การจัดการความรู้กลุ่มทอผ้ายก ศูนย์ศิลปาชีพบ้านเนินธัมมัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • นิตยา สีคง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • จักรพงษ์ แพทย์หลักฟ้า คณะศิลปกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v14i1.252947

คำสำคัญ:

ผ้ายก, ผ้ายกเมืองนคร, การจัดการความรู้, นครศรีธรรมราช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการจัดการความรู้ของกลุ่มทอผ้ายก ศูนย์ศิลปาชีพบ้านเนินธัมมัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยยึดทฤษฎีกระบวนการจัดการความรู้ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ในการวิจัยใช้การเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 12 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยช่างทอผ้า ผู้ถ่ายทอดการทอผ้า และผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการความรู้ของศูนย์ศิลปาชีพบ้านเนินธัมมัง ดำเนินการวิจัยด้วยการศึกษาและเก็บข้อมูลจากเอกสาร และข้อมูลภาคสนาม โดยใช้การสัมภาษณ์ การสอบถามและการสังเกต นำมาวิเคราะห์เรียบเรียงแบบพรรณณาวิเคราะห์ กลุ่มทอผ้ายก ศูนย์ศิลปาชีพบ้านเนินธัมมัง จังหวัดนครศรีธรรมราชมีกระบวนการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับทฤษฎีกระบวนการจัดการความรู้ของกพร.ทั้ง 7 ขั้นตอน ดังนี้ 1)การบ่งชี้ความรู้ 2)การสร้างและแสวงหาความรู้ 3)การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ 4)การประมวลและกลั่นกรองความรู้ 5)การเข้าถึงความรู้ 6)การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ 7)การเรียนรู้ โดยพบว่าการร่วมกันดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนนั้นทำให้บรรลุเป้าหมายในการที่จะฟื้นฟูผ้ายกเมืองนคร การสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่สมาชิก โดยการอนุรักษ์และพัฒนาองค์ความรู้ของผ้ายกเมืองนครนั้นใช้กระบวนการจัดการความรู้ด้านการถ่ายทอดความรู้(สอน) และกระบวนการจัดการความรู้ด้านการผลิต ควบคู่กันไปทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ส่งผลให้เกิดการพัฒนางาน พัฒนาคน พัฒนาองค์กร และพัฒนาชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ

References

Austral, G. 2012. A Guide to the Katarungang Pambarangay System. (n.p.: Philippines Center for Civic Education and Democracy).

Bazemore, G, and M. (Eds.). Schiff. 2001. Restorative Community Justice: Repairing Harm and Transforming Community. Cincinnati: Anderson Publishing.

Bunnak, D. 2011. Framework and Literature Review on Thai Justice System: Direction of a Misleading Development. In J. Ur-armnuay and K. Katikarn (Eds.) Thai Criminal Justice Reform Forum . Bangkok: Law Reform Council. (in Thai).

Carrillo, L S. 2017. Enhancing Crime Prevention Through Community-Based Alternatives to Incarceration. http://www.unafei.or.jp/english/pdf/RS_No79/No79_31PA_Carrillo.pdf.

Clear, T R, and other. 2011. Community Justice. 2nd. New York: Routledge.

Duriyaprakit, K. 2011. Expectation of Community Justice Network to Operation of Community Justice Unit in Bangkok . (Master’s thesis). Thammasat University, Bangkok (in Thai).

Golub, S. 2003. Non-state Justice Systems in Bangladesh and the Philippines. http://gsdrc.org/docs/open/ds34.pdf.

Kittayarak, K. 2007. Developing Community Justice System in Thailand. In In J. Ur-armnuay and K. Kittayarak (Eds.) Community Justice: The Role on Facilitating Justice by Community for Community. Bangkok: Thailand Research Funds. (in Thai).

Ministry of Justice. 2014. Cultural Capital. http://website2556.moj.go.th/upload/mini121_other/uploadfiles/6261_9602.pdf (in Thai).

Parole and Probation Administration (PPA), Department of Justice, Republic of Philippines. 2014. Restorative Justice. http://probation.gov.ph/restorative-justice.

Rojo, S. 2002. Philippines: Is it an Effective Alternative to Improve Access to Justice for Disadvantaged People? (Doctoral dissertation). Brighton: University of Sussex.

Scott, M S. 2006. "Community Justice in Policing." Idaho Law Review 34: 1-27.

Thailand Institute of Justice. 2015. The Seminar on Promoting Community-Based Treatment in the ASEAN Region. Bangkok: Author.

The Border Consortium. 2014. Protection and Security Concerns in South East Burma/Myanmar. Bangkok: Wanida Press.

Ur-armnuay, J. 2013. Justice System and Alternative Justice in Social Science Analysis. Bangkok: Chulalongkorn University Press (in Thai).

Watanasap, W. 2010. Approach to Manage Conflict in Local Area. envi-mining.dpim.go.th/news/ac1-t1307603627.doc (in Thai).

Yangco, C C. 1999. Community-Based Treatment for Offenders in the Philippines: Old Concepts New Approaches, Best Practices United Nations Asia and Far East Institute for the Prevention of Crime and Treatment of Offenders 26-1. http://www.unafei.or.jp/english/pdf/RS_No54/No54_22VE_Yangco.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2022

How to Cite

สีคง น., & แพทย์หลักฟ้า จ. . (2022). การจัดการความรู้กลุ่มทอผ้ายก ศูนย์ศิลปาชีพบ้านเนินธัมมัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 14(1), 15–27. https://doi.org/10.53848/irdssru.v14i1.252947