การสร้างความแข็งแกร่งให้การท่องเที่ยวชุมชนด้วยดิจิตอลแพลทฟอร์ม

ผู้แต่ง

  • ศุจิมน มังคลรังษี MS
  • อรุณ รักธรรม
  • เพ็ญศรี ฉิรินัง
  • สมพร เฟื่องจันทร์

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v12i2.246730

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวชุมชน, หัวหิน-ชะอำ, ดิจิตอลแพลทฟอร์ม, การตลาด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ศึกษา สภาวการณ์ หาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานด้านการตลาดด้วยดิจิตอลแพลทฟอร์ม  ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานด้านการตลาดท่องเที่ยวชุมชน และ สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวชุมชน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้รู้ที่ให้ข้อมูล คือผู้ประกอบการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยว ผู้นำชุมชน และตัวแทนหน่วยงานการท่องเที่ยวในพื้นที่ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์ รวมข้อมูลจากเอกสาร และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า สภาวการณ์การท่องเที่ยว ซบเซาต่อเนื่องติดกันหลายปี ส่งผลทำให้ผู้ประกอบการมีรายได้ลดลง ลักษณะการบริการ เช่น ที่พัก ร้านอาหาร สวนสนุก-สวนน้ำ กิจกรรมริมชายหาด นวด เรือเช่า กีฬาทางน้ำ และขี่ม้า ผู้ประกอบการมีการปรับใช้เทคโนโลยีในกิจการในระดับที่แตกต่างกันไป การปรับใช้เทคโนโลยีในกิจเป็นกิจการประเภทที่พัก ภัตคารอาหาร สวนสนุก ส่วนกิจการขนาดเล็กชาวบ้านยังขาดความรู้ความเข้าใจทางด้านการตลาดและการปรับใช้เทคโนโลยี จะไม่ได้ใช้เทคโนโลยีในกิจการฯ การใช้เทคโนโลยีของนักท่องเที่ยวเป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจท่องเที่ยว เช่น หาข้อมูล เปรียบเทียบ อ่านความคิดเห็น ตัดสินใจ ชำระค่าบริการ และให้ความคิดเห็นติชม ผ่านช่องทางออนไลน์ เว็บไซต์ สื่อสังคมออนไลน์ แนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานด้านการตลาดด้วยดิจิตอลแพลทฟอร์ม ควรให้การสนับสนุน และให้ความรู้กลุ่มผู้ประกอบการ ที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจทางด้านการตลาด และการปรับใช้เทคโนโลยีในกิจการท่องเที่ยว เนื่องจาก ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน คือความพร้อมของผู้ประกอบการ โดย เฉพาะกลุ่มขนาดเล็ก จึงคิดว่าควรให้ผู้ที่มีส่วนได้เสียในทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทาง และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการท่องเที่ยว รวมทั้งจัดให้มีการอบรมให้ข้อมูลผู้เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาการท่องเที่ยว และเพื่อพัฒนาศักย ภาพของผู้ประกอบการ

References

Economic Intelligence Center, SCB, 2019. Thai SMEs haven’t been Hi-Tech. Retrieve on 29 Nov 2019 from www.bizpromptinfo.com/ smes-ไทยยังไม่ไฮเทค
Ministry of Tourism and Sports. (2016-2018). Tourism Statistic. Retrieve on 1 Jan 2018 from https://www.mots.go.th/old/more_ news.php?cid=41
____. National Tourism Plan & Development 2017-2021. Retrieve on 1 Jan 2018 from http://www. harvardasia.co.th /wp-content /uploads/2018/02/1be798cb24ee07703c498fcd47cbba4den.pdf
Tourism Authority of Thailand (2017). Thailand Tourism Strategy 2017. Retrieve on 1 Jan 2018 from https://www.mots.go.th/ewt_dl_ link.php?nid=7114
TAT Magazine Review. (2012). How the future would be? Consumer and Technology Adoption (1). Retrieve on 16 Aug 2019 from http://www.etat journal.com/mobile/index.php/menu-read-tat/menu-2012/menu -2012-jan-mar/60-12555-futute-technology2
______. (2012). How the future would be? Consumer and Technology Adoption (2). Retrieve on 16 Aug 2019 from http://www.etat journal.com/web/menu-read-web-etatjournal /menu-2011/menu -2011-oct-dec/362-42554-technology-tourism
Nattinee, T. and Kanok, B. (Mar-Apr 2017). The Community Tourism Marketing Management based on Cultural Heritage Site of Khong-Chi-Mun River Basin for Linked Thai–Laos-Vietnam Tourism. Vol. 9 No. 2 (2017). pp 127-134
Narin, K. (1995). Analysis of Participatory of community members in developing Health Education in the community. Graduate School of Education, Chiangmai University.
Pansiri, P. (Oct 2017). Problems and Development, Product Marketing Entrepreneur of One Tambon One Product (1 to 5 Star Levels) in Khon Kaen Province. Year 7. Special issue. October 2017.pp 28-30.
Thanachart, N. (2018). Business Platform Model. Retrieve on 16 Aug 2019 from https://thanachart.org/2018 /04/07/platform-business-model-map
Somboon, T. (2013). Local wisdom-based model to build up community strength in Chiang Rai province. Educational Journal. Nareasuan University. Year 15. Issue 2. Apr-Jun 2013. pp 62.
Siriluck, R. (2013). Information Technology Assimilation and Thai E-tourism Progression. Business Journal. Thammasat University. Year 36 Vol.139 (Jul-Sep 2013) Retrieve on 15 Jun 2019 from https://so01.tci-haijo.org/index.php/CBS Review/ article/view/ 14526/13299
Babak, Mohajeri, Nyberg, Riko & Nelson, Mark. (2017). Collaborative Service Networks, Case Study of Uber and Airbnb. International Journal of Innovative Studies in Sciences and Engineering Technology. pp 10-11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08-03-2021

How to Cite

มังคลรังษี ศ. ., รักธรรม อ. ., ฉิรินัง เ. ., & เฟื่องจันทร์ ส. . (2021). การสร้างความแข็งแกร่งให้การท่องเที่ยวชุมชนด้วยดิจิตอลแพลทฟอร์ม. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 12(2), 217–226. https://doi.org/10.53848/irdssru.v12i2.246730