ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผล ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อแว่นสายตาของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v12i2.244474คำสำคัญ:
ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด, การตัดสินใจ, แว่นสายตาบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการซื้อแว่นสายตาในเขตกรุงเทพมหานคร 2) การตัดสินใจซื้อแว่นสายตาของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อแว่นสายตาของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล 4) หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับการตัดสินใจซื้อแว่นสายตาในกรุงเทพมหานคร ตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา และนำข้อมูลที่รวบรวมได้ประมวลผลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละและค่าเฉลี่ย t-test การวิเคราะห์แบบ ANOVA ใช้ F-test (One-way ANOVA) , Correlation และMultiple Regression Analysis
ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 41-50 ปี สถานภาพครอบครัวโสดระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 15,001 บาท อาชีพรับจ้าง/พนักงานบริษัท ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดอยู่ในระดับความสำคัญมาก การตัดสินใจซื้อแว่นตาอยู่ในระดับความสำคัญมาก ผลการทดสอบสมมติฐานข้อมูลส่วนบุคคลที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจซื้อแว่นสายตาไม่แตกต่างกัน ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านราคา และด้านบุคลากร ภาพรวมมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อแว่นสายตาของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ระดับปานกลางทิศทางเดียวกัน ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านส่งเสริมการตลาดและด้านลักษณะทางกายภาพ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อแว่นสายตาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
Department of Business Development. (2562 B.E.). Thai Eyeglasses Market. Retrieved on November 4, 2019. From (https://marketeeronline.co/archives/111318) [In Thai]
Grittinapat Sirinorakul. (2560 B.E.). Marketing mix factors affecting eyeglass consumer buying behavior in general glasses shops in Bangkok. Independent study, Faculty of Commerce and Accountancy, Thammasat University. [In Thai]
Jittaboon Jantapan and Mayukapan Chaimungkong. (2558 B.E.). Marketing mix factors correlate with consumer behavior on selecting eyeglasses shop in Bangkok shopping center. Independent study, Master of Business Administration, Thonburi University. [In Thai]
Karnkanit Suvisuthakul. (2561 B.E.). Factors affecting the decision to buy products in Multi-Label Store instead of buying via Instagram. Independent study, Master of Communication Arts, Digital Marketing Communication Program, Bangkok University. [In Thai]
Namthip Nianhom. (2560 B.E.). Marketing mix factors affecting students to continue on vocational education decision with Wiboon Technology College of Business Administration, Ram Intra. Independent study, Master of Business Administration, Kirk University. [In Thai]
Nutchaya Chaipadung, and Dr. Pichet Musikapodok. (2017 B.E.). Marketing factors influencing the decision to buy contact Lens on Facebook.com. Independent study, Master of Business Administration, Siam University. [In Thai]
Narussanan Vatcharamanekul. (2558 B.E.). Marketing mix factors affecting consumer decision in using eyeglasses shops in the Western region of Thailand. Journal of Management, pages 31-45. [In Thai]
Pantitra Kaewma. (2556 B.E.). Consumer behavior of eyeglasses buying in Bang Rak District. Independent Study, Master of Business Administration, Siam University. [In Thai]
Sareepipat Garoonmaeteevattanakul and Thanya Supornpraditchai. (2560 B.E.). Marketing mix factors influencing consumers to buy eyeglasses. A case study of Optical shop 88, Bangkok. The 7th Panya Bhiwat National Academic Conference, Page 349-395. [In Thai]
Siriwan Saerirat and associates. (2560 B.E.). Modern Marketing Management, revised marketing management version. Bangkok: Thammasarn company limited. [In Thai]
Savittri Surathumvit. (2558 B.E.). Fashion sunglasses business establishment Vittri project. Independent study, Master of Business Administration Program in Content Management and Value Creation, Bangkok University. [In Thai]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว