Submissions

Login or Register to make a submission.

Submission Preparation Checklist

As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.
  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or PDF document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.

Author Guidelines

หลักเกณฑ์และการเตรียมต้นฉบับสำหรับการเสนอบทความเพื่อเผยแพร่

นโยบายการจัดพิมพ์

             วารสารวารสารครุศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายเผยแพร่บทความทางวิชาการและบทความวิจัยทางด้านครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ แยกเป็นสาขาย่อย ทางการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพชีวิต หรือสาขาอื่นที่มีความเกี่ยวข้องของนักศึกษา อาจารย์ บุคลากรและผู้ที่สนใจทั่วไป โดยมีกำหนดพิมพ์เผยแพร่ปีละ 3 ฉบับ (เดือนมกราคม – เมษายน เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม และเดือนกันยายน – ธันวาคม) 

 

เรื่องเสนอเพื่อตีพิมพ์

           ผลงานทางวิชาการที่รับตีพิมพ์คือ บทความวิชาการ (Article) หรือบทความวิจัย (Research Article) บทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์จะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น บทความที่นำเสนอเพื่อตีพิมพ์จะต้องผ่านการกลั่นกรองและพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของบทความนั้นๆ ซึ่งแต่งตั้งโดยกองบรรณาธิการวารสารครุศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย โดยกองบรรณาธิการสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขบทความตามความเหมาะสม

 

ลักษณะของบทความ

            บทความวิชาการ หมายถึง งานเขียนที่นำเสนอองค์ความรู้ใหม่ในด้านครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ หรือสาขาอื่นที่มีความเกี่ยวข้อง ที่มีการวิเคราะห์หรือวิจารณ์ประเด็นต่างๆ ตามหลักวิชาการ โดยผู้เขียนสามารถแสดงทัศนะทางวิชาการของตนเองอย่างชัดเจน

            บทความวิจัย หมายถึง รายงานผลการศึกษาค้นคว้าวิจัยทางด้านครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ หรือสาขาอื่นที่มีความเกี่ยวข้องที่ได้ทำการศึกษาโดยผ่านกระบวนการวิเคราะห์ด้วยระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้องจนได้องค์ความรู้ใหม่

 

การเตรียมต้นฉบับ

            บทความวิชาการหรือบทความวิจัย สามารถนำเสนอเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ โดยพิมพ์ต้นฉบับด้วยกระดาษ เอ 4 หน้าเดียว โดยใช้ฟอนท์ Angsana New ขนาด 14 (สำหรับชื่อเรื่องภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้ใช้ฟอนท์ Angsana New ขนาด 18 ส่วนหัวข้อต่างๆ ให้ใช้ Angsana New ขนาด 16) ความยาวประมาณ 15 หน้า โดยบทความทุกประเภทต้องมีส่วนประกอบ ดังนี้

  1. ชื่อเรื่อง
  2. ชื่อผู้เขียน (ครบทุกคน กรณีที่เขียนหลายคน ให้เขียนบรรทัดถัดจากชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ โดยให้เขียนไว้ชิดด้านขวาของหน้า ให้ทำตัวเอียง ตัวอักษร ขนาด 14)
  3. วุฒิการศึกษาขั้นสูงสุด สาขาวิชาและสถาบันที่สำเร็จการศึกษา และตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี)
  4. สถานที่ทำงานปัจจุบันหรือหน่วยงานที่สังกัด (เช่น สาขาวิชา/ภาควิชา คณะ)

            (ข้อ 3 และข้อ 4 ให้ผู้เขียนทำเชิงอรรถไว้ท้ายข้อความในหน้าแรกของบทความ)

  1. บทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยในท้ายบทคัดย่อภาษาไทยให้ใส่ คำสำคัญ ของเรื่อง และท้ายบทคัดย่อภาษาอังกฤษให้ใส่ Keywords ด้วย

            **ทั้ง 5 ข้อที่กล่าวข้างต้น หากเป็นบทความภาษาไทย ผู้เขียนต้องเขียนข้อมูลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แต่หากเป็นบทความภาษาอังกฤษ ผู้เขียนไม่ต้องระบุข้อมูลภาษาไทย

             บทความวิชาการหรือบทความวิจัยต้องมีส่วนประกอบเพิ่มเติม คือ ต้องมีบทคัดย่อ (Abstract) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยบทคัดย่อแต่ละภาษาต้องมีความยาวอย่างละไม่เกินครึ่งหน้ากระดาษ A4 โครงสร้างของบทความวิชาการควรประกอบด้วย บทนำ เนื้อหาบทความ บทสรุปและรายการเอกสารอ้างอิง ส่วนบทความวิจัยควรประกอบด้วยบทนำ แนวคิดและทฤษฎี วิธีการศึกษา ผลการศึกษา อภิปรายผล ข้อเสนอแนะและรายการเอกสารอ้างอิง

            ภาพประกอบและตารางควรมีเฉพาะที่จำเป็น ให้มีหมายเลขกำกับภาพและตารางตามลำดับ ภาพจะต้องชัดเจน แสดงเนื้อหาสำคัญของเรื่อง คำอธิบายและตารางให้อธิบายด้วยข้อความกะทัดรัดและชัดเจน

            การใช้ภาษาในบทความ การเขียนควรใช้ภาษาที่ถูกต้อง เข้าใจง่ายและกะทัดรัด โดยคำศัพท์ให้อ้างอิงตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน การใช้คำศัพท์บัญญัติทางวิชาการควรใช้ควบคู่กับศัพท์ภาษาอังกฤษ กรณีที่เป็นชื่อเฉพาะหรือคำแปลจากภาษาต่างประเทศที่ปรากฏครั้งแรกในบทความ ควรพิมพ์ภาษาเดิมของชื่อนั้นๆ กำกับไว้ในวงเล็บ และควรรักษาความสม่ำเสมอในการใช้คำศัพท์ การใช้ตัวย่อโดยตลอดบทความ

 

วารสารครุศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย กำหนดรูปแบบการเขียนอ้างอิงท้ายบทความ ตามรูปแบบ APA 6  ดังนี้

การเขียนชื่อผู้แต่ง

ไม่ต้องลงคํานําหน้านามตําแหน่งทางวิชาการคําเรียกทางวิชาชีพและตําแหน่งยศต่าง ๆ (ยกเว้น มีฐานันดรศักดิ์ บรรดาศักดิ์ และสมณศักดิ์)

ผู้เขียน 1 คน
ผู้แต่ง1./(ปีพิมพ์).//ชื่อเรื่อง/(พิมพ์ครั้งที่).//สถานที่พิมพ์:/สํานักพิมพ์.

ผู้เขียน 2 คน
ผู้แต่ง1,/และผู้แต่ง2.//(ปีพิมพ์).//ชื่อเรื่อง/(พิมพ์ครั้งที่).//สถานที่พิมพ์://สํานักพิมพ์.

ผู้เขียน 3 คน
ผู้แต่ง1,/ผู้แต่ง2,/และผู้แต่ง3.//(ปีพิมพ์).//ชื่อเรื่อง//(พิมพ์ครั้งที่).//สถานที่พิมพ์://สํานักพิมพ์.

ผู้เขียนมากกว่า 7 คน
ผู้แต่ง1,/ผู้แต่ง2,/ผู้แต่ง3,/ผู้แต่ง4,/ผู้แต่ง5,/ผู้แต่ง6,…ผู้แต่งคนสุดท้าย./(ปีพิมพ์).//ชื่อเรื่อง//(พิมพ์ครั้งที่).//
สถานที่พิมพ์://สํานักพิมพ์.

  1. หนังสือ

ผู้แต่ง 1./(ปีพิมพ์).//ชื่อเรื่อง/(พิมพ์ครั้งที่).//สถานที่พิมพ์:/สํานักพิมพ์.

สุกัญญา รอส. (2561).  วัสดุชีวภาพ.  พิษณุโลก: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

หนังสือไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง

ชื่อเรื่อง/(พิมพ์ครั้งที่).//(ปีพิมพ์).//สถานที่พิมพ์:/สํานักพิมพ์.

หลากความคิดชีวิตคนทํางาน. (2551). กรุงเทพฯ: แผนงานสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน สํานักงานกองทุน
////////สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

บทความหรือบทในหนังสือ

ชื่อผู้แต่งบทความหรือบท./(ปีพิมพ์).//ชื่อบทความหรือบท./ใน หรือ In/ชื่อบรรณาธิการ/(บ.ก. หรือ Ed. หรือ Eds.),
////////ชื่อหนังสือ/(น. หรือ p. หรือ pp. เลขหน้า).//สถานที่พิมพ์:/สํานักพิมพ์.

วัลลภัช สุขสวัสดิ์. (2561).  แนวความคิดเรื่องชนชั้นนำทางการเมืองของกีตาโน มอสกา กับชนชั้นนำทางการ
////////เมืองไทยในยุคมาลานำไทย. ใน วัชรพล ศุภจักรวัฒนา และวัชรพล พุทธรักษา (บ.ก.), ว่าด้วยทฤษฎี
////////รัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ร่วมสมัย 
(พิมพ์ครั้งที่ 2). (น. 47-68).  พิษณุโลก: สํานักพิมพ์
////////มหาวิทยาลัยนเรศวร.

*หมายเหตุ (พิมพ์ครั้งที่) ให้ระบุตั้งแต่ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป

  1. หนังสือแปล

ชื่อผู้แต่งต้นฉบับ./(ปีพิมพ์).//ชื่อเรื่องที่แปล/[ชื่อต้นฉบับ]/(ชื่อผู้แปล, แปล)./สถานที่พิมพ์:/สํานักพิมพ์.
////////(ต้นฉบับพิมพ์ปี ค.ศ. หรือ พ.ศ.)

แบรี่ สมาร์. (2555). มิเชล ฟูโกต์ [Michel Foucault] (จามะรี เชียงทอง และสุนทร สราญจิต, แปล). กรุงเทพฯ:
////////ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร (องค์การมหาชน). (ต้นฉบับพิมพ์ปี ค.ศ. 1994).

  1. E-book

ผู้แต่ง 1./(ปีพิมพ์).//ชื่อเรื่อง/(พิมพ์ครั้งที่).//สถานที่พิมพ์:/สํานักพิมพ์. //จาก หรือ from/http://www.xxxxxxx

Howitt, D. (2011). Introduction to research methods in psychology. Retrieved from
////////https://www.dawsonera.com.

จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ. (2562). พฤติกรรมสุขภาพ: แนวคิด ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้.
////////(พิมพ์ครั้งที่ 3). พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร. สืบค้นจาก https://www.ookbee.com

Haslam, S. (2003). Research Methods and Statistics in Psychology (SAGE Foundations
////////of Psychology series)
.[Kindle DX version]. Retrieved from http://www.amazon.com

  1. รายงานการวิจัย

ผู้แต่ง./(ปีพิมพ์).//ชื่อเรื่อง(รายงานผลการวิจัย).//สถานที่พิมพ์:/สํานักพิมพ์.

พินิจทิพย์มณี. (2553).  การวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการตายของ
////////ประเทศไทย
 (รายงานผลการวิจัย).  กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

  1. วิทยานิพนธ์

วิทยานิพนธ์แบบรูปเล่ม

ผู้แต่ง./(ปีพิมพ์)./ชื่อเรื่อง/(ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต หรือ Doctoral dissertation หรือ วิทยานิพนธ์
////////ปริญญามหาบัณฑิต หรือ master’s thesis)./สถานที่พิมพ์./ชื่อสถาบัน.

วันชนะ จูบรรจง. (2560). ระบบสนับสนุนการประมาณการสัมผัสแคดเมียมผ่านการบริโภคอาหาร (วิทยานิพนธ์
////////ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร

วิทยานิพนธ์ฐานข้อมูลออนไลน์

ผู้แต่ง./(ปีพิมพ์)./ชื่อเรื่อง/(ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต หรือ Doctoral dissertation หรือ วิทยานิพนธ์
////////ปริญญามหาบัณฑิต หรือ master’s thesis)./สถานที่พิมพ์./ชื่อสถาบัน. สืบค้นจาก หรือ Retrieved from
////////http://www.xxxxxxxxx

พรทิพย์ ว่องไวพิทยา. (2551). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในการมอบหมายและ
////////ติดตามความก้าวหน้าของงาน กรณีศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร 
(วิทยานิพนธ์
////////ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก. มหาวิทยาลัยนเรศวร. สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/

  1. วารสาร

วารสารแบบเล่ม

ชื่อผู้แต่ง./(ปีพิมพ์).//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร,/เลขของปีที่/(เลขของฉบับที่),/เลขหน้า.

วิชัย พานิชย์สวย, สุมน ไวยบุญญา, พัชรพร ศุภกิจ, และรัตนากร หลวงแก้ว. (2562).  ผลของการใช้บทเรียน PISA
////////ที่มีต่อความสามารถด้านทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับประถมศึกษา.
////////วารสารการวิจัยพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 12(3), 133-160.

วารสารออนไลน์

 – กรณีไม่มีเลข DOI

ชื่อผู้แต่ง./(ปีพิมพ์).//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร,/เลขของปีที่/(เลขของฉบับที่),/เลขหน้า. สืบค้นจาก หรือ
////////Retrieved from http://www.xxxxxxxxx

Pattaratumrong, M., & Wongkhamhaeng, K. (2019).  The Molecular Identification of Nephtys
////////species (Polychaeta: Phyllodocida) from Songkhla Lake, Southern Thailand.  Naresuan
////////University Journal: Science And Technology (NUJST), 27
(3), 1-9.
////////http://www.journal.nu.ac.th/NUJST/article/view/Vol-27-No-3-2019-1-9

 – กรณีมีเลข DOI

ชื่อผู้แต่ง./(ปีพิมพ์).//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร,/เลขของปีที่/(เลขของฉบับที่),/เลขหน้า.
////////doi: xxxxxxxxx

Chantana, C. (2019).  A Cooling System for a Mushroom House for Use in the Upper Central
////////Region Climate of Thailand.  Naresuan University Journal: Science And Technology
////////(NUJST), 27
(3), 10-19. doi:10.14456/nujst.2019.22

ธมนวรรณกัญญาหัตถ์, และศรัณยพงศ์ เที่ยงธรรม. (2554). ความพึงพอใจของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อ
////////ประโยชน์ของสมาร์ทโฟน. ในชนัญชีภังคานนท์ (บ.ก.), กระบวนทัศน์มหาวิทยาลัยไทยบนความทำทายของ
////////เอเชียปาซิฟิก (น. 119-121). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

  1. Conferences papers and proceedings

แบบเล่ม

ชื่อผู้แต่ง./(ปีพิมพ์).//ชื่อเรื่อง./ใน หรือ In ชื่อบรรณาธิการ. (บ.ก. หรือ Ed. หรือ Eds.),/ชื่อ Proceedings/
////////
(น. หรือ p. หรือ pp. เลขหน้า)./สถานที่พิมพ์:/สํานักพิมพ์.

Piyasiripon, N. (2016).  Factors affecting Policy Implementation Effectiveness toward National Security
////////Policy in Southernmost Provinces of Thailand. The 38th National Graduate Research Conference
////////(Humanities and Social Science) 
(pp. 169-176). Phitsanulok. Naresuan University Publishing House.

ธมนวรรณกัญญาหัตถ์, และศรัณยพงศ์ เที่ยงธรรม. (2554). ความพึงพอใจของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่มี
////////ต่อประโยชน์ของสมาร์ทโฟน. ในชนัญชีภังคานนท์ (บ.ก.), กระบวนทัศน์มหาวิทยาลัยไทยบนความทำทายของ
////////เอเชียปาซิฟิก
 (น. 119-121). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

แบบออนไลน์

ชื่อผู้แต่ง./(ปีพิมพ์).//ชื่อเรื่อง./ชื่อ Proceedings หรือชื่องานประชุม
////////
(น. หรือ p. หรือ pp. เลขหน้า)./สถานที่จัดงาน:/ประเทศ.//สืบค้นจาก หรือ Retrieved from/URL or DOI

ภูเบศร์ สันติสุข, สิรภพ ภูมิภูติกุล, และจารุวรรณ ทองสนิท โอคุมุระ. (2563). การคัดแยกและการสกัดเอนไซม์ไลเปส
////////และโปรติเอสให้บริสุทธิ์จากแบคทีเรียกรดแลกติค. การประชุมวิชาการระดับชาติ“นเรศวรวิจัยและนวัตกรรม”
////////ครั้งที่ 16 “NU Research Foresight: Beyond 30 years” 
( น. 48-61). มหาวิทยาลัยนเรศวร. ไทย. สืบค้นจาก
////////http://conference.nu.ac.th/nrc16/dFiles/nrc16full.pdf

  1. Website

ผู้แต่ง./(ปีพิมพ์).//ชื่อบทความ./สืบค้น หรือ Retrieved วัน/เดือน/ปี,//จาก หรือ from/http://www.xxxxxxxxxx

สรญา แสงเย็นพันธ์. (2563).  พฤติกรรมสุขภาพ. สืบค้น 18 กันยายน
////////2563,  จาก https://www.nupress.grad.nu.ac.th/behavior

สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร. (2563).  การวิจัยเชิงคุณภาพสืบค้น 12 ตุลาคม
////////2563,  จาก https://www.nupress.grad.nu.ac.th/qualitative-research/

Healey, R.G. (2011). The History of Policy Analysis. Retrieved 24 March 2019
////////from https://econ.duke.edu/uploads/media_items/what-is-the-history
////////-of-policy-analysis-9-2011.original.pdf

—————————————————————————————————————

 

ตัวอย่างเอกสารอ้างอิง

บุญฑา วิศวไพศาล. (ม.ป.ป).  มนุษยศาสตร์สาร.  สืบค้น 18 กันยายน 2562, จาก
////////http://journal.human.cmu.ac.th/files/form2.pdf
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (ม.ป.ป).  การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาตาม
////////หลักเกณฑ์ APA. 
สืบค้น 18 กันยายน 2562,  จาก http://www.jba.tbs.tu.ac.th/
////////files/APA_Style.pdf
American University of Sharjah. (n.d.).  APA 6th Edition Citation Style. Retrieved September
////////18, 2019,  from https://aus.libguides.com/apa/apa-website
Himmelfarb Health Sciences Library. (n.d.). APA Citation Style, 6th edition. Retrieved September
////////18, 2019, from https://guides.himmelfarb.gwu.edu/APA

 

การใช้อักษรย่อ

ม.ป.ท.        แทนคําเต็มว่า    (ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์)
N.P.            แทนคําเต็มว่า    (no Place of publication)
ม.ป.พ.        แทนคําเต็มว่า    (ไม่ปรากฏสํานักพิมพ์)
n.p.             แทนคําเต็มว่า    (no publisher)
(ม.ป.ป.)      แทนคําเต็มว่า    ไม่ปรากฏปีพิมพ์
(n.d.)           แทนคําเต็มว่า      no date
(บ.ก.)          แทนคําเต็มว่า     บรรณาธิการ
(Ed.) หรือ (Eds.) แทนคําเต็มว่า    Editor หรือ Editors

 

อ้างอิงจาก  สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร (Naresuan University Publishing House)

 

การส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

ผู้แต่งต้องบทความผ่านทางระบบออนไลน์เท่านั้น โดยการสมัครสมาชิก (Register) วารสารครุศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ในระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลาง (https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jeducrru/user/register)  เพื่อขอรับ Username และ Password แล้วคลิกที่ปุ่ม Log In เพื่อเข้าสู่ระบบ ในกรณีที่เป็นสมาชิกของวารสารแล้ว กรุณาเข้าสู่ระบบ Log in (https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jeducrru/login) และดำเนินการส่งบทความ

ข้อแนะนำในการส่งบทความ
1. หากผู้ที่ต้องการส่งบทความเป็นสมาชิกในระบบ Thaijo อยู่แล้ว สามารถใช้ User เดิมในการส่งบทความได้เลย แต่หากยังไม่ได้เป็นสมาชิกในระบบ Thaijo ท่านสามารถลงทะเบียนสมัครสมาชิกใหม่ได้ (https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jeducrru/user/register) และหากสมาชิกเดิมลืมรหัสผ่าน ท่านสามารถกดขอรหัสผ่านใหม่ได้
2. เมื่อสมัครสมาชิกในระบบ Thaijo หรือเป็นสมาชิกเดิมอยู่แล้ว แต่ไม่สามารถส่งบทความได้ (หรือหาที่ส่งบทความไม่เจอ) แนะนำให้ท่านตรวจสอบที่เมนู ตำแหน่ง (Role) ว่าได้เลือกให้ตัวเองเป็น ผู้แต่ง (Author) หรือไม่ หากไม่ได้เลือก กรุณาเลือกตำแหน่ง (Role) เป็น ผู้แต่ง (Author) เพิ่มเติม ท่านจะสามารถส่งบทความได้
3. ในการกรอกข้อมูลรายละเอียดขณะส่งบทความ ขอให้ท่านระบุในข้อความถึงบรรณาธิการวารสาร ถึงข้อมูลการติดต่อ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล ที่อยู่ในการออกใบเสร็จ/ที่อยู่ในการจัดส่งเอกสาร (ข้อมูลส่วนนี้เป็นความลับ)
4. ในการกรอกข้อมูล ช่อง "คำสำคัญ และ Keywords" ให้ท่านพิมพ์/copy วางทีละคำ ห้าม copy ทีเดียวทั้งหมดทุกคำแล้ววาง
5. การกรอกข้อมูลอ้างอิง (Reference) ให้ท่านพิมพ์/copy วางทีละการอ้างอิงแล้วกด Enter เว้น 1 บรรทัด ก่อนวางรายการอ้างอิงถัดไป  ห้าม copy ทีเดียวทั้งหมดหน้าแล้ววาง เพราะจะทำให้ผู้ที่ค้นหาการอ้างอิงหาข้อมูลไม่เจอ อันนี้สำคัญมาก
*เมื่อการแก้ไขบทความเสร็จสิ้นทุกกระบวนการ ขอให้ท่านเข้าไปแก้ไขรายการอ้างอิงตามที่ท่านได้รับข้อเสนอแนะให้แก้ไขใหม่ให้ตรงกับบทความที่ได้รับการเผยแพร่
**ทางวารสารฯ จะมีการตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบบทความและรายการอ้างอิง (Reference) โดยบรรณารักษ์ ขอให้ท่านดำเนินการแก้ไขให้ครบถ้วนทุกรายละเอียด

 

บทความวิจัย

บทความวิจัย หมายถึง รายงานผลการศึกษาค้นคว้าวิจัยทางด้านครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ หรือสาขาอื่นที่มีความเกี่ยวข้องที่ได้ทำการศึกษาโดยผ่านกระบวนการวิเคราะห์ด้วยระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้องจนได้องค์ความรู้ใหม่

บทความวิชาการ

บทความวิชาการ หมายถึง งานเขียนที่นำเสนอองค์ความรู้ใหม่ในทางด้านครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ หรือสาขาอื่นที่มีความเกี่ยวข้องที่มีการวิเคราะห์หรือวิจารณ์ประเด็นต่างๆ ตามหลัก วิชาการ โดยผู้เขียนสามารถแสดงทัศนะทางวิชาการของตนเองอย่างชัดเจน

Privacy Statement

The names and email addresses entered in this journal site will be used exclusively for the stated purposes of this journal and will not be made available for any other purpose or to any other party.