พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ผู้แต่ง

  • อิทธิพัทธ์ โยธะพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ชูชาติ ศิริปัญจนะ วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, ความคาดหวัง, เทคโนโลยีสารสนเทศ, นิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนิสิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 400 คน โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย และใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ว่า นิสิตใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากที่สุด คือ การติดต่อสื่อสารออนไลน์ ปริมาณการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศมากที่สุด คือ การติดต่อสื่อสารออนไลน์ สถานที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากที่สุดนอกจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของตนเอง คือ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ การเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากที่สุด คือ การสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล และความพึงพอใจต่อการให้บริการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มากที่สุด คือ ความพึงพอใจต่อระบบไวไฟ (WIFI) ที่ให้บริการ

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2554). กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ. 2554-2563 ประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
นุสรา ประเสริฐศรี และนวพล แก่นปุบผา. (2555). ระดับการใช้และอุปสรรคการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ICT) ของอาจารย์พยาบาลเพื่อจัดการเรียนการสอน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 23(2), 55-64.
บุญญลักษม์ ตำนานจิตร. (2552). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
เมทณี ระดาบุตร โสภาพันธ์ สะอาด สุวลี มิลินทางกูร และสายหยุด พิลึก. (2554). สมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิทยบริการ. ปีที 22 ฉบับที่ 1: 109-116.
ยืน ภู่วรวรรณ. (2549). [ออนไลน์] ไอทีกับแนวโน้มโลก. [สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2557]. จาก http://www.school.net.th/library/snet1/network/tech_it.html
ราชกิจจานุเบกษา. (วันที่ 6 เมษายน 2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. เล่ม 134 ตอนที่ 40ก: 14-15.
วัชระ บุญมี. (2554). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาหญิงและนักศึกษาชายระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงในวิทยาลัยเทคนิคหนองคาย. สารนิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
วิเชียร ภู่สวรรณ. (2544). “การใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.” วารสารวิชาการ. ปีที่ 4 ฉบับที่ 9: 25–27.
Ball, D. M. and Levy, Y. (2008). “Emerging Educational Technology: Assessing the Factors that Influence Instructors’ Acceptance in Information Systems and Other Classrooms.” Journal of Information Systems Education. Vol. 19 No 4: 431–444.
Cerretania, P., BernarasIturrioz, E. and Garay, P. B. (2016). “Use of information and communications technology, academic.” Computers in Human Behavior. Vol. 56: 119-126.
Miloševic,´I., Dragana, Z, Manasijevic, D. and Nikolic, D. (2015). “The effects of the intended behavior of students in the use of M-learning.” Computers in Human Behavior. Vol. 51: 207–215.
Roblyer, M. D. (2006). Integrating educational technology into teaching. 4th ed. Upper Saddle River, NJ : Pearson Education Inc.
Sang G., Valcke M., Braak J. V., and Tondeur, J. (2010). “Student teachers’ thinking processes and ICT integration: Predictors of prospective teaching behaviors with educational technology.” Computers & Education. Vol. 54: 103–112.
Patricia Insúa Cerretani. (2016). Department of Basic Psychological Processes and Development. Computers in Human Behavior. Vol. 56 Issue C, March 2016 : 119-126.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-26