ระบำดอกพะยอม: การสร้างสรรค์ผลงานการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ดอกไม้ประจำจังหวัดพัทลุงในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

ผู้แต่ง

  • กฤติยา ชูสงค์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • อักษราวดี ปัทมสันติวงศ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i1.247960

คำสำคัญ:

ระบำดอกพะยอม, การสร้างสรรค์, การแสดงพื้นบ้านภาคใต้, ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

บทคัดย่อ

              ระบำดอกพะยอม การสร้างสรรค์ผลงานการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ดอกไม้ประจำจังหวัดพัทลุงในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ดอกไม้ประจำจังหวัดพัทลุงในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา และเพื่อประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดพัทลุง โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการสร้างสรรค์ระบำดอกพะยอม มีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) แนวคิด 2) การออกแบบกระบวนท่ารำ 3) การแปรแถว 4) การออกแบบเครื่องแต่งกาย 5) ทำนองเพลง โดยมีแรงบันดาลใจมาจากดอกพะยอม ดอกไม้ประจำจังหวัดพัทลุง ซึ่งมีลักษณะสีขาวนวลนำมากำหนดเป็นสีของเครื่องแต่งกาย กระบวนท่ารำแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 สื่อถึงลักษณะของลำต้นและการออกดอกเป็นช่อของดอกพะยอม ช่วงที่ 2 สื่อถึงสถานที่สำคัญของจังหวัดพัทลุงเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด โดยใช้ลีลาท่ารำที่มีพื้นฐานมาจากท่ารำโนรา และทำนองเพลงที่ใช้ คือ วงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ (เครื่องห้า) นำทำนองเพลงที่มีมาแต่โบราณในการแสดงโนราและหนังตะลุง นำมาเรียบเรียงทำนองเพลงขึ้นใหม่เป็นทำนองเพลงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของจังหวัดพัทลุง

Author Biography

กฤติยา ชูสงค์, คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

โปรแกรมวิชานาฏศิลป์และการแสดง  คณะศิลปกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา  อ.เมือง จ.สงขลา 90000

References

Arjaree Rungcharoen and Suppakorn Disatapunahu. (2014). The use of folk art uniqueness to promote cultural tourism: A case study of Suphanburi Province. Institute of Culture and Arts Journal, 16(1), 47-56.

Chantana Aeumsakul. (2010). Choreography art (creative Thai dance). Bangkok: Thammasart University.

Chuan Peatkaew. (2016). Nora: Conservation and development. Walailak Abode of Culture Journal, 16(1), 1-27.

Nongluk Piyamungkala, Yananda Siraphatthada, and Krisada Sungkhamanee. (2018). Thai dramatic dance affecting the tourists’behavior in heritage tourism Nakhonsawan Province. The Academic Journal Faculty of Humanities and Social Sciences Nakhon Sawan Rajabhat University, 6(2), 353-365.

Pairoj Thongkumsuk. (2002). Analyzing the model of being a teacher to the process of transferring knowledge of a specialist in Thai dance, teacher Chaley Sukhavanich. Bangkok: Institute of Dramatic Arts, Fine Arts Department.

Pittaya Boosararat and Benjawan Buakwan. (2017). Norah: Change, adaptation and creative power for sustainability of the southern lyrical dance identity. Walailak Abode of Culture Journal, 16(2), 43-64.

Rungnapa Rukwanna. (2014). Phatthalung Flower. Retrieved June 15, 2020, from https://rungnaparukwanna.wordpress.com.

Thammanit Nicomrath. (2016). Contemporary Thai southern dance “Manora Sattha”. Walailak Abode of Culture Journal, 16(1), 87-97.

Thammanit Nicomrath. (2018). Nora basic dance Sai family Khum Uppatham Nara Korn (Pum Tawa). Songkhla: Thaksin University.

Wirunrak, S. (2004). Evolution of the art of Thai dance in the Bangkok era. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-06-2021

How to Cite

ชูสงค์ ก., & ปัทมสันติวงศ์ อ. . (2021). ระบำดอกพะยอม: การสร้างสรรค์ผลงานการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ดอกไม้ประจำจังหวัดพัทลุงในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 13(1), 41–55. https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i1.247960