การรับรู้ภาพลักษณ์และการยอมรับคุณค่าการท่องเที่ยวในประเทศไทยของประชาชน ในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ภาพลักษณ์, การรับรู้, การยอมรับ, การท่องเที่ยวในประเทศไทยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการรับรู้ภาพลักษณ์และการยอมรับคุณค่าการท่องเที่ยวในประเทศไทยของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test ผลการวิจัย พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 20–30 ปี ศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัท รายได้ต่อเดือน 15,000–25,000 บาท โดยมีการรับรู้ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวในประเทศไทยด้านคุณภาพและสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านสภาพสังคมและวัฒนธรรม อยู่ในระดับมาก และการยอมรับคุณค่าการท่องเที่ยวในประเทศไทยด้านพฤติกรรมหลังการท่องเที่ยว อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านความประทับใจ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีระดับการรับรู้ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเพศ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีระดับการยอมรับคุณค่าการท่องเที่ยวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). “แนวโน้มสถานการณ์ท่องเที่ยว.” วารสารกรมการท่องเที่ยว. พ.ศ. 2559. ฉบับที่ 6: 17–21
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). สถิติการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร. ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558-2560. กรุงเทพมหานคร : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
พรทิพย์ บุญเที่ยงธรรม. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยว ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาเที่ยวตลาดน้ำในเขตตลิ่งชัน จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
พระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522. มาตรา 4 ข้อ 2.
พิชัย นิรมานสกุล. (2554). พฤติกรรมการท่องเที่ยว การเปิดรับข่าวสารการรับรู้ภาพลักษณ์และการยอมรับคุณค่าแบรนด์เมืองท่องเที่ยวไทย. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง. (2557). ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทย. มหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย. ปีที่ 34 ฉบับที่ 1: 31-50.
ศุภกร ภัทรธนกุล. (2551). “ปัจจัยในการตัดสินใจเดินทางเข้ามาท่องเที่ยว ทัศนคติและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อการท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร.” จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์. ปีที่ 30: 178-201.
เสรี วงศ์มณฑา. (2542). การประชาสัมพันธ์ : ทฤษฎีเชิงปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์.
John, B., W. (1997). Research in Education. 3rd. Englewood Cliffs. New Jersey: Prentice Hall, Inc.
McBurney, Donald H., and Collings, Virginia B. (1984). Introduction to Sensation Perception. 2nd ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.
Yamane, T. 1973. Statistic: An Introductory Analysis. 3rd. New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License. (CC BY-Nc-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต