การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพวไลยอลงกรณ์สำหรับการศึกษายุค 4.0 โดยใช้โครงการเป็นฐานเพื่อส่งเสริมผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (มคอ.)

ผู้แต่ง

  • ดาวรถา วีระพันธ์ หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • วิศรุต ขวัญคุ้ม หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • ณัฐรดี อนุพงค์ หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

การเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพวไลยอลงกรณ์, โครงการเป็นฐาน, ผลการเรียนรู้, กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (มคอ.)

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ 2) เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพวไลยอลงกรณ์สำหรับการศึกษายุค 4.0 โดยใช้โครงการเป็นฐานเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้เรียนระดับ
ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่มโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่มจากรายวิชาการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล (VGE118)  จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แบบประเมินผลการเรียนรู้ และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ ได้แก่  ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และสถิติทดสอบค่าที

     ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพวไลยอลงกรณ์สำหรับการศึกษายุค 4.0 โดยใช้โครงการเป็นฐานแบ่งกิจกรรมการเรียนรู้เป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1.ระยะก่อนพัฒนาผลงาน 2. ระยะพัฒนาผลงาน 3. ระยะหลังการพัฒนาผลงาน 2) ผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (มคอ.) รายวิชาการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล (รหัสวิชา VGE118)  คะแนนเฉลี่ยโดยรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 88.88 และ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เฉลี่ยร้อยละ 78.17 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (ร้อยละ 75) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

Anusasananan, S. (2011). Measurement and Assessment in Classroom. Chonburi: Get Good Creation (In Thai).

Booddee, T. (2018). The Accordance with Edvelopment 4.0: A Development of the Civic Education Curriculum Framework Based on the Buddhism. Graduate School Conference 2018 of Suan Sunandha Rajabhat University (pp. 343-351). Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University (In Thai).

Chanthamaruk, S., Othakanon, L., Arunwong, R., Palacheewa, P., Wetbunpot, K., & Atsawasoponchai, W. (2018). Valaya Alongkorn Model for Education 4.0: Creative and Productive Learning. Journal of Graduate Studies, Valaya Alongkron Rajabhat University, 12(2), 258-269 (In Thai).

Chularut, P. (2018). Learning Management for Students in the Thailand 4.0 Era. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 11(2), 2363-2380 (In Thai).

Gomaratut, S. (2014). Productivity-Based Learning. Journal of Education, Prince of Songkla University, Pattani Campus, 25(3), 1-10 (In Thai).

Khorpornprasert, B. (2016). Philosophy of Creative and Productivity Education. Romphruek Journal, Krirk University, 34(3), 206-216 (In Thai).

Kwankaew, P., Vanichvasin, P., & Siripipattanakoon, S. (2016). Development of Creative Characteristics using Project-Based Learning (PjBL) for High Vocational Students of Program in Secretarial. Journal of Southern Technology, 9(1), 1-7 (In Thai).

Othakanon, L. (2018). University 4.0: Productivity Education. Journal of Graduate Studies, Valaya Alongkron Rajabhat University, 12(3), 249-265 (In Thai).

Phanich, V. (2013). Creating a 21st century learning. Bangkok: Siam Commercial Foundation (In Thai).

Plitakul, P. (2017). Learning Management based on Project-based Learning for Music Teaching Experiences of Current Studentsat the Faculty of Music, Silpakorn University. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 10(2), 694-708 (In Thai).

Prakrongjai, P. (2019). Project based learning. Silpakorn University Journal, 40(1), 156-163 (In Thai).

Sirisuk, P. (2020). The Creative Roles of School Director to Achievement of Classroom Management of Teachers in 4.0 Era. Journal of Education, Prince of Songkla University, Pattani Campus, 31(2), 10-24 (In Thai).

Srichantha, S. (2017). Project based learning in instructional methodology and management in mathematics 1 course for bachelor’s degree students of the faculty of education in mathematics at Loei Rajabhat University. Journal of MCU Social Science Review, 6(1), 127-140 (In Thai).

Thanakijcharoensuk, T., & Pipatjamroenkul, Y. (2018). The Development of Project Based Courseware for Ubiquitous Learning for Undergraduate Students. Journal of Kaselsart Educational Review, 33(2), 87-93 (In Thai).

Thanopetch, A., & Weerapan, D. (2021). The Effects Of Active Learning Using Project-Based For Large Classroom In Internationalization For Living In The Asean And Global Communities Course. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkorn Rajabhat University, 15(1), 204-217 (In Thai).

Yoelao, D. et al. (2014). The study of PBL-based learning management from the Knowledge Building Project to enhance the skills of the 21st century of children and youth: based on the success experiences of Thai schools. Bangkok:: Thippawisut (In Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-12-2023