การติดตามและประเมินผลการจัดการขยะมูลฝอย โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านมหาโพธิ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v12i1.243994คำสำคัญ:
การคัดแยก, การมีส่วนร่วม, ขยะมูลฝอยบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนสภาพในปัจจุบันของชุมชน ศึกษาการมีส่วนร่วมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน และหาแนวทาง มาตรการการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชน บ้านมหาโพธิ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน โดยทำการรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือประชาชนในชุมชนบ้านมหาโพธิหลังคาเรือนละ 1 คน จำนวน 267 ครัวเรือน สถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่าครัวเรือนในชุมชนบ้านมหาโพธิส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิงอายุ 60 ปีขึ้นไป รายได้ต่อเดือน 10,001 - 15,000 บาท ด้านการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน ส่วนใหญ่นำขยะที่คัดแยกไปทำปุ๋ยหมัก ด้านความรู้เกี่ยวกับขยะมูลฝอยและการคัดแยกขยะมูลฝอย เจตคติต่อการจัดการขยะมูลฝอยอยู่ในระดับต่ำ โดยเจตคติที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วย คือ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือนด้านพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน พฤติกรรมส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างปฏิบัติทุกครั้ง คือ คัดแยกขยะมูลฝอยที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ส่วนแนวทางและมาตรการการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนบ้านมหาโพธิดำเนินการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพโดยเลือกวิธีแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 30 คน คือ สมาชิกสภาเทศบาล ผู้นำชุมชน คณะกรรมการชุมชน และอาสาสาธารณสุขประจำชุมชน จากการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชนผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมแบบการสนทนากลุ่มและใช้เทคนิค A-I-C (Appreciation Influence Control) ได้จัดทำโครงการ “ จัดการขยะต้นทาง ของชุมชนบ้านมหาโพธิ”ที่มีวัตถุประสงค์ในการสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะมูลฝอยตั้งแต่ในครัวเรือน และการเพิ่มมูลค่าจากการคัดแยกขยะในครัวเรือนโดยสมาชิกนำขยะมาบริจาคเข้าร่วมโครงการเดือนละไม่ต่ำกว่า 10 บาทต่อครัวเรือน และสมาชิกจะได้รับเงินสวัสดิการสงเคราะห์ในกรณีสมาชิกได้เสียชีวิตรายละ 2,000 บาท นำไปสู่การยอมรับและโครงการดังกล่าวก็ดำเนินการต่อไปจนถึงปัจจุบัน
References
Pollution Control Department.(2016). National Solid Waste Management Master Plan 2016 - 2021.Bangkok: Ministry of Natural Resources and Environment.
Pollution Control Department.(2016).Thailand State of Pollution Report 2016. Bangkok: Ministry of Natural Resources and Environment.
KalayaVanichBancha (2005). Statistics for research.(4th edition). Bangkok: ChulalongkornUniversity.Kanya
Ja Ai. (2006).Participation in solid waste management of San Klang community San Kamphaeng District Chiangmai Province.Chiang Mai: Graduate School Chiang Mai University
MahaPhot Committee (2017). Community plan for the fiscal year 2017. Nan: CommunityBaan MahaPhot.
The Battle of Buddhaksa. (2011). The Complete Guide to Learning Community Development. Bangkok: The National Research Council of Thailand.
JutharatChomphan (2012). Principal analysis "Public participation"In the Thai Context. Environmental Management Journal Year 8 Issue 1 January - June 2012: National Institute of Development Administration.
TawilawadeeBurikul. (2008). Participation, concepts, theories and processes. Bangkok: King Prajadhipok's Institute.
NantawatBamannan. (2009). Local Government. Bangkok: A reasonable person.
NarumonKusolu (2011). Participation in waste management of the elderly in ThaKhanon Sub-district, KhiriratNikhom District SuratThani.Songkhla: Prince of Songkla University.
PankamolPhisithatkun and Saowalak Rung Tawanrueangsri (2004).Promoting public participation and learning process in community waste management: a case study of Prik Sub-district Municipality, Sadao District, Songkhla Province.Songkhla: Prince of Songkla University.
Panthip Ram Sutra.(1997). Participatory action research. Bangkok: ASEAN Institute for Public Health Development.
PitakMukda Sanit. (2008).Factors Affecting the Success of Garbage Disposal Project. Of MueangKlaengSubdistrict Municipality, Klaeng District, Rayong Province Rayong: MueangKlaengSubdistrict Municipality.
Yuthayaiwan.(2007). Principles of research and thesis. Bangkok: Bangkok Supplementary Media Center.
SirikulNoppui. (2009). Solid waste management of Khao Rup Chang Subdistrict Municipality, Mueang District, Songkhla Province.Songkhla: Khao Rup Chang Subdistrict Municipality.
SomkuanKalarat. (2006). Development of People Participation in Solid Waste Management in Na San Municipality Community, Na San District, SuratThani Province.SuratThani: SuratThaniRajabhat University.
SukritPhongwaChedi. (2008). Management of solid waste problems in SaladanSubdistrictKoLanta District Krabi.Krabi: SaladanSubdistrict.
Office of Local Administration in Nan, together with the Office of Nan Natural Resources and Environment. (2017). Solid Waste Action Plan for Nan Province 2017.Nan: Ministry of Natural Resources and Environment.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว