การศึกษาความต้องการจำเป็นและเสนอแนวทางในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ทางอารมณ์และสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
คำสำคัญ:
ความต้องการจำเป็น, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย, การเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม, การตระหนักรู้ทางสังคมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เสนอแนวทางในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5-6 จำนวน 286 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม แบบสอบถามแนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (PNImodified) การศึกษาเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจำเป็นต้องได้รับการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม โดยเฉพาะทักษะด้านการตระหนักรู้ทางสังคม ซึ่งสอดคล้องกับค่าเฉลี่ยของทักษะการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสภาพปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำกว่าสภาพที่พึงประสงค์ และเมื่อพิจารณาการจัดลำดับความต้องการจำเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบที่มีความต้องการจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาสูงสุด คือ ด้านการตระหนักรู้ทางสังคม (PNImodified= 0.15) รองลงมา คือ ด้านสัมพันธภาพ (PNImodified= 0.11) (2) แนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อให้คงอยู่ในตัวของนักเรียนและสอดคล้องกับความต้องการอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ มี 4 ด้าน คือ ด้านคาบเรียน ด้านเนื้อหา ด้านสื่อแหล่งเรียนรู้และเทคโนโลยี และด้านรูปแบบการจัดกิจกรรม
References
CASEL Guide. (2015). Effective Social and Emotion Learning Programs-Middle and High school Edition. Chicago: Collaborative for Academic, Social, and Emotional Learning .
Chuenka, S. (2022). Development of an instructional model based on philosophy for Children approach and gaamefication to enchance social and emotional Competence of secondary school students. In Doctor of Philosophy's Thesis. Srinakharinwirot University (In Thai).
Durlak, J. A., Weissberg, R. P., Dymnicki, A. B., Taylor, R. D., & Schellinger, K. B. (2011). The impact of enhancing students' social and emotional learning: a meta-analysis of school-based universal interventions. Child Dev, 82(1), 405-32. doi:10.1111/j.1467-8624.2010.01564.x.
Greenberg, M. T., Domitrovich, C. E., Weissberg, R. P., & Durlak, J. A. (2017). Social and Emotion Learning as a public health approach to education. The future of children, 27(1), 13-32. doi:10.1353/foc.2017.0001
Inta, M., & Sakulsriprasert, S. (2018). Social and emotion learning based on CASE concept of the secondary school students under the office of the basic education commission. Srinakharinwirot Research and Development (Journal of Humanities and Social Sciences), 10(20), 98-116. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/166778/120415 (In Thai)
Katechulasriroj, R. (2019). A study of the process of developing Emotional and Social Learning for children during the educational transition from kindergarten to grade 1. In Master’s Thesis. Bangkok: Chulalongkorn University (In Thai).
Nilrat, R. (2010). The Development of a social and emotional learning program for fourth To sixth grade students. In Master’s Thesis. Bangkok: Chulalongkorn University (In Thai).
Pattanaveaw, S. (2021). Enhancement of Social and Emotional Learning Secondary students through group counseling. MBU Education Journal, 9(2), 42-53. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/253002/174512 (In Thai)
Royal College of Pediatricians of Thailand. (2021). Home. Retrieved June 10, 2022, from https://www.thaipediatrics.org/ (In Thai)
Teerawattanaprasit, N. (2022). Results of a physical activity program using social and emotional learning to promote the mental and social well-being of middle school students. In Master’s Thesis. Bangkok: Chulalongkorn University (In Thai).
Theppitak, P., & Chaemchoy, S. (2022). A Study Necessary Needs for the Development of Business Administration of Private School Students in Bangkok Based on The Concept of Social and Emotional skills. SWU Educational Administration Journal, 20(38), 156-166. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/15622/12555 (In Thai)
Yamane, T. (1967). Statistic: An Introductory Analysis (2nd ed.). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว