การศึกษาเปรียบเทียบสัตว์เหนือธรรมชาติในไตรภูมิกถา กับเทพปกรณัมวัฒนธรรมต่าง ๆ

ผู้แต่ง

  • อาทิมา พงศ์ไพบูลย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i2.256248

คำสำคัญ:

สัตว์เหนือธรรมชาติ, ไตรภูมิกถา, เทพปกรณัม

บทคัดย่อ

ไตรภูมิกถามีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ จากภพภูมิต่าง ๆ ที่มีความหลากหลายทำให้ผู้วิจัยสนใจศึกษาเรื่องสัตว์เหนือธรรมชาติที่ปรากฏในไตรภูมิกถา เพื่อศึกษาแนวคิด ความเชื่อ ทัศนคติ และบทบาทของสัตว์เหนือธรรมชาติที่ปรากฏในวรรณกรรมสำคัญของชาติ ทั้งยังสามารถเชื่อมโยงแนวคิดเรื่องสัตว์เหนือธรรมชาติให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยการศึกษาเปรียบเทียบกับเทพปกรณัมในวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่มีการกล่าวถึงสัตว์เหนือธรรมชาติไว้อย่างหลากหลาย

           งานวิจัยนี้ศึกษาเปรียบเทียบลักษณะเด่นของสัตว์เหนือธรรมชาติในเทพปกรณัมต่าง ๆ ผู้วิจัยได้ใช้ข้อมูลจากที่มีการกล่าวถึงสัตว์เหนือธรรมชาติในเทพปกรณัมต่อไปนี้ ข้อมูลชุด A สะท้อนจากวัฒนธรรมไทย : ศึกษาสัตว์เหนือธรรมชาติที่ปรากฏใน “ไตรภูมิกถา” ซึ่งเป็นวรรณกรรมเก่าแก่ทางพระพุทธศาสนา ข้อมูลชุด B สะท้อนจากวัฒนธรรมต่างชาติ : ศึกษาสัตว์เหนือธรรมชาติที่ปรากฏในเทพปกรณัมกรีก เทพปกรณัมนอร์ส เทพปกรณัมอเมริกันอินเดียน เทพปกรณัมอียิปต์ เทพปกรณัมฮินดู เทพปกรณัมจากศาสนาคริสต์ รวม 9 วัฒนธรรม 25 สำนวน โดยมีการจำแนกข้อมูลสัตว์เหนือธรรมชาติที่ปรากฏในวัฒนธรรมต่าง ๆ เพื่อพิจารณาลักษณะเด่นของแต่ละวัฒนธรรม จากนั้นจึงนำมาเปรียบเทียบกับสัตว์เหนือธรรมชาติในไตรภูมิกถา 

          ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะพิเศษและทัศนคติที่มีต่อสัตว์เหนือธรรมชาติในไตรภูมิกถาได้มีความเหมือนคล้ายกับเทพปกรณัมฮินดูอย่างใกล้ชิด สำหรับในวัฒนธรรมอื่น ๆ สะท้อนให้เห็นลักษณะร่วมของแนวคิดการมีชีวิตที่มี “ราก” จากเทพเจ้าและ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยสัมพันธ์กับสัตว์เหนือธรรมชาติมาเป็นเวลาช้านาน

          จากการศึกษาเรื่องสัตว์เหนือธรรมชาติในไตรภูมิกถา และเทพปกรณัมวัฒนธรรมต่าง ๆ อีก 25 สำนวน ทำให้ได้เข้าใจถึงความหลากหลายและความสำคัญของสัตว์เหนือธรรมชาติที่ปรากฏอยู่ทุกวัฒนธรรม เห็นความเชื่อมโยงกันระหว่างเทพเจ้า วีรบุรุษ มนุษย์ และสัตว์ แม้จะมีความแตกต่างในรายละเอียด แต่สัตว์เหนือธรรมชาติได้มีบทบาทสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งของเทพปกรณัมทั่วโลก

References

Anantasan, S. (2015). Myths and folklore (2nd ed.). Bangkok: Ramkhamhaeng University Press. (in Thai)

Anantasan, S. (2015). Supernatural motifs in Sang Thong tale. Ramkhamhaeng University Journal: Faculty of Education (Humanities and Social Sciences), 34(2), 42–62. (in Thai)

Bellingham, D., Whittaker, C., & Grant, J. (2002). Myths and legends. London: Quantum Books.

