สถาปัตยกรรมกับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของบุคลากร ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i2.253195คำสำคัญ:
สถาปัตยกรรม, คุณภาพชีวิต, บุคลากร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านสถาปัตยกรรมกับปัจจัยคุณภาพชีวิตของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของบุคลากร และเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเห็นต่อปัจจัยสถาปัตยกรรมกับคุณภาพชีวิต เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 377 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t - test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และสถิติ Pearson Correlation Coefficient พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม กับคุณภาพชีวิตของบุคลากร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยบุคลากรในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ตำแหน่งงานแตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตที่ไม่แตกต่างกัน ทั้งรายด้านและภาพรวม ส่วนความคิดเห็นต่อปัจจัยสถาปัตยกรรมทั้งรายด้านและภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพชีวิตทั้งรายด้านและภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
Ayuwat, D. (2005). Measuring the quality of life: A case study of people in northeast of Thailand. Journal of Demography, 21(1), 41-62. (in Thai)
Chinuntuya, P. (1993). Elderly quality of life in Din Daeng elderly social club (Master’s thesis). Mahidol University, Nakhon Pathom. (in Thai)
Hamsupho, S. (2000). Population and development of quality of life. Bangkok: O.S. Printing House. (in Thai)
Horayangkura, V. (1998). Human behavior and environment behavioral basis for design and planning. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)
Juchooy, S. (2011). Life and social skills. Nonthaburi: Ratchphruek College. (in Thai)
Kasetsart University. (2020). Kasetsart University Bangkhen registered building database in 2019. Bangkok: Kasetsart University. (in Thai)
Kunto, N. (2014). Quality of life of people in community health care area of medical development clinic (Master’s thesis). Burapha University, Chonburi. (in Thai)
Mala-E, S. (2004). Quality of work life of teachers under the office of Sa Keao educational service area 2 (Master’s thesis). Burapha University, Chonburi. (in Thai)
Patiwat, K. (2015). The space between architecture: Space between architecture and architecture. Nakorn Pathom: Silpakorn University. (in Thai)
Taweerat, P. (2000). Educational research methodology (3rd ed). Bangkok: Srinakharinwirot University. (in Thai)
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. (3rd ed). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว