การจัดการศึกษาปฐมวัยในสองทศวรรษหน้า

ผู้แต่ง

  • กลิ่นแก้ว มาตา
  • ชวนชม ชินะตังกูร
  • กมลมาลย์ ไชยศิริธัญญา

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v12i1.244001

คำสำคัญ:

สองทศวรรษหน้า, การจัดการศึกษาปฐมวัย

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการศึกษาปฐมวัยในสองทศวรรษหน้า มีการดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือขั้นตอนที่ 1 ขั้นดำเนินการวิจัยด้วยเทคนิค EDFR ขั้นตอนที่ 2 การดำเนินงานด้วยเทคนิควงล้ออนาคต และขั้นตอนที่ 3 การดำเนินการวิจัยด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ผลกระทบภาคตัด  กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเป็นผู้เชี่ยวชาญจำนวน 17คนจาก 3 กลุ่ม ประกอบด้วย นักวิชาการการศึกษาปฐมวัย นักการบริหารการศึกษาและนักบริหารสถานศึกษาปฐมวัย และด้านวางแผนและนโยบายการจัดการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 2) แบบสอบถามปลายปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าสหสัมพันธ์และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า การจัดการศึกษาปฐมวัยในสองทศวรรษหน้ามี 9 ด้าน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยที่มีระดับผลกระทบจากมากไปหาน้อยที่จะเป็นไปได้ในสองทศวรรษหน้าได้แก่ ด้านปฏิสัมพันธ์ของผู้เกี่ยวข้องเด็กปฐมวัย 5 ข้อ ด้านผู้บริหารสถานศึกษาปฐมวัย 5 ข้อ ด้านสุขภาพและความปลอดภัยเด็กปฐมวัย 5 ข้อ ด้านการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย 8 ข้อ ด้านการจัดหลักสูตรปฐมวัย 5 ข้อ ด้านคุณภาพครูปฐมวัย 5 ข้อ ด้านสถาบันผลิตครูปฐมวัย 5 ข้อ ด้านสภาพแวดล้อม 5 ข้อ และ ด้านองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัย 5 ข้อ เมื่อนำมาสร้างภาพวงล้ออนาคตภาพ และภาพตัดอนาคตแล้วมีแนวโน้มที่จะเป็นไปได้ในระดับมากที่สุดสำหรับการจัดการศึกษาปฐมวัยในสองทศวรรษหน้า

References

Office of the National Economics and Social Development Council, Nation Strategic Framework Draft 2560-2579 B.E., [online], Retrieved from https://www.nesdb.go.th, Accessed on 13/ October/ 2560 B.E.

Office of Thai Health Promotion Foundation. (2556). Children life Quality. APPA Print. Hall. Bangkok: Printing Group.

Office of the National Economics and Social Development Council, Premier Official. (2560).The National Economics and Social Development Plan, No. 12 (2560-2564). Bangkok.

UNICEF. Unicef for every child; Online,2018, Retrieved from https://www.unicef.org/thailand/th

Kanung Saikeaw. (2552). Policy Recommendation of Early Childhood Administration in Surintr Provincial. Education Doctoral Thesis, Khonkean University.

Chumpon Ponlaphatchiwin. (2546). Future Delphi and Ethnographic Technique Research, Education Encyclopedia, Srinakharintrawirot University, 18/ August / 2546: 37-51.

Yowapha Dechakhoob, (2542). Managing for Early Childhood. Bangkok; Mc. Press.: 14.

Rekha Srivichai. (2554). The Model of Efficiency Privacies Early Childhood School in Nonthaburi. Ph.D. Thesis in Educational Administration. Graduated College. Sripathum University.

Wanphen Nantasri. (2556). The Academic Leadership Indicator Development of Early Childhood, under North Eastern Part Region Primary Educational Area Office. Academic and Social Research Magazine. (No. 23/ May – August/ 2556. :31 – 39)

Anongnart Yimchang. (2557). The Development Guideline in Learning Experience for Early Childhood for ASEAN entering. Academic and Social Science Research Magazine. Year 9th No. 25 (January – April); 23

Ruthinan Samuththai. (2556). Pilot Research Project of Teachers Production Courses Development for the Century 21st. Chiangmai University.

Bredekamp, S. and Copple, C. (1997). Developmentally Appropriate Practice in Early Childhood Programs. Washington, DC: NAEYC

Majumder, Maran Bandhu,(2015). The University of Kalyani Indian. (Quality In Teacher Education : Issues and Challenger in India at The Beginnig of The 21st Century)

shimine,Karin ColletteTaylor, JohnBennet. (2010).

The University of Melbourne. (Quality and Early childhood Education and Care: A Policy Initiative for the 21st Century)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2020

How to Cite

มาตา ก. ., ชินะตังกูร ช., & ไชยศิริธัญญา ก. . (2020). การจัดการศึกษาปฐมวัยในสองทศวรรษหน้า. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 12(1). https://doi.org/10.53848/irdssru.v12i1.244001