Boonsong, B. (2009). The life and contributions of Joseph Campbell to the study of mythology (Doctoral dissertation). Naresuan University, Phitsanulok. (in Thai)

Boonsong, B. (2017). World Mythology. Phitsanulok: Faculty of Humanities, Naresuan University. (in Thai)

Boonsong, B. (2018). Serpents as a symbol representing the characteristics of the God Shiva. Silpakorn University Journal, 38(2), 1-20. (in Thai)

Campbell, J., & Moyers, B. (2008). The power of myth (B. Boonsong, Trans.) Bangkok: Amarin. (in Thai)

Davidson, H. R. E. (1982). Scandinavian mythology. London: Hamlyn.

Dr.Know. (2014). Gods and Creatures of Greek - Roman Myths. Bangkok: Gipsy. (in Thai)

Erdoes, R., & Ortiz, A. (1984). American Indian myths and legends. New York: Pantheon Books.

Fine Arts Department. (2012). Tribhumikatha The Story of the Three Planes of Existance Modernized Version,the National Team : Anthology of ASEAN Literature. (2nd ed.). Bangkok: Edison Press. (in Thai)

Hamilton, E. (2015). Mythology (N. Waewhong, Trans., 12th ed.). Bangkok: Amarin.

Krishna, N. (2010). Sacred animals of India. New Delhi: Penguin Books India.

Leeming, D. A. (1980). Mythology the voyage of the hero. New York: Oxford University Press.

Little, C. S. (2002). Mythology. London: Duncan Baird.

Parrinder, G. (1967). African mythology. London: Hamlyn.

Press, P. (1997). Great heroes of mythology. New York: MetroBooks.

Royal Institute. (2001). Dictionary of phrases in Thai literature during Sukhothai Period Tribhumikatha. Bangkok: Authors. (in Thai)

Royal Institute. (2013). Dictionary of the royal institute B.E. 2554. Bangkok: Sirivatana. (in Thai)

Sang-Eaew, T. (2012).Himmapan creatures. Bangkok: Wad Silp. (in Thai)

Snodgrass, A. (1994). The symbolism of the stupa (P. Sirikanchana, Trans.). Bangkok: Faculty of Arts, Thammasat University. (in Thai)

Sor Plai Noi. (2009). Himmapan creatures (4th ed.) Bangkok: Pimkham. (in Thai)

Sullivan, K. E. (1998). Indian: Myths & legends. London: Brockhampton Press.

Supanimit, P. (2004). Himmapan forest according to the royal Patronage. Bangkok: Amarin. (in Thai)

Supanimit, P. (2007). The mystery of Himmapan. Bangkok: Amarin. (in Thai)

Thailand Bible Society. (2006). Holy Bible Thai-English. Bangkok: Thailand Bible Society. (in Thai)

Waterfield, R., & Waterfield, K. (2011). The Greek Myths: Stories of the Greek gods and heroes vividly retold. London: Quercus.

Zimmer, H. R., & Campbell, J. (2017). Myths and symbols in Indian art and civilization. New Jersey: Princeton University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-12-2021

How to Cite

พงศ์ไพบูลย์ อ. . (2021). การศึกษาเปรียบเทียบสัตว์เหนือธรรมชาติในไตรภูมิกถา กับเทพปกรณัมวัฒนธรรมต่าง ๆ. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 13(2), 217–248. https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i2.256248