สิ่งแวดล้อมด้านจิตสังคมขององค์กรที่ส่งผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนในโรงพยาบาล

ผู้แต่ง

  • สาวินี ตันติวุฒิคุณ
  • ณัฐณีย์ มีมนต์
  • ดรุณี ภู่ขาว
  • ภัคนันท์ จิตต์ธรรม

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v12i1.243998

คำสำคัญ:

สิ่งแวดล้อมด้านจิตสังคมขององค์กร, ความเครียดในการปฏิบัติงาน, บุคลากรสายสนับสนุนในโรงพยาบาล

บทคัดย่อ

             การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยสิ่งแวดล้อมด้านจิตสังคมขององค์กร ที่ส่งผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงาน ของผู้ปฏิบัติงานสังกัดฝ่ายวิศวกรรมบริการและอาคารสถานที่ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง ด้วยวิธีการเชิงปริมาณ มีการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ปฏิบัติงาน สังกัดฝ่ายวิศวกรรมบริการและอาคารสถานที่ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จำนวน 671 คน โดยใช้แบบสอบถามสิ่งแวดล้อมด้านจิตสังคมขององค์กรตามมาตรฐานการจัดการสุขภาพและความปลอดภัยในองค์กร (Management Standards Indicator Tool : Health and Safety Executive) ที่ประกอบด้วยปัจจัย 6 ด้าน ได้แก่ ความต้องการในงาน (Demands) ความสามารถในการควบคุมในงาน (Control) การสนับสนุนทางสังคม (Support) ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน (Relationships) ความชัดเจนของบทบาท (Role) และ การรับรู้การเปลี่ยนแปลงขององค์กร (Change) และมาตรวัดความเครียดในการทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติสัมประสิทธิ์ความถดถอยพหุ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

               ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีระดับความเครียดที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การที่ต้องทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้า (Mean = 3.06, SD = 1.03) รองลงมาคือ การมีเวลาไม่เพียงพอสำหรับทำงานในปริมาณมาก (Mean = 3.02, SD = 1.07) และการมีความรู้สึกผิดเมื่อหยุดงาน (Mean = 2.98, SD = 1.20) ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์ความถดถอยพหุ พบว่าไม่มีตัวแปรด้านประชากรและสังคมที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดความเครียดในการปฏิบัติงานของกลุ่มตัวอย่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ตัวแปรสิ่งแวดล้อมด้านจิตสังคมขององค์กร จำนวน 3 ตัว มีผลต่อการเกิดความเครียดในการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ตัวแปรด้านความต้องการในงาน (Demands) (b = 0.598) ตัวแปรด้านบทบาท (Role) (b = 0.135) และตัวแปรด้านความสัมพันธ์ (Relationships) (b = 0.132) ตามลำดับ โดยผู้ปฏิบัติงานที่รับรู้ถึงระดับความต้องการในงานสูง มีความชัดเจนในบทบาทหน้าที่ของตนเอง และมีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานที่ไม่ดีมีแนวโน้มที่จะมีความเครียดจากการปฏิบัติงานในระดับที่สูงกว่า ซึ่งตัวแปรดังกล่าวสามารถอธิบายความแปรปรวนต่อการเกิดความเครียดในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานสังกัดฝ่ายวิศวกรรมบริการและอาคารสถานที่ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ได้ถึงร้อยละ 46.4

References

Adzakpah, G., Laar, A. S., & Fiadjoe, H. S. (2016). Occupational stress among nurses in a hospital setting in Ghana. Clinical Case Reports and Reviews, 2(2), 333-338.

Blumenthal, R. G. (1997). Woolly times on the Web. Columbia Journalism Review, 36(3), 34.

Cooper, C. L., & Straw, A. (1993). Successful stress management in a week. Headway.

Cox, T., Griffiths, A., & Randall, R. (2003). A risk management approach to the prevention of work stress. The handbook of work and health psychology, 191.

Greenberg, J., & Zhang, Z. (2010). Managing behavior in organizations. Boston, MA: Pearson.

Hart, P.M. & Cooper, C.L. (2001). Occupational stress: Toward a more integrated framework. Handbook of Industrial, Work & Organizational Psychology: Volume 2: Organizational Psychology, 93.

Karasek Jr, R. A. (1979). Job demands, job decision latitude, and mental strain: Implications for job redesign. Administrative science quarterly, 285-308.

Kinman, G., & Jones, F. (2003). 'Running Up the Down Escalator': Stressors and strains in UK academics. Quality in Higher education, 9(1), 21-38.

Marcatto, F., Colautti, L., Larese Filon, F., Luis, O., & Ferrante, D. (2014). The HSE management standards indicator tool: Concurrent and construct validity. Occupational medicine, 64(5), 365-371.

Moustaka, & ARING and Constantinidis, T.C. (2010) Sources and Effects of Work-Related Stress in Nursing. Health Science Journal, 4, 210-216.

Narayanan, L., Menon, S., & Spector, P. E. (1999). Stress in the workplace: A comparison of gender and occupations. Journal of Organizational Behavior: The International Journal of Industrial, Occupational and Organizational Psychology and Behavior, 20(1), 63-73.

Palmer, S., Cooper, C., & Thomas, K. (2004). A model of work stress. Counselling at Work. Winter, 5, 25.

Parker, D. F., & DeCotiis, T. A. (1983). Organizational determinants of job stress.

Wieclaw, J., Agerbo, E., Mortensen, P. B., & Bonde, J. P. (2005). Occupational risk of affective and stress-related disorders in the Danish workforce. Scandinavian journal of work, environment & health, 343-351.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2020

How to Cite

ตันติวุฒิคุณ ส. ., มีมนต์ ณ., ภู่ขาว ด., & จิตต์ธรรม ภ. (2020). สิ่งแวดล้อมด้านจิตสังคมขององค์กรที่ส่งผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนในโรงพยาบาล. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 12(1). https://doi.org/10.53848/irdssru.v12i1.243998