การประเมินหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยประยุกต์ใช้ตัวแบบ ไอ-อี-โอของ อเล็กซานเดอร์ แอสติน
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v12i2.244877คำสำคัญ:
การประเมินหลักสูตร, หมวดวิชาศึกษาทั่วไป, รูปแบบ ไอ-อี-โอ ของแอสตินบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประเมินหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์หลักสูตร และระยะที่ 2 การประเมินหลักสูตร โดยกลุ่มเป้าหมายในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย นักศึกษา อาจารย์ผู้สอน และผู้ช่วยสอน (TA) ตลอดจนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตร สถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบไปด้วย แบบวิเคราะห์หลักสูตร แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบทดสอบก่อนเรียน โดยในที่นี้ผู้วิจัยจะขอนำเสนอผลการวิจัยในระยะที่ 2 การประเมินหลักสูตรโดยผู้วิจัยประยุกต์ใช้แนวคิดการประเมิน I-E-O ของ Astin ดังนี้
การประเมินปัจจัยนำเข้าสู่การเรียนรู้ พบว่า ด้านคุณลักษณะแรกเริ่มเรียนของนักศึกษา ผู้เรียนที่เข้ารับการศึกษาในหลักสูตร มีคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์การรับเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยกำหนด และนักศึกษามีความคาดหวังต่ออาจารย์ผู้สอนและหลักสูตร อยู่ในระดับมาก ด้านเกรดเฉลี่ยระดับมัธยมศึกษาเป็นไปตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด คิดเป็นร้อยละ 78.33 และด้านคุณลักษณะของอาจารย์และผู้ช่วยสอน ระดับคุณวุฒิ/ ประสบการณ์ในการสอน เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด แต่อัตราส่วนระหว่างผู้สอน ผู้ช่วยสอนและผู้เรียน พบว่าไม่สอดคล้องกับเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กำหนด
การประเมินด้านสภาพแวดล้อมและกระบวนการการเรียนรู้ พบว่า ด้านการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียน ซึ่งประกอบด้วยสภาพแวดล้อมด้านกายภาพ และด้านจิตภาพ ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน ผลจากการสัมภาษณ์ของอาจารย์และผู้ช่วยสอน พบว่าในด้านกิจกรรมการเรียนการสอนเหมาะสมและสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตร แต่ในบางรายวิชาการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของจำนวนนักศึกษา ทำให้กิจกรรมบางกิจกรรมไม่เกิดผลลัพธ์ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
การประเมินด้านผลการเรียนรู้ พบว่า ด้านเกรดเฉลี่ยของนักศึกษาในภาพรวมของทั้ง 3 กลุ่มวิชา พบว่า นักศึกษามีค่าระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ผ่านเกณฑ์ (F) คิดเป็นร้อยละ 1.27 อัตราการคงอยู่ของนักศึกษาที่เรียนครบตามเวลาเรียนของหลักสูตร คิดเป็นร้อยละ 87.20 ของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด และด้านสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ จากการประเมินความคิดเห็นต่อผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการจัดการเรียนการสอน พบว่าโดยภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นของหลักสูตรเกี่ยวกับผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
References
Astin, A. W. (2012). Assessment for excellence. New York: Macmillan.
Kaewpanchaung, S. (2007). Development of English speaking skills of students Secondary 6 (S6) By using language activities for communication. Master thesis, M.Ed. (Higher Education). Bangkok: Graduate School, Srinakharinwirot University.
Kanrawee Boonyanusit. (2011). Development of Instruction Model for Enhancing Respectful Mind and Ethical Mind Based on Teaching and Learning via Service Learning for Undergraduate Students. Dessertation, Ed.D. (Curriculum Research and Development). Bangkok: Graduate School, Srinakharinwirot University.
Leonard Debra. (2004). A Study of General Education Assessment. Electronic Thesesand Dissertations. (Online).
Ministry of Education. (2005). Standard criteria for Bachelor degree programs 2005. http://www.mua.go.th.
Pattamat boonsong. (2012). Instructional Management of General Education in Bachelor’s Degree Program of Thammasat University as Perceived by Students. Master thesis, M.Ed. (Higher Education). Bangkok: Graduate School, Srinakharinwirot University.
Ritcharoon, P. (2007). Principles of educational Measurement and evaluation. (4thed). Bangkok: houses of Kermit
Ritcharoon, P. (2015). Course Assessment: Concepts Process and use of evaluation results. Journal of Education, STOU, 8(1), 13 -28.
Sinlarat, P. (2007). Thailand Qualifications Framework. Journal of Education.38 (2), 104 -117
Suwanwong, W. (2006). Environmental Management in Benjamaracharangsit 2 School as Perceived by Teachers. Master thesis, M.Ed. (Course Management). Bangkok: Graduate School, BuraphaUniversity.
Thai GE network. (2013) Report Thailand Qualifications Framework 2009. http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/
Warangkhana Riansut. (2558). Academic Probation’s Probability Forecasting Model For Undergraduate Students At Thaksin University. Reserch report, Department of Statistics Faculty of Science Thaksin University. Sinlarat, P. (20Higher Education Standards Framework. Journal of Education. 38(2), 104 -117.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว