การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกและพัฒนาบูธจัดแสดงสินค้าของชนเผ่ากะเหรี่ยง ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ดุสิต ทองเปรมจิตต์ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i1.249784

คำสำคัญ:

ชนเผ่ากะเหรี่ยง, การออกแบบผลิตภัณฑ์, บูธจัดแสดงสินค้า, ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก

บทคัดย่อ

              ชาวกะเหรี่ยงปกาเกอะญอเป็นชนเผ่าที่มีความโดดเด่นทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา มีความเป็นมายาวนาน และได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว โดยในประเทศไทยมีชาวกะเหรี่ยงปกาเกอะญอ หลายกลุ่มที่มีอัตลักษณ์แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาอัตลักษณ์ของชนเผ่ากะเหรี่ยงปกาเกอะญอที่ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และออกแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ และบูธจัดแสดงสินค้าของที่ระลึกโดยใช้อัตลักษณ์ท้องถิ่นของชนเผ่ากะเหรี่ยง ศึกษาอัตลักษณ์โดยการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ก่อนออกแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการออกแบบโดยใช้การตอบแบบสอบถามของผู้บริโภคจำนวน 134 คน ผลการวิจัยพบว่า อัตลักษณ์ที่โดดเด่นของชาวกะเหรี่ยงปกาเกอะญอ คือ ลวดลายผ้าทอและการปักลูกเดือย เมื่อนำอัตลักษณ์ดังกล่าวมาออกแบบผลิตภัณฑ์ พบว่า รูปแบบที่ 7 ได้คะแนนความพึงพอใจสูงสุด เนื่องจากการจัดวางลวดลายบนพื้นที่ใช้สีตัดกัน ช่วยขับให้ลวดลายที่วางไว้ดูโดดเด่น สะดุดตา สำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ พบว่า บรรจุภัณฑ์รูปแบบที่ 2 ได้รับคะแนนเฉลี่ยทุกด้านโดยรวมสูงสุด โดยได้คะแนนประเมินสูงเรื่องการสื่อสารกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ และการสื่อสารอัตลักษณ์ของชนเผ่า สำหรับความพึงพอใจที่มีต่อการออกแบบบูธจัดแสดงสินค้า พบว่า การออกแบบบูธรูปแบบที่ 1 ได้รับคะแนนเฉลี่ยทุกด้านโดยรวมสูงสุด โดยได้รับคะแนนสูงเรื่องการแสดงอัตลักษณ์ของชนเผ่า ความคิดสร้างสรรค์ และรูปแบบการจัดและนำเสนอผลิตภัณฑ์ การนำเอาอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของลวดลายผ้าและงานปักของชาวกะเหรี่ยงมาใช้ในการสร้างสรรค์งานออกแบบ ช่วยเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ทางวัฒนธรรมได้

References

Department of Social Development and Welfare, Ministry of Social Development and Human Security. (2012). Karen. Bangkok: Printing Business Office.

Kanakarn Ruxpaitoon, Kasem Thiptarajan, and Thitiporn Lertrusdachakul. (2020). Application and analysis of color information using tourist attraction image processing for souvenir packaging design. Journal of Information Science and Technology, 10(1), 48-58.

Kasira Phiwongkun, Bunchchoo Bunlikhitsir and Poradee Panthupkorn. (2019). A study on ethnic tribal patterns in Karen Ruam Mitr souvenir designs. MangraiSaan Journal, 7(2), 123-140.

Mayuree Paklamjeak. (2015). Good knowledge of packaging. Bangkok: Jindasarn.

Nongnooch Natheepayapthis. (2014). The unique identities of Pga K’nyau hand woven textiles. Journal of Community Development and Life Quality, 2(1), 113-121.

Singha Prarom and Nirat Soodsang. (2012). Souvenir’s design identities by Tai Lue costume: The Tai Lue community. Ban nongbua, Amphur Thawangpha, Nan Province. Art and Architecture Journal Naresuan University, 2(2), 25–34.

Surapong Prasertsak. (2009). Packaging elements that effect price value (Master’s thesis). Silpakorn University. Bangkok.

Viboon Leesuwan. (1996). Folk arts and crafts. Bangkok: Compact Print.

Watchara Karoon. (2016). Pgazk’nyau ‘s Life Learning Center, Chiangmai (Bachelor thesis). Sripatum University. Bangkok.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-06-2021

How to Cite

ทองเปรมจิตต์ ด. (2021). การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกและพัฒนาบูธจัดแสดงสินค้าของชนเผ่ากะเหรี่ยง ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 13(1), 214–232. https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i1.249784