การพัฒนายุทธศาสตร์บริหารและการจัดการหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ที่สอดคล้องกับการศึกษาไทย 4.0 ของโรงเรียนสามัคคีพัฒนา
คำสำคัญ:
การพัฒนายุทธศาสตร์, การศึกษาไทย 4.0, หลักสูตรสถานศึกษา, กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์, โรงเรียนสามัคคีพัฒนาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสถาบัน (Research Institute) มีวัตถุประสงค์คือเพื่อพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารและการจัดการหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับการศึกษาไทย 4.0 ของโรงเรียนสามัคคีพัฒนา คำถามการวิจัย ดังนี้ 1) สภาพของการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เป็นอย่างไร ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพใช้เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบบันทึกผลการวิเคราะห์คุณภาพของผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดย การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาและสรุปเป็นความเรียง 2) มีเหตุปัจจัยสำคัญใดบ้างที่ส่งผลต่อคุณภาพการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของโรงเรียนสามัคคีพัฒนา ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้คือ การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาสำคัญสังเคราะห์เป็นความเรียง 3) สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ที่สอดคล้องกับการศึกษาไทย 4.0 ของโรงเรียนสามัคคีพัฒนาเป็นอย่างไร ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบบันทึกประเด็นการสนทนากลุ่ม และการประชุมเชิงปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาสำคัญสังเคราะห์เป็นความเรียง 4) ยุทธศาสตร์การบริหารและการจัดการหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับการศึกษาไทย 4.0 ของโรงเรียนสามัคคีพัฒนาอย่างไร ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้คือการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) และการประชุมเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาสำคัญสังเคราะห์เป็นความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ คุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 -3 อยู่ระดับควรปรับปรุง ด้านกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตรในภาพรวมอยู่ในระดับดี ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนในภาพรวมอยู่ในระดับพอใช้ 2. เหตุปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของโรงเรียนสามัคคีพัฒนา สามารถแยกออกเป็น 2 ประเด็น คือ 1) ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ ผู้บริหารส่งเสริมสนับสนุน เตรียมความพร้อมบุคลากร แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหลักสูตร จัดทำโครงการพัฒนาหลักสูตร ส่งเสริมบุคลากรอบรมพัฒนา มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร จัดครูเข้าสอนตรงตามวิชาเอก มีการจัดสรรงบประมาณในการซื้อสื่อวัสดุอุปกรณ์อย่างเพียงพอ จัดทำแผนงานต่าง ๆ มีการนิเทศกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง สร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน ครูบุคลากรมีการอบรมพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ มีการวางแผนการจัดการเรียนรู้ จัดทำผลการเรียน 2) ปัจจัยฉุดรั้ง ได้แก่ ผู้บริหารจัดสรรงบประมาณไม่ตรงกับความต้องการ การใช้สื่ออุปกรณ์ไม่คุ้มค่า บุคลากรขาดความรู้ที่เพียงพอในการพัฒนาหลักสูตร ขาดการประชุมในกลุ่มสาระ หลังการนิเทศติดตามการใช้หลักสูตรแล้วไม่มีการสร้างระบบการปรับปรุงพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม 3. สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ที่สอดคล้องกับการศึกษาไทย 4.0 ของโรงเรียนสามัคคีพัฒนา ประกอบด้วย 1) มีการจัดทำแผนปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายการศึกษาไทย 4.0 และยุทธศาสตร์ชาติ 2) พัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาหลักสูตร มีทักษะเทคนิคการสอน การใช้เทคโนโลยีเพื่อการสอน การออกแบบการเรียนรู้ ส่งเสริมและแลกเปลี่ยนประสบการณ์จัดการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา 3) พัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีความพร้อมในการบริหารจัดการหลักสูตร 4) ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีเหตุผล สามารถอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่น สามารถแก้โจทย์ปัญหาได้ รู้จักใช้เทคโนโลยีเพื่อการสืบค้น มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข 4. ยุทธศาสตร์การบริหารและการจัดการหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับการศึกษาไทย 4.0 ของโรงเรียนสามัคคีพัฒนา ประกอบด้วย 1) ควรมีการวิเคราะห์สภาวการณ์ภายนอก และสภาวการณ์ภายในของการบริหารจัดการหลักสูตร 2) ควรมีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ จุดประสงค์ ประเด็นยุทธศาสตร์ แผนงานโครงการ ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์และนโยบายการศึกษาไทย 4.0
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
จันทร์จิรา บุรีมาศ. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา. (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. ภูเก็ต.
ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2560). ครูและนักเรียนในยุคการศึกษาไทย 4.0. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 7(2), 14-29.
ประเวศ เวชชะ. (2561). การบริหารหลักสูตร การสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 4). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
รุ่งนภา แก้วกองมา. (2557). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนบ้านสันต้นหมื้อ อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. เชียงราย.
วิไลวรรณ ห่มขวา. (2553). การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ในโรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โรงเรียนชุมแพศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5: กรณีศึกษา. (ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ฉบับปรับปรุง 2560). กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.