การจัดการการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของเทศบาลเมืองสตูล
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i2.251067คำสำคัญ:
การจัดการการสื่อสาร, การส่งเสริมการท่องเที่ยว, เทศบาลเมืองสตูลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ศึกษาการวางแผนการจัดการการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวพร้อมกับการดำเนินการการจัดการการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและค้นหาแนวทางพัฒนาการจัดการการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของเทศบาลเมืองสตูล กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก จำนวน 50 คน เลือกแบบเจาะจง ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้บริหารเทศบาลเมืองสตูล ผู้ให้นโยบายด้านงานประชาสัมพันธ์ 8 คน กลุ่มที่ 2 ผู้ดูแลบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว 7 คน และกลุ่มที่ 3 นักท่องเที่ยว 35 คน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ด้วยแบบสัมภาษณ์ พบว่า การวางแผนการการจัดการการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของเทศบาลเมืองสตูล มีประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อสังคมออนไลน์ 7 ด้าน ได้แก่ (1) การประชาสัมพันธ์เชิงรุก (2) การประชาสัมพันธ์ที่ตรงกับความต้องการประชาชน (3) การประชาสัมพันธ์แบบต่อเนื่อง (4) การประชาสัมพันธ์ที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ (5) การประชาสัมพันธ์ที่เลือกใช้สื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ เฟซบุ๊ค ไลน์ อินสตาแกรม (6) การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและสร้างสรรค์ (7) การประชาสัมพันธ์อย่างประหยัดและคุ้มค่า สำหรับการดำเนินการการจัดการการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของเทศบาลเมืองสตูล มี 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย (1) การศึกษาสภาพปัญหา (2) วางแผนการประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อสังคมออนไลน์ (3) การออกแบบเนื้อหามีความชัดเจน กระชับ ได้ใจความ และเข้าใจง่าย ภาพประกอบต้องสัมพันธ์ กับเนื้อหาที่นำเสนอ และเลือกรูปแบบการนำเสนอ ได้แก่ ข้อความ คลิปสั้น ไวรัลคลิป อินโฟกราฟิก และ (4) การประเมินผลเพื่อนำมาแก้ไขปรับปรุงการท่องเที่ยวต่อไป ขณะที่แนวทางการพัฒนาการจัดการการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของเทศบาลเมืองสตูล มีดังนี้ ด้านผู้ส่งสาร มีการพัฒนาศักยภาพบุคคลากรเพื่อประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อออนไลน์ โดยผู้ส่งสารจะต้องมีทักษะ ความสามารถในการใช้สื่อใหม่ ด้านสาร มุ่งเน้นเนื้อหา ภาษา หรือรูปแบบในรูปแบบภาพอินโฟกราฟิก กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ นโยบาย โครงการ แผนการดำเนินงานของเทศบาล ที่ได้ทำมาแล้วและกำลังดำเนินการ โดยใช้สื่อเฟซบุ๊กและไลน์ กลยุทธ์ผู้รับสาร มีการสร้างความรู้ ความเข้าใจ การสร้างเครือข่ายผู้สนับสนุน และกลยุทธ์การจัดการประชาสัมพันธ์มีการร่วมมือจากทุกภาคส่วน ได้แก่ ผู้นำชุมชน อาสาพัฒนา อสม. ร่วมประสานภารกิจ
References
Choibamroong, T. (2010). Agricultural tourism suratthani research of agricultural resource base towards sustainable Tourism. Bangkok: Research Fund Office. (in Thai)
National Tourism Policy Committee. (2016). National tourism development plan (No. 2). Bangkok: Author. (in Thai)
Sananmuang, S. (1998). Local communities and their participation in tourism development. Tourism Brochure, 17(2), 25-33. (in Thai)
Sothanasathien, S., & Saichua, S. (2006). Communication for management in business organizations. Bangkok: Prasit Stationery and Printing Press. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว