การศึกษาและพัฒนารูปแบบงานจักสานไม้ไผ่ลวดลายดั้งเดิม เพื่อประยุกต์ใช้ในการออกแบบตกแต่งกรณีศึกษา ชมรมผู้สูงอายุ บ้านกิ่วแลป่าเป้า อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • วาสนา สายมา คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i2.251021

คำสำคัญ:

งานจักสานไม้ไผ่, ลวดลายดั้งเดิม, ชมรมผู้สูงอายุ, แม่วาง, เชียงใหม่

บทคัดย่อ

งานจักสานเป็นงานหัตถกรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นสามารถพบได้ทุกจังหวัดในประเทศไทย รวมถึงภาคเหนือบ้านกิ่วแลป่าเป้า ต.บ้านกาด อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ เป็นชุมชนที่ผู้สูงอายุรวมกลุ่มกันเผยแพร่ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมการจักสานให้กับลูกหลานในชุมชน โดยตั้งกลุ่มอุ้ยสอนหลานสอนการจักสานเครื่องใช้ต่าง ๆ แต่ทั้งนี้ก็ยังพบปัญหาคือ ลวดลายดั้งเดิม ความเป็นเอกลักษณ์ของงานจักสานที่บ่งบอกถึงชุมชน ยังไม่มีความแตกต่างจากที่อื่น ตลอดจนไม่ตอบโจทย์ความต้องการทางการตลาด ในปัจจุบันจึงเกิดเป็นวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบงานจักสานไม้ไผ่ลวดลายดั้งเดิม เพื่อประยุกต์ใช้รูปแบบงานจักสานไม้ไผ่ลวดลายดั้งเดิมในการออกแบบตกแต่ง และเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของผู้สูงอายุในทางสร้างสรรค์ให้เข้ากับสังคมสูงวัยและสังคม ในศตวรรษที่ 21 ดำเนินการวิจัยโดยศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและลงพื้นที่สัมภาษณ์ชมรมผู้สูงอายุ กลุ่มอุ้ยสอนหลานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และลวดลายดั้งเดิม จากนั้นผู้วิจัยทำการออกแบบและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จักสานลวดลายดั้งเดิมเพื่อประยุกต์ตกแต่งเป็นเครื่องแขวนสมัยใหม่ และผลิตต้นแบบเครื่องแขวน และนำไปเผยแพร่องค์ความรู้ให้แก่กลุ่มชมรมผู้สูงอายุ กลุ่มอุ้ยสอนหลาน จากนั้นสรุปผลและอภิปรายผลการวิจัย พบว่า จากการลงพื้นที่กลุ่มชมรมผู้สูงอายุมีการจักสานลวดลายดั้งเดิมทั้งหมด 10 รูปแบบ ผู้วิจัยเลือกลวดลายดอกฝิ่นและดอกบานชื่น ซึ่งเป็นลวดลายดั้งเดิมมาออกแบบและพัฒนาเป็นเครื่องแขวนสมัยใหม่ เนื่องจากลวดลายดอกฝิ่นมีกลีบดอก 4 กลีบ ปลายมนแผ่ออกหรือยักเป็นฝอยผสมผสานลายดอกบัวตูม ดอกพิกุล ดอกคำหลวง ดอกจิก ดอกปิ่นนพเก้า และกรงนก และลวดลายดอกบานชื่นช่อกระจุกทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน ดอกมีรูปทรงเรียงกลีบดอกหลายแบบผสมผสานลวดลายเกลียว ไอรเรศ รวงข้าว ดอกสาน เพื่อให้เกิดความสวยงาม แปลกตา และสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดกลุ่มผู้บริโภคสมัยใหม่และขยายการตลาดได้

References

Atsawangkun, C. (2005). Okbaep Hai Don Chai: Khumue Kan Okbaep Banchu Phan Samrap Phuprakopkan Lae Nak Okbaep. Chiang Mai: Within Books. (in Thai)

Department of Curriculum and Instruction Development. (2001). Creativity. Bangkok: Ministry of Education. (in Thai)

Lisuwan, W. (1984a). Basketry in Thailand. Bangkok: Odeon Store. (in Thai)

Lisuwan, W. (1984b). Thai arts and crafts. Bangkok: Panaya Press. (in Thai)

Phengchan, S. (2003). Wickers of the north. Bangkok: Silkworm Books. (in Thai)

Pimpa, N. (2006). Real design marketing. Bangkok: Print-At-Me. (in Thai)

Ritthichot, S. (1992). Bamboo wicker. Bangkok: Panaya Press. (in Thai)

Soonthornseri, K. (2001). Magic bamboo. Bangkok: Thai Watana Panich Press. (in Thai)

Wiriyapanon, W. (1984). Wickers. Bangkok: Praepittaya. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-12-2021

How to Cite

สายมา ว. . (2021). การศึกษาและพัฒนารูปแบบงานจักสานไม้ไผ่ลวดลายดั้งเดิม เพื่อประยุกต์ใช้ในการออกแบบตกแต่งกรณีศึกษา ชมรมผู้สูงอายุ บ้านกิ่วแลป่าเป้า อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 13(2), 119–133. https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i2.251021