ความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนโดยผ่านกูเกิลคลาสรูม ของนักศึกษาวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี
คำสำคัญ:
กูเกิลคลาสรูมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนโดยผ่านกูเกิลคลาสรูมของ นักศึกษาวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี จำ นวน 3 ด้าน ได้แก่ 1) การจัดการเรียนการสอนผ่านกูเกิลคลาสรูม 2) ความปลอดภัยในการใช้งานระบบ และ 3) ข้อดีและข้อเสียของการใช้กูเกิลคลาสรูม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการตลาด และสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ธุรกิจ ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำ นวน 255 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ความพึงพอใจ ผลการวิจัย พบว่า ด้านการจัดการเรียนการสอนผ่านกูเกิลคลาสรูมช่วยให้บรรลุเป้าหมายของการเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 4.65 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.15 ด้านความปลอดภัยในการใช้งานระบบที่สามารถกำ หนดสิทธิ์ การใช้งานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 4.37 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.23 ข้อดีของการใช้กูเกิลคลาสรูมหัวข้อติดตามทบทวนเนื้อหา บางส่วนที่ขาดหายไป มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 4.88 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.38 ข้อเสียของการใช้กูเกิลคลาสรูมหัวข้อ นักศึกษาแยกตัวออกจากกลุ่มมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 4.73 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.29 และค่าเฉลี่ยรวม 3 ด้านมีค่าเฉลี่ย 4.32 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.33
References
ปรัชญนันท์ นิลสุข. (2558). ครูอาชีวะแห่งศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : แมคเอ็ดดูเคชั่น. วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
เอกวิทย์ สิทธิวะ และวรชนันท์ ชูทอง. (2559). [ออนไลน์]. Google Classroom. [สืบค้นวันที่ 10 มกราคม 2559] จาก http://googleapps.bcnnv.ac.th/google-classroom/khumux-google-classroom Google Inc. (2014). [Online]. Google Apps for Education. [Retrieved November 1, 2014] from http:// www.google.com/enterprise/apps/education
MacArthur, C. A. (2009). Reflections on Research on Writing and Technology for Struggling Writers. Learning Disabilities Research & Practice, 24 (2), 93-103.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License. (CC BY-Nc-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต