ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับเทคนิคคำถาม R-C-A ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชุมชนไมตรีอุทิศ จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ธีระวัฒน์ เซิบรัมย์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ดวงเดือน สุวรรณจินดา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • สุจินต์ วิศวธีรานนท์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i1.249136

คำสำคัญ:

ปรากฏการณ์เป็นฐาน, เทคนิคคำถาม R-C-A, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์, ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์, จังหวัดนนทบุรี

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับเทคนิคคำถาม R-C-A กับแบบปกติ พร้อมกับเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชุมชนไมตรีอุทิศ จังหวัดนนทบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 30 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม จากนั้นสุ่มห้องเรียนหนึ่งเป็นกลุ่มทดลองและอีกห้องหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับเทคนิคคำถาม R-C-A 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และ 4) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย                 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับเทคนิคคำถาม R-C-A มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับเทคนิคคำถาม R-C-A
มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

Anubes Tassaniyom and Sumalee Chookhampaeng. (2020). Developing analytical thinking ability of mathayomsuksa 4 students in biological science using phenomenon – based learning. Journal of MCU Nakhondhat, 7(6), 31-44.

Chumchon Maitri Uthit School. (2019). Self-assessment report: SAR 2019. Nonthaburi: Author.

Daehler, K., & Folsom, J. (2016). Making sense of science: Phenomena-based learning. Retrieved May 10, 2017, from http://www.WestEd.org/mss

Ministry of Education. (2008). The basic education core curriculum A. D. 2008. Bangkok: Agricultural Cooperative Federation of Thailand.

Naruedee Netsopha. (2016). Developing the blended instructional model for enhancing students’ Sammadhitthi of the lower secondary education using with the R-C-A question technique (Doctoral dissertation). Mahasarakham Rajabhat University. Mahasarakham.

Office of the Basic Education Commission. (2011). Life skills development guidelines integration of teaching and learning 8 groups of learning subjects. Bangkok: Agricultural Cooperative Federation of Thailand.

Office of the National Economics and Social Development Council. (2017). National economic and social development plan no.12 (2017-2021). Bangkok: Office of the National Economics and Social Development Council, Office of the Prime Minister.

Oraphan Butkatunyoo. (2018). Phenomenon-based learning for developing a learner’s holistic views and engaging in the real world. Journal of Education Studies, Chulalongkorn University, 46(2), 348-365.

Penuel, W. R., Turner, M. L., Jacobs, J. K., Horne, K. V., & Sumner, T. (2019). Developing tasks to assess phenomenon-based science learning: Challenges and lessons learned from building proximal transfer tasks. Science Education, 103(6), 1367-1395.

Phetcharat Jongnimitsatapohn and Napapohn Worranatsudatip. (2013). R-C-A question techniques to improve life skills. Journal of Education Khon Kaen University, 36(2), 1-5.

Pongsatorn Mahavijit. (2019). Application of phenomenon-based learning and active learning in elementary education course to enhance 21st century learning skills. Journal of Education Khon Kaen University, 42(2), 73-90.

Prasart Nuangchalerm. (2015). Science learning in the 21st century. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Symeonidis, V., & Schwarz, J. F. (2016). Phenomenon-based teaching and learning through the pedagogical lenses of phenomenology: The recent curriculum reform in Finland. In Forum Oswiatowe (pp. 31-47). Poland: University of Lower Silesia.

Wanvisa Tipwat, Phaviti Arawan, and Paiboon Bunchai. (2012). Comparisons of life skill, learning achievement and satisfaction with learning physics entitled “light and visual aids” of matthayomsueksa 5 students between organizingthe participotory leaning activitives with R-C-A questiontechniques and conventional teaching approach. Journal of Educational Measurement Mahasarakham University, 18(2), 147-157.

Weir, J. J. (1974). Problem solving is everybody’s problem. Science Teacher, 41(4), 16-18.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-06-2021

How to Cite

เซิบรัมย์ ธ., สุวรรณจินดา ด., & วิศวธีรานนท์ ส. (2021). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับเทคนิคคำถาม R-C-A ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชุมชนไมตรีอุทิศ จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 13(1), 82–97. https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i1.249136