การพัฒนาหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะที่จำเป็นในกำลังพลนายทหารชั้นประทวน ของสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v12i2.248718คำสำคัญ:
สมรรถนะ, สมรรถนะที่จำเป็น, นายทหารชั้นประทวน, หลักสูตรฝึกอบรมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสมรรถนะที่จำเป็นในกำลังพลนายทหารชั้นประทวนของสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ (2) เพื่อสร้างหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างสมรรถนะที่จำเป็นในกำลังพลนายทหารชั้นประทวนของสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ และ (3) เพื่อประเมินหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างสมรรถนะที่จำเป็นในกำลังพลนายทหารชั้นประทวนของสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ โดยแบ่งขั้นตอนการวิจัยออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสมรรถนะที่จำเป็นในกำลังพลนายทหารชั้นประทวน กลุ่มตัวอย่างคือ กำลังพลนายทหารชั้นประทวนของสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ จำนวน 196 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะที่จำเป็น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .987 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะที่จำเป็นในกำลังพลนายทหารชั้นประทวนของสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ เป็นการสร้างหลักสูตรให้สอดคล้องกับผลที่ได้จากการศึกษาสมรรถนะที่จำเป็นมีองค์ประกอบของโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรม คือ สภาพปัญหาและความจำเป็น จุดมุ่งหมาย หลักสูตร กำหนดหน่วยการเรียนรู้ ประกอบด้วย จุดมุ่งหมายของหน่วยการเรียนรู้ จุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม เนื้อหา กิจกรรมและวิธีการอบรม สื่อประกอบการอบรม การวัดและประเมินผล นำโครงร่างหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ประเมินความเหมาะสม และความสอดคล้อง จากนั้นจึงนำข้อมูลจากการประเมินโครงร่างหลักสูตรมาปรับปรุงเพื่อให้โครงร่างหลักสูตรมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น ขั้นตอนที่ 3 การประเมินหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็น ทั้ง 5 ด้านของกำลังพลนายทหารชั้นประทวน เป็นการประเมินโดยการนำหลักสูตรไปทดลองใช้ 1. การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ของกำลังพลนายทหารประทวนหลังการอบรม (= 8.47, SD = .54) สูงกว่าก่อนการอบรม (= 7.51, SD = .75) อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 หมายความว่า นายทหารประทวนที่เข้ารับการฝึกอบรมมีสมรรถนะจำเป็นทั้ง 5 ด้านเพิ่มมากขึ้น 2. การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะของกำลังพลนายทหารประทวนหลังการอบรม (= 4.18, SD = .43) สูงกว่าก่อนการอบรม ( = 4.08, SD = .42) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 หมายความว่า นายทหารประทวนที่เข้ารับการฝึกอบรมมีสมรรถนะเพิ่มมากขึ้น 3. การประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมหลังอบรม ได้แก่ ด้านเนื้อหาของหัวข้อการอบรม ด้านวิทยากร ด้านกิจกรรมและวิธีการสอน ด้านเอกสารและสื่อประกอบการฝึกอบรมด้านสถานที่และระยะเวลาการฝึกอบรม และการวัดและการประเมินผล อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด 4. การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ของกำลังพลนายทหารชั้นประทวนของสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ หลังการอบรมสิ้นสุด (= 8.47, SD = .54) กับหลังการอบรมผ่านไป 12 สัปดาห์ (= 8.57, SD = .53) สูงกว่าหลังการอบรมสิ้นสุดอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 นั่นคือ หลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะที่จำเป็นในกำลังพลนายทหารชั้นประทวนของสถาบันวิชาการป้องกันประเทศมีความคงทน 5. การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะของกำลังพลนายทหารชั้นประทวนของสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ หลังการอบรมสิ้นสุด (= 4.18, SD = .43) กับหลังการอบรมผ่านไป 12 สัปดาห์ (= 4.26, SD = .40) สูงกว่า หลังการอบรมสิ้นสุดอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 นั่นคือ หลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะที่จำเป็นในกำลังพลนายทหารชั้นประทวนของสถาบันวิชาการป้องกันประเทศมีความคงทน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นายทหารชั้นประทวนของสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ มีสมรรถนะที่จำเป็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับ ได้แก่ มีคุณธรรม ด้านร่วมคิดทำงานเป็นทีม ด้านดำรงความถูกต้องพร้อมรับผิด ด้านมุ่งมั่นในผลสัมฤทธิ์ และด้านเสียสละ 2. โครงร่างหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะที่จำเป็นในกำลังพลนายทหารชั้นประทวนของสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ประกอบด้วยสภาพปัญหาและความจำเป็น จุดมุ่งหมาย หลักสูตร และหน่วยการเรียนรู้ 5 หน่วยการเรียนรู้ โดยผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ทุกองค์ประกอบความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 3. ผลการเปรียบเทียบความรู้และสมรรถนะที่จำเป็น พบว่า นายทหารชั้นประทวนมีความรู้และสมรรถนะหลังอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความคงทนเมื่อระยะเวลาผ่านไป 12 สัปดาห์ และนายทหารชั้นประทวน มีความพึงพอใจต่อการใช้หลักสูตรในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
Naval Personnel Department (2019). Guide to Cultivating and Strengthening Naval Ideology. Bangkok: Author.
Directorate of Education and Training, Royal Thai Air Force (2020) Government Action Plan Air Force Education Department (T.E.) Year 2020. Bangkok: Author.
Klaharn Na Nan (2016). Performance management. Bangkok: Se-Education Publishing.
Policy and Planning Division Suan Sunandha Rajabhat University. (2017). Determination of Competencies for Local Government Officials "Core Competency Handbook". Bangkok: Author.
Human Resources Management System Development Division, Department of the General Forces (2016). Regulations of the Royal Thai Armed Forces On the evaluation of personnel performance Royal Thai Armed Forces, Bangkok: Author.
Kittisak Ronkaew. (2016). A study of the competency of school administrators in the administration of the Army. Master of Education Thesis, Srinakharinwirot University.
Decha Dechawattanaphaisarn (2016). Human Resource Management: Concepts for Practice. Bangkok: Chulalongkorn University Publishing.
Tuangporn Srichai, Teerapat Kulopas and Pruet Siribanpitak. (2020). Competency of commissioned officers of the Royal Thai Army in the 21st century. Journal of the Researchers Association, 25.
Niramon Satawut. (2008). Invitationable education management: educational innovation. Bangkok: Friendship, Printing and Studio.
Nissadal Vechyanon (2013). Competency-Based Approach (6th edition). Bangkok: The Graphico Systems.
Prawet Maharatasakul (2014). Human resource management. Bangkok: Thai-Japanese Technology Promotion Association.
Phayat Wutirong. (2019). Innovation Management, Organization of Learning and Innovation Resources, Bangkok: Chulalongkorn University Publishing.
Pijets Prayuthasin and Arun Chutipol. (2020). Development of training courses for developing information and communication technology skills of secondary school teachers Under the Secondary Education Service Area Office 11. Journal of the Graduate School of Pichayathas 15 (1).
Phitsanu Fongsri. (2008). Classroom Research: Principles and Techniques. (7th edition). Bangkok: Dhansutha Border Publishing.
Nakhonratchasima Rajabhat University. (2017). Personnel Development Plan, Establishment of Building and Service Division, Fiscal Year 2017, Nakhon ratchasima: Author.
National Defence Institute (2018). History and Mission. Retrieved 29 May 2018, from http://ndsi.rtarf.mi.th/history-mission/main .html
Office of the Civil Service Commission (2010). Handbook of Competency Determination in Civil Service: Core Competency Handbook. Nonthaburi: Technician Meeting.
Sudarat Khrutaka (2007). Development of training courses to enhance the desirable competencies of head nurses in the future health care system. Doctor of Philosophy, Ramkhamhaeng University.
Akarin Kamchaiboon. (2018). Development of the competency of the Thai Army Instructor for the Buddhist Integration. Mahachulalongkornrathana Journal, 6(4), 2155-2174.
Delahaye, B. L. (2005). Human resource development: Adult learning and knowledge management (2nd ed.). Queensland, Australia: John Wiley & Son.
McClelland, D. C. (1973). Testing for Competence Rather than for “Intelligence”. American Psychologist.
Miller, L, Rankin, N., & Neathey, F. (2001). Competency Frameworks in UK Organizations. London: CIPD.
Saylor, J. G., Alexander, W., & Lewis, A. J. (1981). Curriculum Planning for Better Teaching and Learning. New York: Holt, Rinehart and Winston
Tyler, R. W. (1949). Basic principles of curriculum and instruction. Chicago: University of Chicago Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว