การดำรงชีพของครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยางภายใต้ระบบการผลิตยางพาราและไม้ผลในชุมชนทุ่งน้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i2.251183คำสำคัญ:
การดำรงชีพ, ครัวเรือนเกษตรกร, พืชร่วมยาง, ไม้ผล, ยางพาราบทคัดย่อ
ครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยางยังคงเผชิญความท้าทายและปัญหาต่าง ๆ มากมายในการดำรงชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคายางพาราที่ไม่แน่นอน ส่งผลให้ครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยางต้องปรับตัว และมีกลยุทธ์ในการดำรงชีพที่เหมาะสม งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำรงชีพของครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยางภายใต้ระบบการผลิตยางพาราและไม้ผลในชุมชนทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล รวบรวมข้อมูลปฐมภูมิด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสนทนาตามธรรมชาติกับเกษตรกรชาวสวนยางจำนวน 256 ราย ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหาที่ปรากฏ ผลการวิจัยพบว่า ภาวะที่ส่งผลกระทบในทันทีและอย่างรุนแรง ได้แก่ การระบาดของแมลงศัตรูพืช ภัยธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยางในระดับปานกลาง แนวโน้มราคาผลผลิตและปัจจัยการผลิตส่งผลกระทบมากที่สุดต่อครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยาง ทุนมนุษย์ ทุนกายภาพ ทุนธรรมชาติ ทุนการเงิน และทุนสังคมมีความสำคัญต่อการดำรงชีพของครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยาง ครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยางได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในระดับมาก กลยุทธ์ในการดำรงชีพที่สำคัญของครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยางคือ การจัดการทางการเงิน และการปรับตัวด้านสังคม ครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยางมีผลลัพธ์ในการดำรงชีพด้านความสัมพันธ์ทางสังคมสูงที่สุด ผลการวิจัยที่ได้จะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อผู้กำหนดนโยบายของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องสำหรับกำหนดนโยบายที่เหมาะสม เช่น เพิ่มความหลากหลายของชนิดไม้ผล ให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกไม้ผลที่เหมาะสม
References
Charernjiratragul, S., Satsue, P., & Romyen, A. (2015). Practical knowledge and lessons learned from driving the policy on expanding the area for the rubber-based intercropping systems. Journal of Social Development, 17(2), 35–50. (in Thai)
Department for International Development. (1999). Sustainable livelihoods guidance sheets. London: Author. (in Thai)
Intraskul, S., Somboonsuke, B., Thongtrai, N., & Phitthayaphinant, P. (2018). Cost of para-rubber production and selling problems of para-rubber farmers in Thailand. Kasetsart Journal of Social Sciences, 39(3), 817–828. (in Thai)
Longpichai, O., & Kongmanee, C. (2019). Rubber farmers’ risk perception in Southern Thailand. Parichart Journal, 32(2), 134–146. (in Thai)
Masae, A. (2015). Enhancing sustainable rural livelihood through community-based development. Journal of Social Development, 17(1), 89–110. (in Thai)
Ministry of Agriculture and Cooperatives. (2016). The agricultural development plan under the twelfth national economic and social development plan (2017–2021). Bangkok: Ministry of Agriculture and Cooperatives. (in Thai)
Promphakping, N., Promphakping, B., Phongsiri, M., Somaboot, P., & Weeranakin., P. (2019). Natural resources and the livelihoods of small agricultural households in rural Isan. STOU Journal, 32(2), 123–144. (in Thai)
Ratikhunuphakorn, R. (2019). The role of the rubber authority of Thailand for system development. Humanities and Social Sciences Journal, Ubon Ratchathani Rajabhat University, 10(2), 259–269. (in Thai)
Saengloetuthai, J. (2017). Quality of research instrument. Journal of Research and Curriculum Development, 7(1), 1–15. (in Thai)
Samukkethum, S., Samukkethum, S., & Chaiphanphong, S. (2018). Common-pool resource management: Theoretical approach and application. Romphruek Journal, Krirk University, 36(2), 10–31. (in Thai)
Siripongtugsin, N. (2019). Impacts of the government para-rubber policies on para-rubber plantations in Thailand. Research and Development Journal Suan Sunandha Rajabhat University, 11(2), 129–140. (in Thai)
Somboonsuke, B., Dhammasaccakarn, W., Cherdchom, P., Longpichai, O., & Phitthayaphinant, P. (2015). Potential, capacity and development of hired labor in smallholding rubber production system: Lesson learned from traditional rubber area, Songkhla Province. Kasetsart Journal of Social Sciences, 36(1), 74–87. (in Thai)
Somboonsuke, B., Kongmanee, C., Thongtrai, N., & Phitthayaphinant, P. (2018). Potential of para-rubber production in Thailand: Production technology management, problems and suggestions for yield improvement. Kasetsart Journal of Social Sciences, 39(1), 645–659. (in Thai)
Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis (2nd ed.). Tokyo: John Weatherhill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว