การออกแบบคู่มือการทอผ้า ถอดแบบอัตลักษณ์จากภาพเขียนสีวัดเขาจันทร์งาม
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v12i1.243995คำสำคัญ:
ภาพเขียนสี, อัตลักษณ์, การออกแบบ, คู่มือบทคัดย่อ
การถอดแบบอัตลักษณ์จากการสำรวจพื้นที่วัดเขาจันทร์งาม ซึ่งพบอัตลักษณะเฉพาะของภาพเขียนสีที่โดดเด่น จากภาพเขียนสีแสดงให้เห็นลักษณะเฉพาะของภาพที่ชัดเจน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการถอดแบบอัตลักษณ์สำหรับงานทอผ้า และออกแบบคู่มือเพื่อถ่ายทอดลวดลายและกระบวนการทอผ้าสำหรับชุมชน อัตลักษณะทางเรื่องราวและการบอกเล่าของภาพถูกสะท้อนบนลวดลายผ้าเพื่อแสดงออกให้เห็นลักษณะเฉพาะได้อย่างชัดเจน มีกระบวนการของการวางองค์ประกอบศิลป์มาใช้ประกอบการถอดแบบอัตลักษณ์ภาพและถ่ายทอดในผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งได้ศึกษาจากผลิตภัณฑ์หัตถกรรมการทอผ้าของชุมชนตั้งแต่กระบวนการเตรียมการ การผลิต รวมถึงข้อจำกัดต่างๆ ในการออกแบบลวดลายบนงานผ้าไหมมัดหมี่ เกิดแนวทางการต่อยอดกระบวนการและถ่ายทอดลวดลายเพื่อเป็นต้นแบบ ซึ่งได้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญเป็นกลุ่มหัตถกรรมทอผ้าไหมบ้านดู่ อำเภอปักธงชัย ในการให้ข้อมูล ลำดับและกระบวนการผลิต การย้อมสีจากธรรมชาติ ข้อจำกัดของการทอ และข้อจำกัดของชุมชน รวมถึงการออกแบบที่เป็นลักษณะเฉพาะของการทอผ้าแบบไหมมัดหมี่ ได้ทำการออกแบบลวดลายโดยใช้หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ มาจัดหมวดหมู่ลักษณะภาพ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ 1.ความชัดเจนด้านรูปลักษณ์ 2.ความชัดเจนด้านรูปลักษณ์ 3.การสื่อสารที่เป็นลักษณะการบอกเล่าเรื่องราว ในกระบวนการออกแบบได้มีการจัดวางทิศทางของงานภาพและสี ได้ออกแบบลวดลายที่เกิดจากการวิเคราะห์ทั้งหมด 12 ลาย ถอดกระบวนการทอและการผลิตเพื่อจัดทำคู่มือ ทดลองทำการผลิตจริง 2 ลวดลาย แสดงต้นแบบในการผลิต ซึ่งกลุ่มได้ประโยชน์พร้อมเกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างสร้างสรรค์และมีความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนต่อไปในอนาคต
References
Boonwong, N. (1996). Lakkarnookbaeb. (Phim khrang thi 1) [Design principles (1ST ed.)] Bangkok: Chulapress.
Choodam T. (2009). Bodsamruodneawkawmkid keiwkablangsamhaimai [Exploring postmodern concepts]. Retrieved From https://shorturl.at/mzENT.
Faungfhusakul A. (2003). Auttalax (Identity) [Identity]. Bangkok: National research council of Thailand.
Kantakarn, P. (1979). Papkaein-si lae papsalak Sillapasamaikornprawatsart-naiprathedthai [A paintings and carvings Prehistoric art in Thailand]. (Bachelor of Archaeology thesis, Silpakorn University).
Prajonsant S. (2016). Kankhoroubnailoadlaimadmee [Ikat Patterns Formation]. (7TH, P. 173-183). Academic journal Art architecture Naresuan University
Santimaneerat N. (2019). Pictogram makkrawsanyalaxprapedgelakheuphompunyakarnookbaeb [Pictogram rather than sport type symbols Is design wisdom]. Retrieved From https://shorturl.at/ewGHW.
Sarikbout, P. Papkaein-si lae papsalak Sillapa-samaikornprawatsart-naiprathedthai [A paintings and carvings Prehistoric art in Thailand]. Retrieved From https://shorturl.at/sxCY0.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว