การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทักษะการพูดภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย ระหว่างกลุ่มที่จัดการเรียนการสอนตามแนว ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และกลุ่มที่จัดการเรียนการสอนแบบปกติ

ผู้แต่ง

  • ธงชัย เชื้อนิล
  • ศุภานัน สิทธิเลิศ

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v12i1.243997

คำสำคัญ:

ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์, ทักษะการพูดภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัยระหว่างกลุ่มที่จัดการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และกลุ่มที่จัดการเรียนการสอนแบบปกติและเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ กลุ่มตัวอย่างในวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ทั้งหมด 2 ห้องเรียน จำนวน 90 คน ซึ่งได้มาโดย การสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และแบบปกติ แบบประเมินทักษะการพูดภาษาอังกฤษ และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการใช้สถิติทดสอบ t-test independent sample ผลวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทักษะการพูดภาษาอังกฤษ หลังการจัดการเรียนการสอนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์สูงกว่าแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุดค่าเฉลี่ย ( gif.latex?\bar{x} = 4.68, S.D. = 0.32)

References

Fonthip, N. (2015). The development of learning management based on Constructivist theory combined with simulation approach to enhance abilities in listening and speaking English of Mathayomsuksa 1 students. Journal of Educational Administration Bua Bundit, 1(15), 117-128. http://english.obec.go.th/english/2013/. On August 9, 2018.

Kritsana, K. (2010). The creation a learning environment on a network along with the constructivist theory entitled "Present Simple Tense for primary school grade 5. Master of Education Thesis Faculty of Education King Mongkut’s University of Technology Thonburi.

Luthans. (1998). Organizational Behavior. New York: McGraw-Hill.

Ministry of Education. (2016). The Academic Meeting regarding to the Educational Reformed policies for the core governors in Ministry of Education. Office of the minister news. http://planning2.mju.ac.th/government/20111119104835_planning/Doc_25590823143636_159437.pdf. On August 9, 2018.

National Institute of Educational Testing Service (Public Organization). (2017). The resualt’s Ordinary National Educational Test. http://www.newonetresult.niet.or.th/Individual/WebNotice/FrEnquire StudentGraphScore.aspx. On August 9, 2018.

Pornsiri O. (2015). Implementation of constructionism learning theory to promote English speaking ability of vocational students majoring in Tourism. Journal of Humanities and Social Sciences University of Phayao, 1(3), 83-93.

Rabeab R. (2001). The development of English listening and speaking skills by using the activies in laboratory room for Wat-Waruwan Temple School Sarapee District Chiangmai. Master of Education Program in Curriculum and Instruction Thesis, Chiang Mai University.

The Office Basic Education Commission, (2008). The implementation of Educational Service Area and the Office Basic Education Commission. Bangkok: The Teachers’ Council of Thailand.

The Office Basic Education Commission, English Language Institute. The Background. (Online)

Wareeya S. (2001). Development of Peer-tutoring using instructional package on English achievement for Matthayomsuksa two. Master of Education Program in Technology and Communications, Prince of Songkla University.

Winisa B. (2004). Users’ Satisfaction with Services of personel in the office of the president Naresuan University. Master of Education Program in Educational Administration, Naresuan University

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2020

How to Cite

เชื้อนิล ธ., & สิทธิเลิศ ศ. . (2020). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทักษะการพูดภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย ระหว่างกลุ่มที่จัดการเรียนการสอนตามแนว ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และกลุ่มที่จัดการเรียนการสอนแบบปกติ. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 12(1). https://doi.org/10.53848/irdssru.v12i1.243997