กลยุทธ์การตลาดที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ปลาร้าผง
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i2.252262คำสำคัญ:
ส่วนประสมทางการตลาด, ความตั้งใจซื้อ, ปลาร้าผงบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาทัศนคติด้านส่วนประสมทางการตลาด เปรียบเทียบระหว่างแบบเดิมและแบบปรับปรุงใหม่และวิเคราะห์ทัศนคติด้านส่วนประสมทางการตลาดและความตั้งใจซื้อจำแนกตามลักษณะประชากรและสังคม นอกจากนี้ยังศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดและความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ปลาร้าผงเซมานัวร์ โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยเลือกเฉพาะผู้ที่นิยมซื้อหรือรับประทานปลาร้าที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และใช้แบบสอบถามออนไลน์ (Google Form) เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 383 คน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ Paired Samples t-test, Independent Samples t-test, One Way ANOVA และPearson Correlation ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง เป็น Gen Y (อายุ 19-38 ปี) ส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด มีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า มีรายได้ครอบครัว/เดือน ประมาณ 18,001 – 50,000 บาท ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ส่วนประสมทางการตลาดแบบปรับปรุงใหม่ (บรรจุภัณฑ์ ตราสินค้า ราคา) มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าแบบเก่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เพศและรายได้ที่แตกต่างไม่ส่งผลให้มีทัศนคติและความตั้งใจซื้อที่แตกต่างกัน แต่อายุและระดับการศึกษาส่งผลให้มีทัศนคติแตกต่างกัน กล่าวคือ กลุ่ม Gen Z และ Gen Y จะมีทัศนคติในด้านราคา 35 บาท และในด้านการจัดจำหน่ายทางออนไลน์สูงกว่ากลุ่ม Gen X และ Gen B และกลุ่มที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีจะมีทัศนคติที่สูงกว่ากลุ่มที่มีการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า ในด้านราคา 35 บาท และในด้านการส่งเสริมการขาย ในส่วนของส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อ 3 อันดับแรก ได้แก่ การโฆษณาทาง Facebook การจัดจำหน่ายทางออนไลน์ และราคา 35 บาท
References
Pongsapitch, P. (2018). Export value of fermented fish. Retrieved December 17, 2020, from https://www.pptvhd36.com/news/. (in Thai)
Prasongdi, N. (2005). Papaya Salad: Consumption behavior of urban people study: The case of Trok Wang Lang community, Siriraj Subdistrict, Bangkok Noi District Bangkok. Bangkok: Silpakorn University. (in Thai)
Wanitbancha, K. (2008). Using SPSS for windows in data analysis. Bangkok Chulalongkorn University Press. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว