ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อหลักสูตรภาษาอังกฤษด้านสื่อสารมวลชน

ผู้แต่ง

  • อภิญญ์พัทร์ กุสิยารังสิทธิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

สื่อสารมวลชน, หลักสูตรภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการตลาดของหลักสูตรภาษาอังกฤษด้านสื่อสารมวลชนของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายใน เขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อหลักสูตรภาษาอังกฤษด้านสื่อสาร มวลชนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับ มัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร จำ นวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน ส่วนสถิติอ้างอิง ได้แก่ t-Test สถิติ One-way ANOVA กรณีพบค่าความแตกต่างเป็นรายกลุ่ม จะวิเคราะห์ เปรียบเทียบความแตกต่างภายหลังเป็นรายคู่โดยวิธีการ Scheffe´s การใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ เมื่อ พบว่าตัวแปรใดมีความสัมพันธ์กันต้องวิเคราะห์ความสัมพันธ์เพิ่มเติมโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านแผนการเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อ ส่วนเพศของนักเรียน ระดับการ ศึกษา และรายได้ของครอบครัวไม่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อหลักสูตรภาษาอังกฤษของคณะเทคโนโลยีสื่อสาร มวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 2) ปัจจัยด้านการตลาดของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนมีผลต่อการ ตัดสินใจเลือกศึกษาต่อ โดยปัจจัยทั้ง 4 ด้านมีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อ ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ราคา ที่ตั้ง และการส่งเสริมการตลาด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). [ออนไลน์]. ข้อมูลพื้นฐานการจัดการศึกษา ปีการศึกษา 2556. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2559 จาก http://www.moe.go.th
จุฑามาศ ชูจินดา และคณะ. (2555). แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 ในเขตจังหวัดนนทบุรี. งานวิจัยวิทยาลัยราชพฤกษ์.
ตระหนักจิต ยุตยรรยง. (2557). การสื่อสารเชิงกลยุทธ์ในองค์กร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 34(2), 155-160.
ธารินี พัชรเจริญพงศ์. (2554). ปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาหลักสูตรนานาชาติของนักศึกษาชาวต่างชาติในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ปราณี เอี่ยมละออภักดี. (2559). องค์ประกอบสำคัญของการจัดการแบรนด์องค์กร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 36(1), 209-221.
พระมหาแมนชัย คำ ศรี. (2547). แรงจูงใจของนักศึกษาในการเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำ แหง.
ยุพิน พิทยาวัฒนชัย. (2556). การบริหารระบบข้อมูลผลิตภัณฑ์ในช่องทางการตลาด. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. ฉบับพิเศษ, 276-288.
วิษณุ สุวรรณเพิ่ม. (2549). วิจัยสื่อสารมวลชน. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาสื่อสารมวลชน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วารุณี ตันติวงศ์วาณิช และคณะ. (2554). หลักการตลาด และนิยามศัพท์การตลาดฉบับมาตรฐาน (Principles of Marketing with Dictionary Thai, Kotler & Armstorng, อำ นาจ ธีระวนิช (บรรณาธิการ). กรุงเทพมหานคร : เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.
สุจิตรา ปันสกุล. 2552. ปัจจัยการสื่อสารการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อยังวิทยาลัยเชียงราย. ปัญหาพิเศษศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
สุพัฒนา เตโชชลาลัย. 2552. ความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ: กรณีศึกษา นักศึกษาปริญญาตรี ปี 4 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. งานวิจัยงบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
สุภาพร ศรีทอง. 2556. การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-26