การออกแบบผลิตภัณฑ์ชุดมีดประดับ ด้วยอัตลักษณ์ปราสาทหินพนมวัน สำหรับกลุ่มตีมีดบ้านโพธิ์ อ.เมือง จ.นครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • กิตติศักดิ์ ธรรมศักดิ์ชัย คณะศิลปกรรมและออกแบบอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i1.250538

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์ชุดมีดประดับ, บรรจุภัณฑ์ชุดมีดประดับ, อัตลักษณ์ปราสาทหินพนมวัน

บทคัดย่อ

               การวิจัยเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุดมีดประดับ ด้วยอัตลักษณ์ปราสาทหินพนมวัน สำหรับกลุ่มตีมีดบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ผลการประเมินความพึงพอใจผลิตภัณฑ์ชุดมีดประดับที่ใช้อัตลักษณ์ปราสาทหินพนมวันมาออกแบบ สำหรับกลุ่มตีมีดบ้านโพธิ์ อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.06 และมีความพึงพอใจบรรจุภัณฑ์ชุดมีดประดับที่ใช้อัตลักษณ์ปราสาทหินพนมวันมาออกแบบ อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.04 และผลจากการเปรียบเทียบความต้องการผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ชุดมีดประดับแบบเดิม และ ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ชุดมีดประดับที่ใช้อัตลักษณ์ปราสาทหินพนมวันมากออกแบบ สำหรับกลุ่มตีมีดบ้านโพธิ์ พบว่ามีผู้ที่สนใจและมีความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ชุดมีดประดับด้วยอัตลักษณ์ปราสาทหินพนมวัน ที่ได้รับการออกแบบขึ้นมาใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 65 คน โดยคิดเป็นร้อยละ 98.5 ซึ่งเหตุผลในการเลือกซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ชุดมีดประดับ จากผู้ตอบแบบสอบถามมากที่สุดคือ ผลิตภัณฑ์มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 42.4 รองลงมาคือด้านประโยชน์การใช้สอยของผลิตภัณฑ์ จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 31.8 รองลงมา คือด้านความสวยงาม จำนวน12 คน คิดเป็นร้อยละ 18.2 และด้านต้นทุนต่ำแต่มีคุณภาพสูง จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 7.6 ตามลำดับ จากผลการประเมินความพึงใจจากกลุ่มผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์จำนวน 66 คน  

            ผลที่เกิดจากการดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ ทางสมาชิกกลุ่มตีมีดบ้านโพธิ์ มีความพึงพอใจเป็นอย่างมากซึ่งผลที่เกิดกับชุมชนนั้นก็คือ ชุมชนสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาต่อยอดเพื่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนได้มากยิ่งขึ้นและเพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชุมชนให้คงอยู่คู่กับชุมชนและสังคมได้ต่อไป

References

Krissada Dupandung. (2018). Packaging design and branding for baan dong yen bamboo products. Research and Development Journal Suan Sunandha Rajabhat University, 10(1), 127-140.

Krissada Dupandung. (2019). NakornBuriRin: The community product of enrichment in the southern Issan civilization habitat (Master’s thesis). Rajamangala University of Technology. Isan.,174-178.

Office of the National Economic and Social Development Board. (2018). National Strategy 2018 – 2037. [25 February 2020] from [https://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_PlanOct2018.pdf]

Suwapat Srijongsang. (2018). The development of tourism souvenir for community based tourism in Bakchum Village, Nonkor Subdistrict, Sirintorn District, Ubon Ratchathani Province. Humanity and Social Science Journal, Ubon Ratchthani University, 9(2), 20-47.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-06-2021

How to Cite

ธรรมศักดิ์ชัย ก. . (2021). การออกแบบผลิตภัณฑ์ชุดมีดประดับ ด้วยอัตลักษณ์ปราสาทหินพนมวัน สำหรับกลุ่มตีมีดบ้านโพธิ์ อ.เมือง จ.นครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 13(1), 199–213. https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i1.250538