แนวทางการพัฒนาผลการประกันคุณภาพ ระดับหลักสูตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร : การประเมินความต้องการจำเป็น

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา เฉลิมเกียรติ คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อุษณี ลลิตผสาน คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์ คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การประเมินความต้องการจำเป็น, แนวทางการพัฒนา, การประกันคุณภาพการศึกษา, ระดับหลักสูตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) วิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้เกิดความต้องการจำเป็นในการพัฒนาผลการประกันคุณภาพ ระดับหลักสูตร 2) กำหนดแนวทางในการพัฒนาผลการประกันคุณภาพ ระดับหลักสูตร และ 3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำแนวทางไปใช้ในการพัฒนาผลการประกันคุณภาพ ระดับหลักสูตร กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร 20 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันคุณภาพ 6 คน รวมทั้งสิ้น 26 คน เป็นการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกกิจกรรมกระบวนการกลุ่ม แบบบันทึกการจัดลำดับความสำคัญ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนา โดยเครื่องมือมีผลการประเมินเหมาะสมมากที่สุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการพัฒนาผลการประกันคุณภาพ ระดับหลักสูตรที่มีความสำคัญที่สุด ได้แก่      การสร้างเครื่องมือในการสำรวจข้อมูลจากบัณฑิตที่เหมาะสมและมีคุณภาพ การส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันเกี่ยวกับกระบวนการ PDCA ระหว่างผู้ตรวจประเมินและผู้รับการประเมิน เพื่อลดปัญหาทัศนคติที่ต่างกัน การปรับภาระงานสอนของอาจารย์ให้เหมาะสม โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการจัดทำผลงานทางวิชาการเพื่อเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ การนำกระบวนการทวนสอบและประเมินสมรรถนะผู้เรียนสอดแทรกในรายวิชาหรือการเรียนการสอน และการสอดแทรกและเชื่อมโยงความรู้ในเนื้อหารายวิชาเข้ากับการวิจัย บริการวิชาการ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในรายวิชาที่เหมาะสม โดยจะต้องสามารถวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยแต่ละแนวทางมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากและมากที่สุด

References

Chantanee, A., & Chuenchotkitti, S. (2019). Analysis of the Performance of Curriculum Standard Criteria 2015. Journal of Management Science Review, 21(2), 221-230 .

Eaton, J. (2021). The Role of Quality Assurance and the Values of Higher Education. The Promise of Higher Education, 181-186.

Kingwongsa, S. (2016). Development of employee engagement of TMB Bank Public Company Limited in the Upper East Region with appreciative inquiry approach. Burapha University, Master of Business Administration. Chonburi: Burapha University (In Thai).

Mahanin, R. (2012). Knowledge Management for Undergraduate CurricularAdministration of College of Arts, Media and Technology Chiang Mai University. Chiang Mai: Chiang Mai University (In Thai).

Mushtagov, A. (2021). Quality Assurance in Azerbaijan Higher Education. Retrieved February 16, 2022, from researchgate: https://www.researchgate.net/publication/352841396

Ngamsutdi, P., & Chansirisira, P. (2018). Development Management System for the Internal Educational Quality Assurance Program for Public Universities. UMT-Poly Journal, 199-213 (In Thai).

Office of the Higher Education Commission. (2015). Manual for Internal Educational Quality Assurance Higher Education 2014 (4th ed.). Bangkok: Parbpim (In Thai).

Phumphongkhochasorn, P., Nampaponangkul, P., Chotientip, T., & Maneephruek, W. (2021). Development of Factors Affecting the Implementation of Internal Educational Quality Assurance at the Curriculum Level in Educational Administration Innovation Program College of Innovation Management Rajamangala University of Technology Rattanakosin. Journal of Roi Kaensarn Academi, 1-13 (In Thai).

Ratanavaraha, K. (2013). Development Guidelines of Internal Quality Assurance in Kasetsart University. Suthiparithat Journal, 28(85), 233-247 (In Thai).

Santiwilailuk, H. (2021). Analysis Quality Assurance for Education of the Faculty of Management Science Pibulsongkram Rajabhat University. Journal of Management Science Pibulsongkram Rajabhat University, 57-73 (In Thai).

Sriananta, W., Naiyapatana, O., & Tungprapa, T. (2020). A Study of Operating Conditions and Problems in Component 5, Curriculum of Instruction Student Assessment According to the Internal Educational Quality Assurance System at the Curriculum Level Khon Kaen University. NRRU Community Research Journal, 169-181 (In Thai).

Suwancharoen, S., Kerdmuang, S., Suteeprasert, T., Chansaeng, S., & Komolmalai, W. (2018). The Progress of Internal Curriculum Quality Assurance of Sirindhorn College of Public Health. Suphanburi. Chandrakasem Rajabhat University Journal of Graduate School, 25-36 (In Thai).

Unaromlert, T., Onsampant, S., Polpanthin, Y., & Supannopaph, P. (2013). The Development of the Education Quality Assurance Administration System of the Faculty of Education, Silpakorn University. Journal of Education, Silpakorn University, 174-197 (In Thai).

Wongpirom, S. (2014). The Capacity Enhancement of Internal Quality Assurance in Supporting the Development of Organization Excellence of the College of Sports Sciences and Technology of Mahidol University. Mahidol University (In Thai). doi:10.14457/MU.the.2014.130

Wongwanich, S. (2019). Needs assessment research (3th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Printing House (In Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-06-2023