ศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางส่งเสริมการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ในเชิงวิทยาศาสตร์ ของผลิตภัณฑ์อาหารชุมชนในเขตภาคกลางตอนบน

ผู้แต่ง

  • ดาวรถา วีระพันธ์ สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ศศมล ผาสุข สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • ปัณณ์รภัส ถกลภักดี สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • ธิดารัตน์ กุลณัฐรวงศ์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i1.250276

คำสำคัญ:

สภาพปัญหา, ภูมิปัญญาท้องถิ่นเชิงวิทยาศาสตร์, การถ่ายทอดภูมิปัญญา

บทคัดย่อ

               วิจัยนี้ศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางส่งเสริมการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในเชิงวิทยาศาสตร์ของผลิตภัณฑ์อาหารชุมชนในเขตภาคกลางตอนบน ผู้รู้ประกอบด้วย 1) กลุ่มแม่บ้านพัฒนาบ้านแม่ลา จังหวัดสิงห์บุรี 2) กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านท่าข้าวโพด  จังหวัดชัยนาท 3) กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรหมู่ 2 จังหวัดลพบุรี 4) กลุ่มปลาร้าบ้านลำ จังหวัดสระบุรี 5) กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านรีพัฒนา จังหวัดอ่างทอง 6) กลุ่มชุมชนแปรรูปพัฒนารวมใจ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน  60 คน ลงพื้นที่เก็บรวมรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาโดยนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา สรุปผลการศึกษาดังนี้ สภาพปัญหาการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในเชิงวิทยาศาสตร์ของผลิตภัณฑ์อาหารชุมชน ไม่มีการรวบรวมเผยแพร่อย่างเป็นระบบ ถ่ายทอดโดยการบอกเล่าในครัวเรือน ผู้ถ่ายทอดไม่ทราบถึงหลักการและทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ของการถนอมอาหารแต่มีการสืบทอดบอกเล่าปฏิบัติต่อ ๆ กันมาอย่างต่อเนื่อง จากประสบการณ์โดยตรง เยาวชนในชุมชนสนใจลดน้อยลงที่จะรับการถ่ายทอดเนื่องจากเข้ามาทำงานประจำในเมือง แนวทางส่งเสริมการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ควรมีการเผยแพร่และและปรับเปลี่ยนวิธีการถ่ายทอดให้เป็นระบบที่ทันสมัยสามารถเข้าถึงข้อมูลและเรียนรู้ได้ตลอดเวลา เสนอแนวทางดังนี้ ถ่ายทอดโดยใช้รูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ผสมผสานกันสอดแทรกอธิบายหลักการความรู้เชิงวิทยาศาสตร์เข้าไปผสมผสานกับภูมิปัญญา เรียนรู้ด้วยวิธีการลงมือปฏิบัติโดยการสาธิตกระบวนการผลิตและสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดเป็นตัวกลางเชื่อมโยงเข้าสู่เว็บแอปพลิเคชันและผ่านเทคโนโลยีเสมือนจริงจากสติ๊กเกอร์ตราผลิตภัณฑ์ นำเสนอข้อมูลในรูปแบบวีดีโอและสื่อมัลติมีเดียแสดงผลในรูปแบบภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

References

Announcement of the provincial administration policy committee and the integrated provincial cluster. (2017). Royal Thai Government Gazette. (Vol. 134, Spec.Pt. 281, Gnor 14-16).

Eakachai Pumduang (2008). Environmental education based indigenous knowledge management for community learning. Journal of Social Work, 16(2), 94-104.

Johnson, A. P. (2008). A short guide to action research. (3rd ed.). Boston, MA: Pearson/ Allyn and Bacon.

Mungmachon, R. (2012). Knowledge and local wisdom: Community treasure. International Journal of Humanities and Social Science, 2(13), 174-181.

Narong Phoprueksanan. (2014). Research Methodology. (9th ed.). Bangkok: Expernet.

Prasart Nuangchalerm. (2003). Science education and local wisdom. Academic Service Center Khon Kaen University Journal, 11(1), 65-68.

Ratchadaporn Ketanon Neawheangtham. (2017). The guideline of the local wisdom product development for promote creative economy in Nakhon Pathom Province. Veridian E-Journal Silpakorn University, 10(1), 994-1013.

Scholz, J., & Duffy, K. (2018). We ARe at home: How augmented reality reshapes mobile marketing and consumer-brand relationships. Journal of Retailing and Consumer Services, 44, 11-23.

Somchay Worakitkasemsakul. (2011). Research methods in behavioral and social science. UdonThani: UdonThani Rajabhat University.

Supparerkchaisakul, N., Mohan, K. P., & Fansler, K. (2017). Developing a Scale for University Citizenship Behavior: Thai and US Academic Contexts. International Journal of Behavioral Science, 12(2), 71-89.

Sutheebanjard, P., & Premchaiswadi, W. (2010, November). QR-code generator. In 2010 Eighth International Conference on ICT and Knowledge Engineering (pp. 89-92). Bangkok: IEEE.

Sukanya Maicaurkaew, Prawta Chantaro, Supaporn Apirattananusorn, and Pramonrat Sutum. (2017). Local food culture and its connection with area of Suratthani Province. Area Based Development Research Journal, 9(4), 274-296.

Suchada Namjaidee(2018). Characteristics of personal media For transferring the local intelligence knowledge. NRRU Community Research Journal, 12(3), 1-13.

Suparuch Interatep, Suwaree Sripuna and Pomhom Cherdgotha. (2017). State of problems and development of local herbs consumptionwisdom transfer for green livingin the community, Srakaew Province. Journal of Humanities and Social Sciences Valaya Alongkorn, 12(2), 275-285.

Tinnaluck, Y. (2004). Modern science and native knowledge: collaborative process that opens new perspective for PCST. Quark, 32, 70-74.

Thawan Masjarat. (2003). Knowledge of Thai Wisdom. Bangkok: Thai Watana Panich.

Virapong Saeng-Xuto. (2016). Philosophy of science in local wisdom. Chiang Mai: Piromkit.

Wattanuruk, D., Phasuk, S., Nilsang, P., & Takolpuckdee, P. (2020). Cytotoxicity activity of crude extracts of Leum Phua Khaow-Mak (Oryza Sativa L. variety Leum Phua) against fibroblast cell. Journal of Food Health and Bioenvironmental Science, 13(2), 28-35.

Yaowapa Nuntaphum, Yuttana Chaijalearn, and Anoda Ratchawet. (2020). The learning integrated to local wisdom based on science, technology, society and environment approach for the development of science conception for grade 6 students. CMU Journal of Education, 4(3), 15-28.

Zikmund, W., Babin, B., Carr, J. & Griffin, M. (2013). Business Research Methods. (9th ed). Mason, OH: South-Western.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-06-2021

How to Cite

วีระพันธ์ ด., ผาสุข ศ. ., ถกลภักดี ป. ., & กุลณัฐรวงศ์ ธ. . (2021). ศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางส่งเสริมการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ในเชิงวิทยาศาสตร์ ของผลิตภัณฑ์อาหารชุมชนในเขตภาคกลางตอนบน. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 13(1), 156–168. https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i1.250276