การคัดเลือกตัวชี้วัดผลการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อ การดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v12i1.244005คำสำคัญ:
ถอนบทความบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน ศึกษาตัวชี้วัดผลการดำเนินการอื่นๆ ที่เหมาะสมเพิ่มเติมของคณะสัตวแพทยศาสตร์ และปัจจัยที่มีผลต่อการคัดเลือกตัวชี้วัดผลการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Education Criteria for Performance Excellence - EdPEx) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) โดยใช้สถิติวิจัยซึ่งมีระดับความเชื่อมั่น 95% จากจำนวนบุคลากร 30 คน ซึ่งผลการวิจัย พบว่า (1) การคัดเลือกตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน ทั้ง 5 ด้าน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยรวม เท่ากับ 4.38 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวม (S.D.) เท่ากับ 0.62 และการทำหน้าที่ของตัวชี้วัดจากระดับความเหมาะสมของตัวชี้วัดมากที่สุด โดยแบ่งเป็นตัวชี้วัดกระบวนการ(Leading Indicator) รวมผลลัพธ์ตัวชี้วัดทั้ง 5 ด้าน มีจำนวน 26 ตัวชี้วัด ส่วนตัวชี้วัดผลลัพธ์ (Lagging Indicator) รวมผลลัพธ์ตัวชี้วัดทั้ง 5 ด้าน มีจำนวน 22 ตัวชี้วัด (2) ตัวชี้วัดผลการดำเนินการอื่นๆที่เหมาะสมเพิ่มเติม มีทั้งหมด 12 ตัวชี้วัด (3)ปัจจัยที่มีผลต่อการคัดเลือกตัวชี้วัดของผลการดำเนินงาน ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการเรียนรู้ของผู้เรียนและด้านกระบวนการ และด้านการมุ่งเน้นลูกค้า มีปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนด้านการมุ่งเน้นบุคลากร ด้านการนำองค์การและการกำกับดูแล และด้านงบประมาณ การเงิน และตลาด มีปัจจัยส่วนบุคคลไม่แตกต่างกัน
References
Educational Quality Criteria for Execution Manual, 2018 – 2019. (2018). Bureau of Higher Education Standards and Evaluation.
Pak-ut J. (2011). Factors effect on participation in educational quality assurance institutions, National Institute of Development Administration. Bangkok.
Kittiwimolchai Ph., Sri-anan W., Lo-aphirukkul S., Panchaipet K., Kaoprapha E., Pum-im S. (2012). Studying to determine key performance indicators (KPIs) based on education criteria for Performance Excellence and obstacles of education criteria for implementation. Office of Quality Management, Khon Kaen University.
Srisa-ad B. (1995). Statistical methods for research. Bangkok: Suwiriyasan Press.
Panjeang P. (2011). Educational quality assurance Participation of personnel, Hatyai University. Retrieved March 26, 2011, from http://liberalart.hu.ac.th/Research/Aticle/02_Prapas.pdf.
Ngamdee S. and Manakij P. (2018). Factors affecting success analysis, effect on the strategic plan according to EdPEx criteria, Faculty of Pharmacy, Chiang Mai University.
Treemongkoltip S. and Sarakul O. (2012). The understanding and attitude regarding educational quality assurance of personnel in Thai Traditional Medicine College Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Plan and Quality Assurance Department, Rajamangala University of Technology Thanyaburi.
David Hopkins, Marilyn Leask and Kath Aspinwall. (1989). Quote in Kath Aspinwall. Managing Evaluation in Education Developmental Approach. New York: Routledge.
Burstein Leigh, Jeannie Oakes, and Gial Quiton. (1992). Education indicator: Encyclopedia of educational research. 6th ed. New York: Macmillan.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว