F., Campbell, D. & Riemer, P. (1997). Global methane emissions from solid waste disposal sites. In Ayalon, O., Shechter, M., 2001. Solid waste treatment as a high priority and low-cost alternative for greenhouse gas mitigation. Environmental Management. 27: 697-704.
Muttamara, S., Visvanathan, C. & Alwis, K.U. (1994). Solid waste recycling and reuse in Bangkok. Waste Management & Research. 12: 151-163.
Office of the National Economic and Social Development Council (2019). The Twelfth National Economic and Socia; Development Plan (2017 – 2021). Bangkok
Pollution Control Department (2019). The Success of Pollution Management in Thailand. Retrieved July 1,2019 from http://pcd.go.th/info_serv/pol_suc_wa stebank.html
Phiriya Sasom (2008). Case study: Waste bank recycling and community waste management of Lampang Municipality. The 1st Thai Students Symposium on Geography and geo-informatics.
Thalisa Nliemmanee and others (2006). Waste selection behavior of people in Din Daeng District Bangkok. Research and Delopment Institute of Suan Sunandha Rajabhat University
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว