การศึกษาเชิงคุณภาพเกี่ยวกับการเลือกใช้บริการการแพทย์แผนจีนโบราณ : กรณีศึกษาร้านเอี้ยะเล่งฮึ้ง อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • อิทธิพร ขำประเสริฐ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • เสาวลักษณ์ นัทธีศรี คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • ฐิติรัตน์ จันทรดารา คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i1.249245

คำสำคัญ:

การแพทย์แผนจีน, รูปแบบการให้บริการ, ปัจจัยการให้บริการ, จังหวัดราชบุรี, เอี้ยะเล่งฮึ้ง

บทคัดย่อ

                 งานวิจัยนี้ศึกษารูปแบบการให้บริการการแพทย์แผนจีนโบราณ และปัจจัยการเลือกใช้บริการการแพทย์แผนจีนโบราณร้านเอี้ยะเล่งฮึ้งเป็นกรณีศึกษา ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ให้บริการ จำนวน 2 คน และผู้ใช้บริการ จำนวน 10 คน โดยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า ร้านเอี้ยะเล่งฮึ้งมีรูปแบบการให้บริการบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วย ดูแลสุขภาพแก่ผู้มาใช้บริการ 3 รูปแบบ ได้แก่ การจัดยาสมุนไพรให้ผู้ใช้บริการไปรับประทาน การแนะนำให้ดูแลสุขภาพด้วยตนเองโดยไม่ต้องรับประทานสมุนไพรของร้าน และการบำบัดรักษาด้วยการผสมผสานการแพทย์แผนจีนกับการแพทย์แผนอื่น ปัจจัยที่ทำให้ผู้ใช้บริการมาเลือกใช้บริการร้านเอี้ยะเล่งฮึ้ง คือเกิดจากการดำเนินงานที่สามารถทำให้ผู้ใช้บริการสัมผัสกับระบบการให้บริการตามแนวคิดการประเมินคุณภาพการบริการ (SERVQUAL) ประกอบด้วย ความเป็นรูปธรรมของการบริการ ความเชื่อถือได้ การตอบสนองผู้ใช้บริการ การให้ความเชื่อมั่นต่อผู้ใช้บริการ และการรู้จักและเข้าใจผู้ใช้บริการ ข้อค้นพบจากการวิจัยครั้งนี้ บ่งชี้ว่า รูปแบบการให้บริการแพทย์แผนจีนและปัจจัยการเลือกใช้บริการมีลักษณะเฉพาะสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนสามารถจึงสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการวิจัยใช้เป็นแนวทางจัดทำนโยบายและคลังความรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดูแลสุขภาพของประชาชนได้อีกทางเลือกหนึ่ง

References

Arun Taengnoi. (2016). The perception of service quality at Hua Chiew Thai–Chinese traditional Thai medicine (Master’s thesis). Rajamangala University of Technology Phra Nakon. Bangkok.

Chalorat Sirikhetkon. (2019). Knowledge, attitude, perception and behavior toward Thai traditional and alternative medicine services in Uthaithani Province. Journal of Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute, 13(2), 111-122.

Chawarit Suntikitrungruang. (2006). Traditional Chinese in Thailand: Part present future. Journal of Thai Traditional and Alternative Medicine, 4(2), 99-121.

Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital Mahidol University. (2020). Complementary and Alternative Medicine. Retrieved December 24, 2020, from https://med.mahidol.ac.th/altern_med/th/ocam.

Namfon Siriwansaan and Aekporn Rakkwaansuk. (2017). System of Pubic health services by using the thai herbs at Chao Phrsya Abhaibhubate hospital. Journal of MCU Social Science Review, 6(2), 925-936.

Napha Sombutwanitkul and Taninrat Ratpongpinyoh. (2016). Behavior decision making of Chinese herb product of Bangkok Metropolitan area (Master’s thesis). Research and Development Institute, Phuket Rajabhat University. Phuket.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. (1988). SERVQUAL: A multiple-item scale for measuring consumer perceptions of service quality. Journal of Retailing, 64(1), 12-40.

Pathita Jaruwanchai and Krit Jarinto. (2015). Quality Components that Contribute to the Performance Excellence of Alternative Medicine Organization’s Success. Panyapiwat Journal, 8(3), 54-64.

Ritjet Rinkaewkan. (2019). Marketing mix (7Ps) and service factors affecting to the satisfaction of patients of Huachiew traditional Chinese medicine clinic in Bangkok. Journal of Business Administration and Social Sciences, Ramkhamhaeng University, 2(1), 92-106.

Wirinya Mueangchang. (2016). Factors related to self treatment with herbal remedies of people in Mea Chai District, Phayao Province (Master’s thesis). Thammasart University. Bangkok.

Yupawadee Boonchit and Tasanee Hazanai. (2006). The Study of the Status of Chinese Medicine Service in Current Hospitals. Journal of Thai Traditional and Alternative Medicine, 4(2), 57-75.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-06-2021

How to Cite

ขำประเสริฐ อ., นัทธีศรี เ. ., & จันทรดารา ฐ. . (2021). การศึกษาเชิงคุณภาพเกี่ยวกับการเลือกใช้บริการการแพทย์แผนจีนโบราณ : กรณีศึกษาร้านเอี้ยะเล่งฮึ้ง อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 13(1), 233–245. https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i1.249245